การให้เหตุผลข้างเดียว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การให้เหตุผลข้างเดียว[1] (อังกฤษ: one-sided argument) เป็นรูปแปรของเหตุผลวิบัติอรูปนัยอย่างหนึ่งที่เรียกว่า คำให้การพิเศษ ในรูปแปรแบบนี้ มีแต่การให้เหตุผลที่สนับสนุนข้อโต้แย้ง แต่ไม่มีการให้เหตุผลที่คัดค้าน

การให้เหตุผลข้างเดียวไม่ได้ทำข้อโต้แย้งให้เป็นโมฆะ

และอาจจะไม่ได้ทำให้ข้อโต้แย้งนั้นอ่อนกำลังลง เหตุผลวิบัติแบบนี้เป็นการกล่าวโน้มน้าวคนฟัง ซึ่งอาจจะเป็นตนเอง ว่าเราได้กล่าวถึงเหตุผลเพียงพอแล้วที่จะให้ตาชั่งเอนไปทางข้อสรุปของเรา เพียงพอที่จะทำการตัดสินใจ ถึงกระนั้น ถ้าเราได้ให้แต่เหตุผลข้างเดียว เราจริง ๆ แล้วยังไม่ได้กล่าวเหตุผลเพียงพอที่จะให้เกิดการตัดสินใจที่ดีได้ (เพราะว่า) เหตุผลของผู้ที่เสนอความคิดไม่ตรงกับเราอาจจะมีกำลังยิ่งกว่าเหตุผลของเรา (แต่ว่า) เราจะไม่รู้ตราบเท่าที่ยังไม่ตรวจดูเหตุผลเหล่านั้น ดังนั้น เหตุผลวิบัติโดยการให้เหตุผลข้างเดียวไม่ได้หมายความว่าเหตุที่เราอ้างไม่จริงหรือไม่ตรงประเด็น แต่หมายความว่า เหตุผลของเรายังไม่สมบูรณ์[2]

เพื่อที่จะกล่าวเรื่องให้สมเหตุสมผล คุณจะต้องเลือกว่า ต้องการจะใช้การให้เหตุผลข้างเดียวหรือสองข้าง

(คือ) เหตุผลข้างเดียวแสดงแต่เหตุผลที่สนับสนุนข้อโต้แย้งนั้น ในขณะที่เหตุผลสองข้างแสดงทั้งเหตุผลที่สนับสนุนทั้งเหตุผลที่คัดค้าน จะเลือกอะไรขึ้นอยู่กับว่า แบบไหนเป็นไปตามความต้องการของคุณและเหมาะสมกับผู้ฟัง (แต่ว่า) การให้เหตุผลสองด้านดีที่สุดสำหรับผู้ฟังที่คัดค้านบทสรุปของคุณ หรือว่ามีความรู้ในเรื่องนั้นดีกว่า หรือว่าเคยได้ยินคำคัดค้านข้อโต้แย้งนั้นแล้ว[2]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ argument ว่า "การให้เหตุผล, การอ้างเหตุผล, อาร์กิวเมนต์"
  2. 2.0 2.1 Peter Suber. "The One-Sidedness Fallacy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-05. สืบค้นเมื่อ 25 September 2012.