การแบ่งเขตเลือกตั้งแบบเอาเปรียบ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การปักปันเขตเลือกตั้งแบบต่าง ๆ

การแบ่งเขตเลือกตั้งแบบเอาเปรียบ หรือ เจอร์รีแมนเดอริง (อังกฤษ: Gerrymandering) เป็นการปฏิบัติซึ่งเจตนาก่อให้เกิดความได้เปรียบทางการเมืองต่อพรรคการเมืองพรรคใดพรรคหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง โดยการชักใยแนวแบ่งเขตเลือกตั้ง มียุทธวิธีหลักใช้ในการแบ่งเขตเลือกตั้งแบบเอาเปรียบสองยุทธวิธี ได้แก่ "การกะเทาะ" (cracking) หมายถึง การทำให้อำนาจออกเสียงลงคะแนนของผู้สนับสนุนพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้ามลดลงในเขตเลือกตั้งหลายเขต และ "การบรรจุ" (packing) หมายถึง การกระจุกอำนาจออกเสียงลงคะแนนของพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้ามในเขตเลือกตั้งหนึ่งเพื่อลดอำนาจออกเสียงลงคะแนนในเขตอื่น[1] ยุทธวิธีที่สาม ซึ่งแสดงในแผนภาพซ้ายบนสุดของภาพทางขวามือ คือ การทำให้เขตเลือกตั้งทุกเขตเป็นแบบเดียวกัน (โดยสภาพคือการกะเทาะแบบหนึ่งซึ่งพรรคการเมืองฝ่ายข้างมากใช้จำนวนที่เหนือกว่าเพื่อประกันว่าพรรคการเมืองฝ่ายข้างน้อยจะไม่ได้ฝ่ายข้างมากในเขตเลือกตั้งแม้แต่เขตเดียว)

นอกเหนือไปจากการใช้เพื่อให้ได้ผลการเลือกตั้งตามต้องการสำหรับพรรคการเมืองพรรคใดพรรคหนึ่งแล้ว ยังใช้เพื่อช่วยเหลือหรือขัดขวางกลุ่มประชากรหนึ่ง เช่น กลุ่มการเมือง ชาติพันธุ์ เชื้อชาติ ภาษา ศาสนาหรือชนชั้น เช่น แนวพรมแดนเขตเลือกตั้งกลางของสหรัฐซึ่งก่อให้เกิดผู้มีสิทธิเลือกตั้งฝ่ายข้างมากเป็นผู้แทนของชาวแอฟริกันอเมริกันหรือเชื้อชาติกลุ่มน้อยอื่น ที่เรียก "เขตฝ่ายข้างมาก-ฝ่ายข้างน้อย" นอกจากนี้ ยังใช้เพื่อพิทักษ์ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบันด้วย

อ้างอิง[แก้]

  1. "The ReDistricting Game". www.redistrictinggame.org (ภาษาอังกฤษ). USCAnnenbergCenter. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-04. สืบค้นเมื่อ 10 February 2017.