การสังหารหมู่ที่พ่ากั่น

พิกัด: 25°49′50.092″N 96°21′36.252″E / 25.83058111°N 96.36007000°E / 25.83058111; 96.36007000
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การสังหารหมู่ที่พ่ากั่น ตุลาคม พ.ศ. 2565
ส่วนหนึ่งของ สงครามกลางเมืองพม่า (พ.ศ. 2564–ปัจจุบัน)
อะนางปาตั้งอยู่ในประเทศพม่า
อะนางปา
อะนางปา
อะนางปา, รัฐกะชีน
ตำแหน่งบริเวณอะนางปา, อำเภอพ่ากั่น, รัฐกะชีน ประเทศพม่า
25°49′50″N 96°21′36″E / 25.830581°N 96.36007°E / 25.830581; 96.36007
เป้าหมายองค์การเอกราชกะชีน,
กองทัพเอกราชกะชีน
วันที่23 ตุลาคม พ.ศ. 2565
ประมาณ 20:40 น. (UTC + 06:30 (MMT))
ผู้ลงมือประเทศพม่า กองทัพอากาศพม่า
ผู้สูญเสียพลเรือนประมาณ 80 คน, เจ้าหน้าที่องค์การเอกราชกะชีนและทหารกะชีนไม่ทราบจำนวน[1][2][3]

25°49′50.092″N 96°21′36.252″E / 25.83058111°N 96.36007000°E / 25.83058111; 96.36007000 ในคืนวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2565 กองทัพอากาศพม่าได้เปิดฉากโจมตีทางอากาศหลายครั้งในเมืองพ่ากั่น รัฐกะชีน ภาคเหนือของประเทศพม่า เป้าหมายอยู่ในเขตปกครองอะนางปา พื้นที่กองพลที่ 9 ขององค์การเอกราชกะชีน (KIO) โดยเป้าโจมตีเป็นคอนเสิร์ตกลางแจ้งที่ส่งผลให้มีพลเรือนเสียชีวิตอย่างน้อย 80 คน รวมทั้งเจ้าหน้าที่องค์การเอกราชกะชีน และนักดนตรีในงาน[4]

เหตุการณ์[แก้]

ตามคำให้การของพยาน เครื่องบินขับไล่ 2–3 ลำบินอยู่เหนือคอนเสิร์ตกลางแจ้งในเขตการปกครองอะนางปา เมืองพ่ากั่น เมื่อเวลาประมาณ 20.00 น. ของวันที่ 23 ตุลาคม และได้โจมตีด้วยระเบิดสี่ครั้งในสถานที่ดังกล่าว มีรายงานว่าเครื่องบินเจ็ตเหล่านั้นบินจากท่าอากาศยานนานาชาติมัณฑะเลย์ ส่วนใหญ่ประกอบด้วยเครื่องบินฝึก/โจมตี ยาโกเลฟ ยัค-130 ซึ่งประจำการในฝูงบินจู่โจมที่ 62[5] การโจมตีครั้งนี้ได้ประโยชน์จากไฟสปอร์ตไลต์ของคอนเสิร์ตที่กำลังทำการแสดงในขณะนั้นใกล้กับพื้นที่เป้าหมายซึ่งจัดงานโดยองค์การเอกราชกะชีน[3][4] คอนเสิร์ตมีขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 62 ปีการก่อตั้งองค์การเอกราชกะชีน โดยยอดผู้เสียชีวิตเบื้องต้นมีกว่า 80 ราย ส่วนใหญ่เป็นพลเรือนที่มาร่วมงาน รวมทั้งนักร้องและบุคคลชาวกะชีนที่มีชื่อเสียง[3] มีเจ้าหน้าที่และทหารระดับสูงขององค์การเอกราชกะชีนได้รับบาดเจ็บจำนวนหนึ่งเช่นกัน ซึ่งผู้ได้รับบาดเจ็บรวมมีมากกว่า 100 ราย[6] รัฐบาลทหารปฏิเสธการโจมตี โดยระบุว่าพวกเขาได้ทิ้งระเบิดฐานทัพกะชีนและปฏิบัติตามกฎการสู้รบตามอนุสัญญาเจนีวาสี่ฉบับ แถลงการณ์ของพวกเขายังระบุด้วยว่ารายงานการเสียชีวิตของพลเรือนและนักแสดงนั้นมาจากข่าวปลอม เป็นความเท็จ และการข่มขู่[4]

ในบรรดาผู้เสียชีวิตหลายสิบรายในการโจมตีรวมถึงนักแสดง ลาตอซอเดง (Lahtaw Zau Ding), นักร้อง ออระลี (Aurali), ยอลวี (Galau Yaw Lwi), นักเปียโน โกกีง (Ko King) ซึ่งได้รับการยืนยันการเสียชีวิต กลุ่มข่าวกะชีน (KNG) กล่าวว่าผู้จัดงานได้เชิญนักร้องและนักแสดง 9 คนมาสร้างความบันเทิงให้กับผู้ชมเพื่อเฉลิมฉลองวันครบรอบขององค์การเอกราชกะชีน การเสียชีวิตมากกว่า 80 คนของผู้ร่วมในงานคอนเสิร์ตทำให้เป็นเหตุโจมตีพลเรือนที่ร้ายแรงที่สุดนับตั้งแต่มีการเริ่มสงครามกลางเมืองครั้งใหม่[1] มีรายงานว่าระเบิดลูกหนึ่งตกลงมาใกล้เวที ฆ่านักแสดงสามคนขณะที่พวกเขากำลังแสดง[7][8][9]

หลังจากการสังหารหมู่ กองกำลังที่ด่านรักษาความปลอดภัยของหมู่บ้านกีนซีได้หยุดรถที่นำผู้บาดเจ็บไปยังเมืองพ่ากั่นและมยิจีนา[10]

ปฏิกิริยา[แก้]

การตอบสนองของนานาชาติ[แก้]

องค์การสหประชาชาติได้ออกแถลงการณ์แสดงความห่วงใยและเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อรายงานการใช้กำลังที่รุนแรงและไม่เหมาะสมต่อพลเรือนที่ไม่มีอาวุธ[11]

ปรัก สุคน (ប្រាក់ សុខុន) ประธานที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม โดยแสดงความกังวลอย่างยิ่งหลังการโจมตีทางอากาศ รวมทั้งเหตุการณ์การวางระเบิดเรือนจำอินเส่งในย่างกุ้งเมื่อเร็ว ๆ นี้ เขาตั้งข้อสังเกตด้วยความวิตกและเรียกร้องให้มีการยับยั้งชั่งใจและยุติความรุนแรง[12]

มัตสึโนะ ฮิโรกาซุ (松野 博一) หัวหน้าเลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นประณามการโจมตีในแถลงการณ์ที่เรียกร้องให้ยุติความรุนแรงในพม่า ให้มีการปล่อยตัวผู้ต้องขังรวมทั้งอองซานซูจี และการฟื้นฟูรัฐบาลประชาธิปไตย[13]

โซอี แดเนียล (Zoe Daniel) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของออสเตรเลียเรียกร้องให้คว่ำบาตรพม่าทันทีหลังจากเหตุสังหารหมู่[14]

การตอบสนองภายในประเทศ[แก้]

กองกำลังติดอาวุธของกองทัพเอกราชกะชีน (KIA) ลดธงครึ่งเสาเพื่อรำลึกถึงเหยื่อของการโจมตีทางอากาศของพม่า[15] พลเอกกูนมอ (Sumlut Gun Maw) ผู้นำของกองทัพเอกราชกะชีน แถลงสรุปข้อความในจดหมายอย่างเป็นทางการที่ส่งไปยังนายพลอาวุโสมี่นอองไลง์ว่า "น้ำตาและเสียงร่ำไห้ของผู้ที่สูญเสียในการโจมตีทางอากาศครั้งนี้ทั้งหมดเป็นรายจ่ายที่ประเมินค่าไม่ได้"[16]

รัฐบาลทหารออกแถลงการณ์ปฏิเสธการสังหารพลเรือนในการโจมตีทางอากาศ โดยอ้างว่าการโจมตีเป็นปฏิบัติการต่อต้านการก่อความไม่สงบตามกฎการสู้รบทั้งหมดของอนุสัญญาเจนีวา และการรายงานเกี่ยวกับการเสียชีวิตของพลเรือนเป็นข่าวปลอม[17] หลังการโจมตีทางอากาศ กองทัพพม่าได้จัดตั้งจุดตรวจรักษาความปลอดภัยเพื่อป้องกันไม่ให้เจ้าหน้าที่ช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและเจ้าหน้าที่ปฐมพยาบาลเข้าหรือออกจากหมู่บ้านกีนซี ใกล้กับจุดเกิดเหตุ[18]

พันธมิตรสามพี่น้อง หรือที่รู้จักกันในนามพันธมิตรเหนือ ได้ออกจดหมายแสดงความเสียใจต่อองค์กร/กองทัพเอกราชกะชีน จดหมายดังกล่าวประณามการโจมตีทางอากาศอย่างไร้มนุษยธรรมของรัฐบาลเผด็จการทหารที่มุ่งเป้าไปที่พลเรือน และเรียกร้องให้ประชาคมระหว่างประเทศดำเนินการอย่างเร่งด่วนต่อระบอบเผด็จการทหารเพื่อป้องกันการนองเลือดต่อไป[19]

กองกำลังติดอาวุธชาติพันธุ์ (Ethnic Armed Organizations, EAO) อื่น ๆ รวมถึงสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง และพรรคก้าวหน้าแห่งชาติกะเหรี่ยง ประณามการโจมตีทางอากาศ เขตปกครองตนเองว้าออกแถลงการณ์แสดงความผิดหวังต่อการโจมตีและแสดงความเสียใจต่อเหยื่อการโจมตีทางอากาศ

ณ วันที่ 27 ตุลาคม กองกำลังติดอาวุธชาติพันธุ์ที่ได้พูดคุยกับรัฐบาลเผด็จการพม่าซึ่งรวมถึงสภาฟื้นฟูรัฐฉาน พรรคปลดปล่อยอาระกัน และกองกำลังกะเหรี่ยงประชาธิปไตยผู้มีใจเมตตา (Democratic Karen Benevolent Army) ยังคงไม่มีแถลงการณ์ใด ๆ[20]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Ethnic group says Myanmar air attack kills 60 at celebration". abcnews.go.com.
  2. "Air strike during Myanmar concert kills at least 30 - media, opposition". www.reuters.com.
  3. 3.0 3.1 3.2 Mike (24 ตุลาคม 2022). "Myanmar Junta's Deadly Airstrike on Kachin Concert a War Crime: KIA". The Irrawaddy (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2022.
  4. 4.0 4.1 4.2 Paddock, Richard (25 ตุลาคม 2022). "Airstrike Kills at Least 80 During Outdoor Concert in Myanmar". New York Times.
  5. KIA တေးဂီတပွဲကို ဗုံးကြဲခဲ့သူများမှာ ယက္ခနာမည်ဝှက်ရှိသည့် တိုက်လေယာဉ်မှူးများဖြစ်. Myanmar NOW (ภาษาพม่า). สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2022.
  6. "Singers and soldiers among over 60 killed at celebration in Myanmar military air attack, ethnic group says". www.cbsnews.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2022.
  7. "Myanmar airstrike kills dozens at concert, says Kachin separatist group". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 24 ตุลาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2022.
  8. "Ethnic group says Myanmar air attack kills 60 at celebration". Washington Post (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0190-8286. สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2022.
  9. "Ethnic group says Myanmar air attack kills 60 at celebration". ABC News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2022.
  10. ဗုံးကျဲတိုက်ခိုက်ခံရမှုကြောင့် ဒဏ်ရာရပြည်သူ ၁၀၀ ကျော်ကို ဆေးကုခွင့်မရအောင် စစ်တပ်က တားမြစ်ထား. Kachin News Group (KNG) (ภาษาพม่า). 2022-10-24. สืบค้นเมื่อ 2022-10-24.
  11. Lotha, Lesly (24 ตุลาคม 2022). "Statement by the United Nations in Myanmar on reported airstrikes in Hpakant, Kachin State". United Nations.
  12. "ASEAN Chairman's Statement on the Recent Escalation of Violence in Myanmar". Kingdom of Cambodia Ministry of Foreign Affairs and International Cooperation. 25 ตุลาคม 2022.
  13. "Japan's govt. spokesperson condemns Myanmar military's attack in Kachin". NHK. 25 ตุลาคม 2022.
  14. "Australian MP calls for 'immediate' sanctions against Myanmar following junta massacre of Kachin State civilians". Myanmar NOW (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2022.
  15. "KIO အုပ်ချုပ်နယ်မြေများ၊ ဗဟိုဌာနချုပ် အစိုးရရုံးများနှင့် ပညာရေးကျောင်းတိုင်းတွင် အလံကို တိုင်တစ်ဝက်ချကာလွင့်ထူရန် KIO ညွန်ကြား". Kachin News Group. 25 ตุลาคม 2022.
  16. "KIA တေးဂီတပွဲကို ဗုံးကြဲခဲ့သူများမှာ ယက္ခနာမည်ဝှက်ရှိသည့် တိုက်လေယာဉ်မှူးများဖြစ်". Myanmar NOW (ภาษาพม่า). สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2022.
  17. Yeung, Jessie; Sidhu, Sandi (26 ตุลาคม 2022). "Myanmar military airstrikes kill more than 60, Kachin rebels say". CNN.
  18. "Myanmar Junta Forces Prevent Air Strike Victims From Going to Hospitals". The Irrawaddy. 25 ตุลาคม 2022.
  19. "Joy at Myanmar concert turns into horror as military air strike kills 60". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 24 ตุลาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2022.
  20. "Ethnic Armies Close to Myanmar Junta Fail to Condemn Deadly Kachin Airstrikes". The Irrawaddy. 27 ตุลาคม 2022.