การสังหารหมู่ที่พะโค

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การสังหารหมู่ในพะโค
เป็นส่วนหนึ่งของการรัฐประหารในพม่า 2021 และการประท้วงต่อต้านการรัฐประหาร
พระราชวังกัมโพชธานี ซึ่งตั้งอยู่ไม่ไกลจากจุดเกิดเหตุ
จุดเกิดเหตุตั้งอยู่ในประเทศพม่า
จุดเกิดเหตุ
จุดเกิดเหตุ
จุดเกิดเหตุ (ประเทศพม่า)
สถานที่พะโค ประเทศพม่า
วันที่9 เมษายน 2021
ตาย82+ (พลเมือง)
ผู้ก่อเหตุ

การสังหารหมู่ที่พะโคเป็นเหตุฆาตกรรมหมู่พลเมืองในนครพะโค ประเทศพม่า ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2021 โดยกองทัพพม่าและตำรวจพม่าก่อการฆาตกรรมพลเมืองอย่างน้อย 82 ชีวิต[1] ในเวลานั้น เหตุการณ์นี้เป็นการฆาตกรรมหมู่ที่มียอดเสียชีวิตสูงสุดในประเทศนับตั้งแต่เกิดการรัฐประหาร และเกิดขึ้นไม่นานหลังจากการสังหารหมู่ที่ไหลง์ทะยาเมื่อเดือนก่อน[2] เหตุการณ์นี้เหตุการณ์เดียวคิดเป็น 40% ของยอดผู้เสียชีวิตที่เป็นผลเมืองในพม่าในเดือนเมษายน 2021[2]

การโจมตีเริ่มต้นที่เวลาตีสี่โดยมีทหารรวม 250 นายเข้าบุกรุกบ้านเรือนในเขตชินสอบู (Shinsawbu), นันตอว์ยา (Nantawya), มอว์กัน (Hmawkan) และ ปนนาซู (Ponnasu) ระหว่างถนนมากาดิต (Magadit) กับถนนซันตอว์วีน (Sandawtwin) ไม่ไกลจากพระราชวังกัมโพชธานี[3] และภายในเวลาตีห้า 5 กองกำลังของรัฐเริ่มทำการกราดยิงผู้ประท้วงโดยไม่เลือกหน้า โดยใช้อาวุธสงคราม[4] พลเมืองบางส่วนสู้กลับด้วยการปาสิ่งของและประทัดใส่ เจ้าหน้าที่ทหารสามารถเข้าควบคุมสถานการณ์ในพะโคได้ในเวลาสิบโมงเช้า การโจมตีโดยทหารยังพุ่งเป้าไปที่กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ฉุกเฉิน และมีเหยื่อหลายคนเสียชีวิตจากเสียเลือดมาก[5][6]

อ้างอิง[แก้]

  1. Hancocks, Paula; Salai TZ (2021-04-16). "Witnesses to Bago killings describe relentless military onslaught against Myanmar civilian population". CNN (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-27. สืบค้นเมื่อ 2023-02-26.
  2. 2.0 2.1 "Nowhere is Safe": The Myanmar Junta's Crimes Against Humanity" (PDF). Fortify Rights. 2022-03-24. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-26. สืบค้นเมื่อ 2023-02-27.
  3. "Myanmar Junta's Worst Massacres of 2021". The Irrawaddy (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-12-30. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-26. สืบค้นเมื่อ 2023-02-26.
  4. "Anatomy of a Massacre: How Myanmar's Military Killed Dozens of Pro-Democracy Protesters". Vice (ภาษาอังกฤษ). 2021-07-21. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-27. สืบค้นเมื่อ 2023-02-27.
  5. Nay Lin Tun (2021-04-30). "Frontline doctors risk persecution, careers – and their lives". Frontier Myanmar (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-27. สืบค้นเมื่อ 2023-02-27.
  6. "'The military is hunting us': volunteer medics in the crosshairs". Frontier Myanmar (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-04-22. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-27. สืบค้นเมื่อ 2023-02-27.