การล้างชาติพันธุ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชาวบอสนีแอกที่เพิ่งถูกกองกำลังชาวโครแอตไล่ออกจากหมู่บ้านของพวกเขาในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาระหว่างสงครามบอสเนียเมื่อ พ.ศ. 2536 ในช่วงนั้น เมื่อชาวบอสนีแอกทั้งหมดในพื้นที่ท้องถิ่นถูกล้อม ชาวเซิร์บและชาวโครแอตจะไล่พวกเขาออกจากหมู่บ้านและเผาบ้านเรือนและทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อให้แน่ใจว่าชาวบอสนีแอกจะไม่สามารถกลับมาอยู่ในพื้นที่ที่มีกลุ่มประชากรผสมได้อีก

การล้างชาติพันธุ์ (อังกฤษ: ethnic cleansing) เป็นการบังคับกำจัดกลุ่มทางชาติพันธุ์ เชื้อชาติ และศาสนาอย่างเป็นระบบออกจากพื้นที่หนึ่ง ๆ โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้พื้นที่นั้น ๆ เป็นเนื้อเดียวกันทางชาติพันธุ์ นอกจากการกำจัด การทำลายล้าง การเนรเทศ หรือการย้ายถิ่นประชากรโดยตรงแล้ว การล้างชาติพันธุ์ยังรวมถึงวิธีการทางอ้อมที่มุ่งเป้าไปที่การบังคับย้ายถิ่นด้วยการบีบบังคับกลุ่มเหยื่อให้หนีไปและการป้องกันไม่ให้กลับมาอีก เช่น ฆาตกรรม การข่มขืน การทำลายทรัพย์สิน[1][2] การล้างชาติพันธุ์ถือเป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติและอาจอยู่ภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ถึงแม้ว่าศัพท์ การล้างชาติพันธุ์ จะไม่มีคำจำกัดความทางกฎหมายภายใต้กฎหมายอาญาระหว่างประเทศก็ตาม[1][3][4]

ตลอดช่วงประวัติศาสตร์ได้เกิดการล้างชาติพันธุ์ขึ้นหลายกรณี แต่ผู้ใช้ศัพท์ การล้างชาติพันธุ์ เป็นกลุ่มแรก ๆ คือผู้ก่อการในสงครามยูโกสลาเวียในคริสต์ทศวรรษ 1990 เพื่อกลบเกลื่อนความร้ายแรงของสถานการณ์ นับแต่นั้นมา ศัพท์นี้ก็แพร่หลายในวงกว้างเนื่องจากวงการหนังสือพิมพ์และสื่อได้นำศัพท์นี้มาใช้ในความหมายที่เป็นทั่วไปมากขึ้น[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Ethnic cleansing". United Nations. United Nations Office on Genocide Prevention and the Responsibility to Protect. สืบค้นเมื่อ 20 December 2020.
  2. Schabas, William A. (2003). "'Ethnic Cleansing' and Genocide: Similarities and Distinctions". European Yearbook of Minority Issues Online. 3 (1): 109–128. doi:10.1163/221161104X00075. The Commission considered techniques of ethnic cleansing to include murder, torture, arbitrary arrest and detention, extrajudicial executions, sexual assault, confinement of civilian populations in ghetto areas, forcible removal, displacement and deportation of civilian populations, deliberate military attacks or threats of attacks on civilians and civilian areas, and wanton destruction of property.
  3. Jones, Adam (2012). "'Ethnic cleansing' and genocide". Crimes Against Humanity: A Beginner's Guide (ภาษาอังกฤษ). Simon and Schuster. ISBN 978-1-78074-146-8.
  4. Schabas, William A. (2003). "'Ethnic Cleansing' and Genocide: Similarities and Distinctions". European Yearbook of Minority Issues Online. 3 (1): 109–128. doi:10.1163/221161104X00075. 'Ethnic cleansing' is probably better described as a popular or journalistic expression, with no recognized legal meaning in a technical sense... 'ethnic cleansing' is equivalent to deportation,' a grave breach of the Geneva Conventions as well as a crime against humanity, and therefore a crime within the jurisdiction of the Tribunal.
  5. Thum 2010, p. 75: way. Despite its euphemistic character and its origin in the language of the perpetrators, 'ethnic cleansing' is now the widely accepted scholarly term used to describe the systematic and violent removal of undesired ethnic groups from a given territory.