การรักษามะเร็ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

มะเร็งสามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด เคมีบำบัด รังสีบำบัด การบำบัดฮอร์โมน การรักษาแบบมุ่งเป้า (รวมทั้งการรักษาภูมิคุ้มกัน) และการทำให้ตายสังเคราะห์ (synthetic lethality) ทางเลือกการรักษาขึ้นอยู่กับตำแหน่งและระดับของเนื้องอกและระยะของโรค เช่นเดียวกับสภาวะโดยรวมของผู้ป่วย (สภาพของผู้ป่วย) มีการรักษามะเร็งขั้นทดลองอยู่ระหว่างการพัฒนาจำนวนหนึ่ง ภายใต้ประมาณการปัจจุบัน มนุษย์สองในห้าคนจะมีมะเร็งในระยะหนึ่งของช่วงชีวิต[1]

การขจัดมะเร็งอย่างสมบูรณ์โดยไม่ก่อความเสียหายต่อร่างกายส่วนที่เหลือ (คือ การบรรลุการรักษาโดยแทบไม่มีผลเสีย) เป็นเป้าหมายการรักษาในอุดมคติและมักเป็นเป้าหมายในทางปฏิบัติ บางครั้งสามารถบรรลุได้โดยการผ่าตัด แต่ความโน้มเอียงของมะเร็งในการรุกรานเนื้อเยื่อใกล้เคียงหรือแพร่กระจายไปที่ไกลโดยการแพร่กระจายเห็นได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์ (microscopic metastasis) มักจำกัดประสิทธิผลของการผ่าตัด และเคมีบำบัดและรังสีบำบัดสามารถมีผลเสียต่อเซลล์ปกติได้[2] ฉะนั้น การรักษาที่มีผลเสียที่ไม่ค่อยสำคัญจึงอาจยอมรับเป็นเป้าหมายในทางปฏิบัติได้ในบางกรณี และนอกจากเจตนารักษาแล้ว เป้าหมายในทางปฏิบัติยังรวมถึง (1) การระงับมะเร็งให้ไม่แสดงอาการ (subclinical state) และธำรงภาวะนั้นไว้ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีหลายปี (คือ การรักษามะเร็งเสมือนโรคเรื้อรัง) และ (2) การบริบาลบรรเทาโดยไม่มีเจตนารักษา (สำหรับมะเร็งแพร่กระจายระยะก้าวหน้า)

เนื่องจาก "มะเร็ง" หมายถึงกลุ่มโรค[3][4] จึงไม่น่ามี "การรักษามะเร็ง" เดี่ยว ๆ เช่นเดียวกับการรักษาเดี่ยว ๆ สำหรับโรคติดเชื้อทุกชนิด[5] เคยเชื่อว่าสารยับยั้งการสร้างหลอดเลือด (angiogenesis inhibitor) มีศักยภาพเป็นการักษา "กระสุนเงิน" ที่ใช้ได้กับมะเร็งหลายชนิด แต่ไม่ได้ผลในทางปฏิบัติ[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Cancer drugs are getting better and dearer". The Economist. สืบค้นเมื่อ 2017-05-19.
  2. Enger, Eldon; และคณะ. Concepts in Biology' 2007 Ed.2007 Edition. McGraw-Hill. p. 173. ISBN 978-0-07-126042-8. สืบค้นเมื่อ 23 November 2012.
  3. "What Is Cancer?". National Cancer Institute. สืบค้นเมื่อ 2009-08-17.
  4. "Cancer Fact Sheet". Agency for Toxic Substances & Disease Registry. 2002-08-30. สืบค้นเมื่อ 2009-08-17.
  5. Wanjek, Christopher (2006-09-16). "Exciting New Cancer Treatments Emerge Amid Persistent Myths". สืบค้นเมื่อ 2009-08-17.
  6. Hayden, Erika C. (2009-04-08). "Cutting off cancer's supply lines". Nature. 458 (7239): 686–687. doi:10.1038/458686b. PMID 19360048.