การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2566

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2566
ทางเข้าการประชุม COP28 พร้อมด้วยธงของชาติต่าง ๆ
ชื่อพื้นเมือง مؤتمر الأمم المتحدة للتغير المناخي 2023
วันที่30 พฤศจิกายน – 12 ธันวาคม ค.ศ. 2023 (2023-11-30 – 2023-12-12)
ที่ตั้งเอ็กซ์โปซิตี ดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
จัดโดยสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
ผู้เข้าร่วมรัฐสมาชิก UNFCCC
ประธานซุลตัน อัลญาบัร
ก่อนหน้า← 2022
ถัดไป2024
เว็บไซต์https://www.cop28.com

การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2566 (อังกฤษ: 2023 United Nations Climate Change Conference) หรือรู้จักในชื่อย่อ COP28[1][2] เป็นการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 28 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน ถึง 12 ธันวาคม 2566 ที่เอ็กซ์โปซิตี ดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์[3][4] การประชุม COP มีการจัดเป็นประจำทุกปีเรื่อยมา (ยกเว้นในปี 2020 เนื่องจากการระบาดของโควิด-19)[5] นับตั้งแต่การลงนามข้อตกลงด้านสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติในปี 1992 โดยมีเป้าหมายเพื่อให้รัฐบาลมีข้อตกลงร่วมสำหรับนโยบายจำกัดการเพิ่มสูงขึ้นของอุณหภูมิสภาพอากาศ และ ปรับตัวกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ[6]

การประชุมในครั้งนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ไปทั่วเนื่องมาจากประธานการประชุม ซุลตัน อัลญาบัร ตลอดจนสถานที่จัดซึ่งคือสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ซึ่งเป็นที่รู้จักว่าขาดความโปร่งใสในรัฐบาลและมีบทบาทเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของเชื้อเพลิงจากซากดึกดำบรรพ์[7] ซุลตัน อัลญาบัร เป็นซีอีโอของบริษัทน้ำมันแห่งชาติอาบูดาบี (ADNOC) ซึ่งทำไปสู่ข้อกังวลว่าการประชุมนี้อาจมีข้อขัดแย้งทางผลประโยชน์มาเกี่ยวข้อง[8] โดยสมาชิกมากกว่า 100 คนของรัฐสภาสหรัฐ และ สภายุโรป เรียกร้องให้สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ถอดถอนอัลญาบัรออกจากตำแหน่ง[9] คำกล่าวอ้างเชิงย้อมเขียวเกี่ยวกับอัลญาบัรที่ปรากฏบนหน้าบทความของเขาบนวิกิพีเดียผ่านการแก้ไขโดยได้รับผลตอบแทน, การที่ไม่สามารถวิจารณ์บริษัทของเอมิเรตในประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, การลักลอบเข้าถึงอีเมลการประชุมโดยบริษัท ADNOC และการส่งคำเชิญให้แก่ประธานาธิบดีซีเรีย บาชาร์ อัลอัสซาด ล้วนทำให้เกิดข้อวิตกกังวลต่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวในการประชุมครั้งนี้[10][11][12][13] มีการเปิดโปงขบวนการบัญชีหุ่นเชิดซึ่งจัดขึ้นโดยมีเป้าหมายเพื่อปกป้องอัลญาบัรและประเทศในเดือนมิถุนายน[14] และในวันที่ 21 พฤศจิกายน อัลญาบัรเองได้ระบุว่า “ไม่มีวิทยาศาสตร์” หนุนหลังการลดเลิกการใช้เชื้อเพลิงจากซากดึกดำบรรพ์สำหรับเป้าหมายอุณหภูมิ 1.5 °C[15] หกวันถัดมาได้มีเอกสารหลุดที่ปรากฏแผนการของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ที่จะใช้การประชุมนี้เพื่อหาคู่ค้าเชื้อเพลิงดึกดำบรรพ์กับชาติอื่น ๆ ซึ่งทำให้เกิดความไม่พึงพอใจไปในระดับนานาชาติ[16]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Dubai ruler says UAE to host COP 28 climate conference in 2023". CNN. 12 November 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-02. สืบค้นเมื่อ 2021-11-15.
  2. "About COP 28". United Nations Climate Change. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-12-11. สืบค้นเมื่อ 12 December 2023.
  3. "COP28 – Date and Venue". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-31. สืบค้นเมื่อ 2023-12-11.
  4. "2023 UN Climate Change Conference (UNFCCC COP 28)". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-02. สืบค้นเมื่อ 2023-02-14.
  5. "Event: Glasgow Climate Change Conference (UNFCCC COP 26) | SDG Knowledge Hub | IISD" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-17. สืบค้นเมื่อ 2023-02-22.
  6. Stallard, Esme (25 October 2022). "COP27: What is the Egypt climate conference and why is it important?". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-14. สืบค้นเมื่อ 27 October 2022.
  7. Carrington, Damian (2023-11-17). "Cop28 host UAE breaking its own ban on routine gas flaring, data shows". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-12-01. สืบค้นเมื่อ 2023-12-04.
  8. Levingston, Ivan; England, Andrew; Sheppard, David (2023-08-09). "Abu Dhabi oil giant builds internal 'investment bank' to chase $50bn in global deals". Financial Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-11-10. สืบค้นเมื่อ 2023-11-27.
  9. Bikales, James (2023-05-28). "US and EU lawmakers call for UAE to remove Jaber from UN climate role". The Financial Times (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-02. สืบค้นเมื่อ 2023-05-23.
  10. Stockton, Ben (2023-05-30). "Cop28 president's team accused of Wikipedia 'greenwashing'". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-05-30. สืบค้นเมื่อ 2023-05-31.
  11. Mooney, Attracta; Williams, Aime (2 April 2023). "UAE climate event organisers warn speakers not to 'criticise corporations'". Financial Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-27. สืบค้นเมื่อ 2 April 2023.
  12. Carrington, Damian (2023-06-07). "'Absolute scandal': UAE state oil firm able to read Cop28 climate summit emails". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-06-07. สืบค้นเมื่อ 2023-12-04.
  13. Shea, Joey (2023-05-18). "UAE Invites Syrian President Bashar al-Assad to COP28". HRW (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-02. สืบค้นเมื่อ 2023-05-29.
  14. Carrington, Damian (2023-06-08). "Army of fake social media accounts defend UAE presidency of climate summit". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-06-08. สืบค้นเมื่อ 2023-06-13.
  15. Meredith, Sam (2023-12-04). "COP28 president sparks outcry after he claims there's 'no science' behind fossil fuel phase out". CNBC (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-12-04.
  16. "UAE accused of using COP28 talks to strike fossil fuel deals". euronews (ภาษาอังกฤษ). 2023-11-28. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-12-02. สืบค้นเมื่อ 2023-12-04.