การประกันคุณภาพ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การประกันคุณภาพ (อังกฤษ: quality assurance) เป็นวิธีบริหารจัดการเพื่อเป็นหลักประกันหรือสร้างความมั่นใจว่ากระบวนการหรือการดำเนินงานจะทำให้ได้ผลลัพธ์ที่มีคุณภาพตรงตามที่กำหนด [1]

การประกันคุณภาพ เป็นการบริหารจัดการเพื่อให้เกิดประสิทธิผล

แนวทางที่จะให้ได้ผลตามที่ปรารถนาทุกครั้ง หรือได้ผลเท่ากันทุกครั้งนั้น ขึ้นอยู่กับเมื่อครั้งที่ดำเนินการจนได้ผลดีนั้นทำอย่างไร หากดำเนินการเหมือนอย่างที่เคยทุกครั้ง โดยไม่มีปัจจัยแวดล้อมใด ๆ มาแทรกซ้อน ผลที่เกิดตามมาก็น่าจะเป็นเช่นนั้นทุกครั้ง การเน้นให้ดำเนินการเหมือนครั้งที่ได้ผลดีนี้ เป็นการประกันคุณภาพวิธีหนึ่ง

การบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดความมั่นใจได้ว่ากระบวนการหรือการดำเนินงานจะทำให้ได้ผลลัพธ์ที่มีคุณภาพตรงตามที่กำหนด จะประกอบด้วย การวิเคราะห์ปัจจัยและลักษณะของปัจจัยที่ดี ที่จะส่งผลให้เกิดคุณภาพได้ การวางแผนกิจกรรมที่จะทำให้เกิดปัจจัยที่มีลักษณะที่ส่งผลที่ดีต่อคุณภาพ การดำเนินการตามแผนกิจกรรม การตรวจสอบคุณภาพ เป็นต้น


ความหมาย[แก้]

การประกันคุณภาพ หรือ quality assurance เป็นคำศัพท์ทางวิศวกรรมอุตสาหการ [2]ที่นำมาใช้กันอย่างกว้างขวาง

คำว่า การประกันคุณภาพ เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง [3]

การประกันคุณภาพ หมายถึงกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งได้รับการวางแผนและจัดระบบแล้วในกระบวนการบริหารคุณภาพ ที่ช่วยสร้างความมั่นใจว่าจะได้คุณภาพตามที่กำหนดไว้ (Harrington and Mathers, 1991:22)

การประกันคุณภาพ หมายถึงกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความมั่นใจว่า กิจกรรมในกระบวนผลิตทั้งหมด ดำเนินไปอย่างมีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน และมีประสิทธิภาพ (Juran and Gryna, 1993 : 565)

อ้างอิง[แก้]

  1. [ชูชาติ วิรเศรณี, ISO 9000 สำหรับนักบริหารมืออาชีพ, สำนักพิมพ์ซีเอ็ด]
  2. [1]
  3. https://en.wikipedia.org/wiki/Quality_assurance
  • ลาวัลย์ รักสัตย์. 2554. การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา. กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา , สทศ. สพฐ. กระทรวงศึกษาธิการ