การช่วยชีวิตขั้นสูง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การช่วยชีวิตขั้นสูง (อังกฤษ: Advanced Life Support, ย่อ: ALS) เป็นกลุ่มโพรโทคอลและทักษะช่วยชีวิตที่ต่อยอดจากการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานเพื่อส่งเสริมระบบไหลเวียนมากขึ้นและให้ทางเดินอากาศหายใจที่เปิดโล่งและการหายใจที่เพียงพอ

องค์ประกอบ[แก้]

องค์ประกอบของ ALS ได้แก่

  • การใส่ท่อหลอดลม (Tracheal intubation)
  • การนำสลบแบบลำดับเร็ว (Rapid sequence induction)
  • การเฝ้าสังเกตหัวใจ
  • การกระตุกหัวใจ
  • การคุมจังหวะหัวใจผ่านผิวหนัง (Transcutaneous pacing)
  • การใส่หลอดคาในหลอดเลือดดำ (Intravenous cannulation)
  • การเปิดในกระดูกและการให้สารน้ำในกระดูก (Intraosseous (IO) access and intraosseous infusion)
  • การเปิดไครคอยด์ไทรอยด์ด้วยการผ่าตัด (Surgical cricothyrotomy)
  • การเปิดไครคอยด์ไทรอยด์ด้วยเข็ม (Needle cricothyrotomy)
  • การระบายภาวะโพรงเยื่อหุ้มปอดมีอากาศชนิดตึงด้วยเข็ม
  • การให้ยาขั้นสูงผ่านช่องทางฉีดและทางเดินอาหาร (IV, IO, PO, PR, ET, SL, เฉพาะที่, และผ่านผิวหนัง)
  • การช่วยชีวิตหัวใจขั้นสูง (Advanced Cardiac Life Support (ACLS))
  • การช่วยชีวิตหัวใจขั้นสูงในเด็ก หรือการศึกษาโรคเด็กสำหรับผู้ให้บริการก่อนถึงโรงพยาบาล
  • การช่วยชีวิตอุบัติเหตุก่อนถึงโรงพยาบาล (Pre-Hospital Trauma Life Support (PHTLS)) การช่วยชีวิตอุบัติเหตุขั้นพื้นฐาน (Basic Trauma Life Support (BTLS)) หรือการช่วยชีวิตอุบัติเหตุระหว่างประเทศ (International Trauma Life Support (ITLS))