การฆ่าตัวตายโดยการเผาถ่าน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การฆ่าตัวตายโดยการเผาถ่าน เป็นการฆ่าตัวตายโดยเผาถ่านในห้องปิด มีความคล้ายกับวิธีการฆ่าตัวตายด้วยการขาดอากาศหายใจจากแก๊สเฉื่อย

กลไกฤทธิ์[แก้]

เมื่อถ่านเผาไหม้ ความเข้มข้นของคาร์บอนมอนอกไซด์จะค่อย ๆ เพิ่มขึ้น ด้วยความเป็นพิษของมัน ความเข้มข้นของ CO เพียงหนึ่งส่วนต่อพันส่วนก็สามารถถึงแก่ชีวิตได้หากสูดดมเป็นเวลาสองชั่วโมง[1] การเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ของคาร์บอนทำให้เกิดคาร์บอนมอนออกไซด์ ซึ่งจับกับฮีโมโกลบินอย่างแน่น ทำให้ลดความสามารถของเลือดในการขนส่งออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายอย่างรวดเร็ว ผลลัพธ์ทำให้เสียชีวิตเนื่องจากภาวะเลือดมีออกซิเจนน้อยจากภาวะพิษคาร์บอนมอนออกไซด์

มีผู้อธิบายวิธีฆ่าตัวตายดังกล่าวไว้ว่า "ง่ายดายและไร้ความเจ็บปวด" เมื่อเทียบกับวิธีอื่น[2] ผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายโดยการเผาถ่านหลายคนใช้แอลกอฮอล์หรือยานอนหลับระหว่างพยายาม และผู้รอดชีวิตรายงานว่าพวกตนไม่รู้สึกอึดอัดสักนิด[2]

ดอมินิก ลี ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิชาจิตเวชศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยจีนฮ่องกง แย้งการอธิบายวิธีดังกล่าวว่าไร้ความเจ็บปวด[3] อาการตรงแบบของภาวะพิษคาร์บอนไดออกไซด์เฉียบพลัน ได้แก่ ปวดศีรษะและคลื่นไส้ โดยหัวใจเต้นเร็วและชักเป็นอาการอื่นที่อาจเกิดได้[4] ผู้รอดชีวิตจากวิธีนี้ปกติต้องอาศัยการอภิบาลเพื่อจัดการความจุออกซิเจนที่บกพร่องชั่วคราวของเลือด และอาจมีความเสียหายถาวรต่อสมองอันเนื่องจากสมองขาดเลือดได้

อ้างอิง[แก้]

  1. Staff. "Carbon Monoxide and Health Effects". The Engineering Toolbox. engineeringtoolbox.com. สืบค้นเมื่อ 16 April 2017.
  2. 2.0 2.1 Chung WS, Leung CM (June 2001). "Carbon monoxide poisoning as a new method of suicide in Hong Kong". Psychiatr Serv. 52 (6): 836–7. doi:10.1176/appi.ps.52.6.836. PMID 11376237. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2003-09-22. สืบค้นเมื่อ 2017-12-22.
  3. Staff (30 May 2002). "Life is precious". Shanghai Star. China Daily. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 16 April 2017.
  4. Choi IS (June 2001). "Carbon monoxide poisoning: systemic manifestations and complications" (PDF). J Korean Med Sci. 16 (3): 253–61. doi:10.3346/jkms.2001.16.3.253. PMID 11410684.