การขัดเกลาทางสังคม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การขัดเกลาทางสังคม (อังกฤษ: Socialization) เป็นคำที่เริ่มมีมาตั้งแต่พจนานุกรมสมัยกรีก โดยเพลโตเป็นผู้บัญญัติใช้ แต่คำนี้เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในกลุ่มนักสังคมวิทยาชาวอเมริกันในช่วงทศวรรษ 1920 มีความหมายถึงการเรียนรู้ทางสังคมของมนุษย์ที่ได้รับมาจากครอบครัว สภาพแวดล้อม ระบบโครงสร้างทางประเพณี สังคม บรรทัดฐานของกลุ่มคน หล่อหลอมให้มนุษย์เข้าใจภาษา มาตรฐาน จริยธรรม ความคิด ทัศนคติต่อสังคม[1]

ซิกมันด์ ฟรอยด์ อธิบายไว้ว่า ตัวตนของบุคคลมี 3 ส่วน คือส่วนที่เรียกว่า id เป็นตัวตนที่มีมาตั้งแต่เกิด และตัวตนอีก 2 ส่วนได้แก่ ego และ superego เกิดจากการขัดเกลาของสังคม โดยเฉพาะในช่วง 5 ปีแรกของชีวิต[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. เอกศาสตร์ สรรพช่าง,ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล My Darling Siam, นิตยสารจีเอ็ม ฉบับเดือนมกราคม 2551 หน้า 148-159
  2. "การขัดเกลาทางสังคม" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2008-02-20.