กาชาดเยอรมัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กาชาดเยอรมัน
Deutsches Rotes Kreuz
เครื่องหมายกาชาดเยอรมัน
ก่อตั้งค.ศ. 1864; 160 ปีที่แล้ว (1864)
ผู้ก่อตั้งดร.อาร็อน ซิลเวร์มัน
ประเภทความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม
สถานะตามกฎหมายยังคงอยู่
สํานักงานใหญ่เบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี
สมาชิก
4 ล้านคน
ภาษาทางการ
เยอรมัน

กาชาดเยอรมัน (เยอรมัน: Deutsches Rotes Kreuz, เสียงอ่านภาษาเยอรมัน: [ˈdɔʏtʃəs ˈʁoːtəs kʁɔʏts]) หรือ เดแอร์คา (DRK) เป็นสภากาชาดแห่งชาติในประเทศเยอรมนี

ด้วยสมาชิก 4 ล้านคน[1] กาชาดเยอรมันจึงเป็นสภากาชาดที่ใหญ่เป็นอันดับสามของโลก กาชาดเยอรมันให้บริการที่หลากหลายทั้งในและนอกประเทศเยอรมนี กาชาดเยอรมันให้บริการโรงพยาบาล 52 แห่ง, การดูแลผู้สูงอายุ (สถานพยาบาลกว่า 500 แห่ง และเครือข่ายการพยาบาลผู้ป่วยฉุกเฉินสำหรับผู้สูงอายุ ที่ครอบคลุมทั่วประเทศ), การดูแลเด็กและเยาวชน (เช่น โรงเรียนอนุบาล 1,300 แห่ง, บริการด้านสังคมสำหรับเด็กอย่างเต็มรูปแบบ) กาชาดเยอรมันยังให้บริการโลหิต 75 เปอร์เซ็นต์ในเยอรมนี และ 60 เปอร์เซ็นต์ของบริการการแพทย์ฉุกเฉินในประเทศเยอรมนี เช่นเดียวกับการฝึกอบรมการปฐมพยาบาล นอกจากนี้ สำนักงานใหญ่ของกาชาดเยอรมันให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (การจัดการภัยพิบัติและความช่วยเหลือด้านการพัฒนา) ในกว่า 50 ประเทศทั่วโลก[2]

สมาคมอาสาสมัครของกาชาดเยอรมัน[แก้]

สมาชิกกาชาดที่สมัครใจส่วนใหญ่ดำเนินงานอยู่เป็นส่วนหนึ่งของสมาคมอาสาสมัครทั้งห้าของกาชาดเยอรมัน

ประวัติ[แก้]

การก่อตัวและช่วงปีแรก[แก้]

นายพล คูร์ท ฟ็อน ฟูเอิล ประธานคณะกรรมการกลางของสภากาชาดแห่งชาติเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
นายพล ฟ็อน ฟูเอิล ประธานคณะกรรมการกลางของสภากาชาดแห่งชาติเยอรมัน
ตัวอย่างในท้องที่ก่อน ค.ศ. 1919

ก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1864 โดย ดร.อาร็อน ซิลเวอร์มัน แห่งโรงพยาบาลชารีเทที่เบอร์ลิน กาชาดเยอรมันเป็นองค์การให้ความช่วยเหลือพลเรือนโดยสมัครใจ ที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการจากอนุสัญญาเจนีวาใน ค.ศ. 1929

นายพล คูร์ท ฟ็อน ฟูเอิล ได้เป็นประธานคณะกรรมการกลางของสภากาชาดแห่งชาติเยอรมันในช่วงมหาสงคราม[3][4]

โปสเตอร์สงครามการรับสมัครกาชาดเยอรมัน

หนึ่งในเงื่อนไขของสนธิสัญญาแวร์ซายทำให้กาชาดเยอรมันไม่สามารถมีส่วนร่วมในเรื่องการทหาร เป็นผลให้ตลอดเวลาสาธารณรัฐไวมาร์ภายใต้การนำของโยอาคิม ฟ็อน วินเทอร์เฟ็ลท์-เม็นเค็น กาชาดเยอรมันได้กลายเป็นองค์กรระดับชาติที่เน้นสวัสดิการสังคม[5]

ยุคนาซีเยอรมนี[แก้]

ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1933 วิลเฮ็ล์ม ฟริค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยของไรซ์นาซีได้กล่าวกับวินเทอร์เฟ็ลท์-เม็นเค็น อย่างชัดเจนว่านโยบายนี้จะไม่มีผลบังคับใช้อีกต่อไป; ซึ่งกาชาดเยอรมันได้คาดว่าจะมีส่วนร่วมในการสนับสนุนกองกำลังติดอาวุธในความขัดแย้งในอนาคตแทน หลังจากนั้นไม่นาน กาชาดเยอรมันได้รับแจ้งว่าหัวหน้าของเหล่าทหารแพทย์เอ็สอา ดร.เพาล์ ฮอชไอเซิน ได้รับมอบหน้าที่รับผิดชอบในองค์กรพยาบาลโดยสมัครใจ

วันที่ 11 มิถุนายน ค.ศ. 1933 ฟริคได้รับเชิญให้ไปพูดในงานวันกาชาด เขาประกาศว่า:

"กาชาดเป็นสิ่งที่เหมือนจิตสำนึกของคนในชาติ ... ร่วมกับชาติ กาชาดพร้อมที่จะทุ่มเทพลังทั้งหมดเพื่อเป้าหมายอันสูงส่งของท่านผู้นำ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ของพวกเรา"[6]

กาชาดเยอรมันสามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว แน่นอนว่าวินเทอร์เฟ็ลท์-เม็นเคิน นั้นต่อต้านระบบของระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภามาโดยตลอด[7] ส่วนสันนิบาตกรรมกรสะมาริตัน ซึ่งเป็นองค์กรด้านมนุษยธรรมฝ่ายซ้าย เป็นคู่แข่งที่ไม่เป็นที่พอใจของกาชาดเยอรมันมาโดยตลอด[8] ฮอชไอเซินได้กำหนดอย่างรวดเร็วว่าควรรับช่วงต่อโดยกาชาดเยอรมัน ในทำนองเดียวกัน กาชาดเยอรมันได้เคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วเพื่อกำจัดสมาชิกฝ่ายซ้าย และในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1933 ก็มีมติว่าควรนำ "กฎหมายว่าด้วยการฟื้นฟูวิชาชีพข้าราชการ" ของนาซีมาใช้และไล่พนักงานชาวยิวออก

อย่างไรก็ตาม กาชาดเยอรมันยังคงเป็นสมาชิกของขบวนการกาชาด และประเทศเยอรมนียังคงเป็นผู้ลงนามในอนุสัญญาเจนีวา ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่พวกเขาจะใช้ "ไกลช์ชัลทุง" ในระดับเดียวกันกับกาชาดเยอรมันเช่นเดียวกับองค์กรอื่น ๆ ทัศนคติของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศที่มีต่อการกีดกันชาวยิวของกาชาดเยอรมันต่อมาได้แสดงออกในจดหมายที่เขียนโดยมักซ์ ฮูเบอร์ ใน ค.ศ. 1939 ตามที่เขากล่าว ภาระหน้าที่หลักของการปฏิบัติอย่างเป็นกลางตามที่คาดหวังไว้ในอนุสัญญาเจนีวาคือต่อผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของสงคราม ไม่ใช่ต่อผู้ช่วยเหลือ เขาแย้งว่าเนื่องจากเป็นไปไม่ได้ที่จะกำหนดกฎเกณฑ์ที่ขัดแย้งกับกฎหมายของประเทศ จึงควรใช้แนวทางที่ยืดหยุ่นดีกว่าที่จะเสี่ยงต่อการสลายการเคลื่อนไหวของสภากาชาดสากล[9]

แม้จะมีความภักดีต่อระบอบการปกครองของวินเทอร์เฟลท์-เม็นเคิน แต่พวกเขาก็ไม่ได้รับการตอบสนองและมีการหาสิ่งทดแทน ประธานาธิบดีฮินเดินบวร์คสามารถมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ และได้เลือกเจ้าชายคาร์ล เอดูอาร์ท ดยุกแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา ผู้เป็นพระราชนัดดาของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย แทนที่จะเป็นโฮไคเซิน ซึ่งเจ้าชายคาร์ล เอดูอาร์ท ได้ย้ายจากอังกฤษไปเยอรมนีเมื่อพระชนมายุ 15 พรรษา โดยต่อมาได้รับหน้าที่เป็นนายพลในกองทัพบกเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง รวมถึงได้สนับสนุนขบวนการพวกฝ่ายขวาโดยทั่วไปเป็นเวลานาน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อฮิตเลอร์ ซึ่งพระองค์ได้เป็นประธานกิตติมศักดิ์ของเหล่ายานยนต์สังคมนิยมแห่งชาติ

เจ้าชายคาร์ล เอดูอาร์ท กลายเป็นประธานกาชาดเยอรมันในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1933 ในขณะที่ฮอชไอเซินกลายเป็นผู้ทำการแทนพระองค์ ซึ่งไม่น่าแปลกใจเลยที่พวกเขาทำงานร่วมกันได้ไม่ดี ตามมาด้วยการแย่งชิงอำนาจโดยทั่วไปของนาซี ซึ่งในที่สุดฮอชไอเซินก็สามารถถือสิทธิ์อำนาจของเขาได้ – โดยมีแอ็นสท์-โรแบร์ท กราวิทซ์ แพทย์ชั้นนำของเอ็สเอ็สเท่านั้นที่จะถูกขับออกไปในช่วงต้น ค.ศ. 1937 กระทั่งในตอนท้ายของ ค.ศ. 1938 กาชาดเยอรมันได้เข้ามาอยู่ภายใต้การควบคุมขององค์การสวัสดิการสังคมของกระทรวงมหาดไทย และกลายเป็นหน่วยงานของนาซีโดยพฤตินัย ซึ่งนำโดยกราวิทซ์ในตำแหน่ง 'รักษาการประธาน' โดยมีอ็อสวัลท์ โพล เป็นประธานคณะกรรมการบริหาร[10] ซึ่งในขั้นตอนนี้ไม่ต้องสงสัยเลยว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบ แม้ว่าเจ้าชายคาร์ล เอดูอาร์ท จะประทับในตำแหน่งจนถึง ค.ศ. 1945 เนื่องจากพระองค์สัมพันธ์กับราชวงศ์ในยุโรปและพูดภาษาอังกฤษได้ดี พระองค์จึงเป็นบุคคลที่มีประโยชน์สำหรับกาชาดเยอรมัน แต่กราวิทซ์นั้นแตกต่างออกไป – เขาจะเข้าร่วมการประชุมกาชาดระหว่างประเทศในชุดเครื่องแบบเอ็สเอ็ส[11] กราวิทซ์ใช้แนวทางที่รุนแรงในงานของเขา เขาได้แนะนำสายการบังคับบัญชาตามลำดับชั้นเข้าสู่กาชาดเยอรมัน และจัดให้มี "ตัวแทน" ที่ใหญ่โตและภูมิฐานคนใหม่- อาคารประธานที่จะสร้างขึ้นในพ็อทสดัม-บาเบ็ลสแบร์ค พร้อมด้วยระเบียงที่สามารถกล่าวสุนทรพจน์ได้[12] แนวคิดในอุดมคติของเขาสำหรับกาชาดเยอรมันคือ "โครงสร้างที่ดีต่อสุขภาพซึ่งจะเข้ากับกฎแห่งชีวิตในระบอบชาติสังคมนิยมไรช์ที่สาม"[13]

ในช่วงหลายปีหลังจากการยึดครองของนาซี เช่นเดียวกับการนำเอาการแสดงความเคารพและสัญลักษณ์ของนาซีมาใช้ กาชาดเยอรมันได้มุ่งเสนออุดมการณ์นาซีในการศึกษาของพวกเขา ทีมกู้ภัยได้รับการฝึกด้านการปฏิบัติการทางทหาร, แนวคิดพื้นฐานของลัทธิสังคมนิยมแห่งชาติ, พันธุศาสตร์, การรักษาอนามัยทางเชื้อชาติ และนโยบายด้านประชากรศาสตร์ เจ้าหน้าที่อาวุโสเพิ่มเติม เช่น แพทย์, พยาบาล, และผู้จัดการ ได้รับการศึกษาด้านนโยบายด้านประชากรศาสตร์, ประวัติศาสตร์ทางเชื้อชาติ, สุขอนามัยทางเชื้อชาติ, ชีววิทยาของการถ่ายทอดทางพันธุกรรม และพื้นฐานของพันธุกรรม[14] เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการทำสงคราม กาชาดเยอรมันมุ่งเน้นไปที่การฝึกผู้คนในการจัดการกับการโจมตีทางอากาศและการโจมตีด้วยแก๊ส รวมถึงจัดให้มีการฝึกซ้อมร่วมกับตำรวจและหน่วยดับเพลิง[15]

ยุคหลังสงครามจนถึงปัจจุบัน[แก้]

หลังความพ่ายแพ้ของนาซีเยอรมนีในสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐบาลทหารฝ่ายสัมพันธมิตรได้ออกกฎหมายพิเศษห้ามพรรคนาซีและทุกเหล่าทัพของพรรค คำพิพากษาการขจัดนาซีนี้รู้จักกันในชื่อ "กฎหมายหมายเลขห้า" โดยได้ยุบกาชาดเยอรมัน เช่นเดียวกับทุกองค์การที่เชื่อมโยงกับพรรคนาซี องค์การสวัสดิการสังคม รวมทั้งสภากาชาดเยอรมัน จะต้องจัดตั้งขึ้นใหม่ในช่วงการฟื้นฟูหลังสงคราม ทั้งของประเทศเยอรมนีตะวันตก และสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี

สภากาชาดเยอรมันในเยอรมนีตะวันตกได้รับการยอมรับจากคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน ค.ศ. 1952 ส่วนในประเทศเยอรมนีตะวันออก ด็อยเช็สโรเท็สคร็อยซ์แดร์เดเดแอร์ ได้รับการก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม ค.ศ. 1952 และได้รับการยอมรับจากสภากาชาดสากลเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1954 ซึ่งกาชาดตะวันออกได้ออกนิตยสารชื่อด็อยเช็สโรเท็สคร็อยซ์ (กาชาดเยอรมัน) ส่วนอัลเบิร์ท ชไวท์เซอร์ ได้กลายเป็นบุคคลตัวอย่าง ทั้งนี้ สถานะของกาชาดเยอรมันตะวันออกในฐานะหน่วยงานแยกต่างหากสิ้นสุดเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1991 เมื่อรวมกับกาชาดเยอรมันของอดีตเยอรมนีตะวันตก

ประธานสภากาชาดเยอรมัน[แก้]

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง นายพล คูร์ท ฟ็อน ฟูเอิล เป็นประธานคณะกรรมการกลางของสภากาชาดแห่งชาติเยอรมัน[16][17] และตั้งแต่ ค.ศ. 1921 สมาคมดังกล่าวได้มีประธานดังต่อไปนี้:

ลำดับ ภาพ ประธาน เข้ารับตำแหน่ง ออกจากตำแหน่ง เวลาอยู่ในตำแหน่ง
1
โยอาคิม ฟ็อน วินแทร์เฟ็ลด์-เมนคิน
Winterfeldt-Menkin, Joachimโยอาคิม ฟ็อน วินแทร์เฟ็ลด์-เมนคิน
(ค.ศ. 1865–ค.ศ. 1945)
ค.ศ. 1921ค.ศ. 193311–12 ปี
2
เจ้าชายคาร์ล เอดูอาร์ท ดยุกแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา
Gotha, Carl-Eduardเจ้าชายคาร์ล เอดูอาร์ท ดยุกแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา
(ค.ศ. 1884–ค.ศ. 1954)
ธันวาคม ค.ศ. 1933ค.ศ. 194511–12 ปี
3
อ็อทโท เก็สเลอร์
Gessler, Ottoอ็อทโท เก็สเลอร์
(ค.ศ. 1875–ค.ศ. 1955)
สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
ค.ศ. 1950ค.ศ. 19521–2 ปี
4
ไฮน์ริช ไวทซ์
Weitz, Heinrichไฮน์ริช ไวทซ์
(ค.ศ. 1890–ค.ศ. 1962)
สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
ค.ศ. 1952ค.ศ. 19618–9 ปี
5
ฮันส์ ริทเทอร์ ฟ็อน เล็คซ์
Lex, Hansฮันส์ ริทเทอร์ ฟ็อน เล็คซ์
(ค.ศ. 1893–ค.ศ. 1970)
สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
ค.ศ. 1961ค.ศ. 19675–6 ปี
6
วัลเทอร์ บาร์กัทซคี
Bargatzky, Walterวัลเทอร์ บาร์กัทซคี
(ค.ศ. 1910–ค.ศ. 1998)
สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
ค.ศ. 1967ค.ศ. 198214–15 ปี
7
โบโท พรินทซ์ ซู ไซน์-วิทเกินชไตน์-โฮเฮ็นชไตน์
Sayn-Wittgenstein-Hohensteinโบโท พรินทซ์ ซู ไซน์-วิทเกินชไตน์-โฮเฮ็นชไตน์
(ค.ศ. 1927–ค.ศ. 2008)
สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
ค.ศ. 1982ค.ศ. 199411–12 ปี
8
คนุท อิพเซิน
Ipsen, Knutคนุท อิพเซิน
(เกิด ค.ศ. 1935)
ค.ศ. 1994ค.ศ. 20038–9 ปี
9
รูด็อล์ฟ ไซเทอส์
Seiters, Rudolfรูด็อล์ฟ ไซเทอส์
(เกิด ค.ศ. 1937)
พฤศจิกายน ค.ศ. 200330 พฤศจิกายน ค.ศ. 201714 ปี
10
แกร์ดา ฮัสเซ็ลเฟ็ลท์
Hasselfeldt, Gerdaแกร์ดา ฮัสเซ็ลเฟ็ลท์
(เกิด ค.ศ. 1950)
1 ธันวาคม ค.ศ. 2017ดำรงตำแหน่งอยู่6 ปี

เลขาธิการสภากาชาดเยอรมัน[แก้]

กาชาดเยอรมันจนถึงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง:[18]

ประเทศเยอรมนีตะวันตก และรวมเยอรมนี
ประเทศเยอรมนีตะวันออก
  • ค.ศ. 1953–1954: ดร. เม็ลมัค
  • ค.ศ. 1954–1960: ฮันส์ ชโวเบิล
  • ค.ศ. 1960–1966: วัลเดอมาร์ เรอริชท์
  • ค.ศ. 1966–1990: โยฮันเนิส เฮ็งสท์
  • ค.ศ. 1990: ดร. คาร์ล-ไฮนทซ์ บอร์วาร์ท

อ้างอิง[แก้]

การอ้างอิง[แก้]

  1. Kreuz, Deutsches Rotes (2019-05-17). "A self-portrayal of the Red Cross". DRK e.V. (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-29. สืบค้นเมื่อ 2020-01-23.
  2. ""Where we work", article on the GRC homepage". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-03. สืบค้นเมื่อ 2019-06-09.
  3. "Pursuit of an 'Unparalleled Opportunity'". www.gutenberg-e.org. สืบค้นเมื่อ 2019-06-11.
  4. "Pursuit of an 'Unparalleled Opportunity'". www.gutenberg-e.org. สืบค้นเมื่อ 2019-06-11.
  5. Morgenbrod & Merkenich 2008, p. 21.
  6. Morgenbrod & Merkenich 2008, p. 32.
  7. Morgenbrod & Merkenich 2008, p. 51.
  8. Morgenbrod & Merkenich 2008, p. 34-38.
  9. Morgenbrod & Merkenich 2008, p. 91, footnote 15.
  10. Morgenbrod & Merkenich 2008, p. 152.
  11. Morgenbrod & Merkenich 2008, p. 104.
  12. Morgenbrod & Merkenich 2008, p. 172-175.
  13. Morgenbrod & Merkenich 2008, p. 131.
  14. Morgenbrod & Merkenich 2008, p. 115.
  15. Morgenbrod & Merkenich 2008, p. 116.
  16. "Coordinating War Prisoner Relief: The American YMCA Expands WPA Work in Germany". www.gutenberg-e.org. สืบค้นเมื่อ 2016-06-16.
  17. "Pursuit of an 'Unparalleled Opportunity'". www.gutenberg-e.org. สืบค้นเมื่อ 2016-06-16.
  18. "DRK Bad Lauterberg". www.drk-lauterberg.de. สืบค้นเมื่อ 2016-06-16.[ลิงก์เสีย]

บรรณานุกรม[แก้]

  • Morgenbrod, Birgitt; Merkenich, Stephanie (2008). Das Deutsche Rote Kreuz unter der NS-Diktatur 1933-1945 (ภาษาเยอรมัน). Paderborn: Verlag Ferdinand Schöningh. ISBN 978-3506765291.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]