กลีบเทียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Ranunculus siamensis
Yellow flower surrounded by green leaves.
กลีบเทียน
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
อันดับ: Ranunculales
วงศ์: Ranunculaceae
สกุล: Ranunculus
สปีชีส์: R.  siamensis
ชื่อทวินาม
Ranunculus siamensis
M. Tamura, 1980[1]

กลีบเทียน หรือ เพดาโก๊ะ หรือชื่อวิทยาศาสตร์: Ranunculus siamensis เป็นพืชล้มลุกในวงศ์ Ranunculaceae ลำต้นเลื้อยได้ไกล มีขนยาวทั่วไป ใบประกอบมี 3 ใบย่อย ดอกออกที่ปลายยอด สีเหลือง ออกดอกช่วงเดือนธันวาคม – กุมภาพันธ์ พบในที่ชื้นแฉะในที่สูง พบครั้งแรกที่จังหวัดเชียงใหม่ ชื่อสปีชีส์ตั้งเป็นเกียรติแก่ประเทศไทย[2] กระจายพันธุ์ตามธรรมชาติในประเทศเนปาล, อินเดีย, พม่า, ทางภาคเหนือตอนบนของไทยและเวียดนาม[3][4]

สันฐานวิทยา[แก้]

ไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 30–80 ซม. ลำต้นตั้งตรงหรือทอดเลื้อย มีขนแข็งสีขาวกระจายทั่วไป[3]

ใบที่โคนต้นเป็นใบเดี่ยวหรือมี 3 ใบย่อย ก้านใบยาว 6–20 ซม. โคนก้านใบขยายออกคล้ายกาบ มีขนแข็งปกคลุม ใบย่อยรูปไข่กลับ ยาว 3.5-7 ซม. ตอนปลายกิ่งใบแฉกลึก 2-4 แฉก ขอบใบจักคล้ายซี่ฟันความลึกไม่เป็นระเบียบ ใบที่ลำต้นมี 2–4 ใบ คล้ายใบที่โคนต้นแต่ขนาดเล็กว่า ไม่มีก้าน[3]

ช่อดอกแบบช่อเชิงหลั่น มี 3–7 ดอก ใบประดับรูปแถบหรือมี 3 แฉก ก้านดอกยาว 2–10 ซม. มีขนแข็ง เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 0.7–1.5 ซม. กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีจำนวนอย่างละ 5 กลีบ กลีบเลี้ยงรูปรีแกมรูปไข่ บานออก ยาว 0.4-0.5 ซม. มีขนยาวปกคลุม กลีบดอกรูปรีหรือรูปไข่กลับ ยาว 0.7-0.8 ซม. มีเกสรเพศผู้จำนวนมาก ยาวประมาณ 0.3 ซม. ฐานรองดอกทรงรีเกือบกลม ยาว 0.2-0.4 ซม.[3]

ผลแบบผลรวม มีผลย่อยแบบผลแห้งเมล็ดล่อนติดเป็นช่อกลมเป็นกระจุกแน่น เส้นผ่านศูนย์กลาง 1-1.2 ซม. แต่ละผลแบน มีขอบและจะงอยชัดเจน[3]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Ranunculus siamensis Tamura". Ishikawa: Journal of Phytogeography and Taxonomy. [Shokubutsu Chiri Bunrui Kenkyu.] 1980. p. 15. ASIN B0009GJBN2 – โดยทาง ipni.org.
  2. ปิยะ เฉลิมกลิ่น; จิรพันธ์ ศรีทองกุล; อนันต์ พิริยะภัทรกิจ (2008). วิสุทธิ์ ใบไม้; รังสิมา ตัณฑเลขา (บ.ก.). พรรณไม้ที่พบครั้งแรกในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: โครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย (โครงการ BRT). p. 72. ISBN 9789742299651.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 "กลีบเทียน". สารานุกรมพืชในประเทศไทย. สำนักงานหอพรรณไม้, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. 4 April 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 September 2015.
  4. "Checklist of the Plants of Myanmar" (ภาษาอังกฤษ). botanicus.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 2 August 2015.