กระแตไต่ไม้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กระแตไต่ไม้
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: พืช
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
หมวด: Polypodiophyta
ชั้น: Polypodiopsida
อันดับ: Polypodiales
อันดับย่อย: Polypodiineae
วงศ์: Polypodiaceae
สกุล: Aglaomorpha
(L.) Hovenkamp & S. Linds.
สปีชีส์: Aglaomorpha quercifolia
ชื่อทวินาม
Aglaomorpha quercifolia
(L.) Hovenkamp & S. Linds.
ชื่อพ้อง[1]
  • Drynaria brancifolia (C. Presl) Moore
  • Drynaria morbillosa (C. Presl) Moore
  • Drynaria quercifolia (L.) J. Sm.
  • Drynariopsis morbillosa (C. Presl) Copel.
  • Phymatodes brancifolia (C. Presl) C. Presl
  • Phymatodes morbillosa C. Presl
  • Phymatodes quercifolia (L.) C. Presl
  • Phymatodes sylvatica (Schkuhr) C. Presl
  • Polypodium brancifolium C. Presl
  • Polypodium conjugatum Poir.
  • Polypodium morbillosum C. Presl
  • Polypodium quercifolium L.
  • Polypodium quercioides Desv.
  • Polypodium schkuhrii Bory
  • Polypodium siifolium Goldm.
  • Polypodium sylvaticum Schkuhr

กระแตไต่ไม้ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Drynaria quercifolia, อังกฤษ: oak-leaf fern, pakpak lawin, gurar, koi hin, ashvakatri, หรือ uphatkarul) เป็นเฟิร์นอิงอาศัยในสกุลกระแตไต่ไม้ (Drynaria) กระจายพันธุ์ในเขตร้อน ตั้งแต่ประเทศศรีลังกา อินเดีย จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฟิจิ และออสเตรเลีย พบเกาะอยู่ตามต้นไม้ใหญ่ หรือโขดหินที่ชุ่มชื้น ในป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง ป่าชายเลน

ในประเทศไทยมีชื่อพื้นเมืองอื่นดังนี้ กระปรอกว่าว (ชลบุรี,ปราจีนบุรี) กูดขาฮอก (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) เช้าวะนะ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) เดาน์กาโละ (มลายู ปัตตานี) ใบหูช้าง (กาญจนบุรี) พุดองแคะ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) สะไบนาง (กาญจนบุรี) สะโมง (นราธิวาส,ส่วย สุรินทร์) และหัวว่าว (ใต้,ประจวบคีรีขันธ์)[2]

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์[แก้]

กระแตไต่ไม้มีเหง้าอ้วนทอดเลื้อย เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5-4 ซ.ม. และยาวได้มากกว่า 1 เมตร ปกคลุมด้วยเกล็ดแคบหรือขนสีน้ำตาลแดง ขนยาวราว 1-1.8 ซ.ม. ใต้เหง้ามีรากสีน้ำตาล ทำหน้าที่ยึดเกาะและหาอาหาร ใบกาบ ไม่มีก้าน รูปไข่ ปลายแหลม โคนมน ขอบใบหยัก ตื้น ปลายมน ใบกาบจะผลิออกมาในช่วงฤดูฝน เป็นสีเขียวอ่อน เมื่อเริ่มเข้าสู่ฤดูแล้ง จะแห้งเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลติดอยู่กับเหง้า ใบสปอร์ เป็นใบประกอบแบบขนนก เส้นใบเป็นร่างแห อับสปอร์ เกิดบนเส้นใบย่อยของใบสปอร์ อับสปอร์รูปกลม เรียงตัวเป็นระเบียบ 2 ข้างของเส้นกลางใบ[3][4]

อ้างอิง[แก้]

  1. Hassler, Michael & Schmitt, Bernd (June 2019). "Aglaomorpha quercifolia". Checklist of Ferns and Lycophytes of the World. Vol. 8. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-02. สืบค้นเมื่อ 2019-08-15.
  2. เต็ม สมิตินันทน์ ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เก็บถาวร 2010-05-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, พ.ศ. 2549
  3. กระแตไต่ไม้ fernsiam.com
  4. กระแตไต่ไม้ สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี