กระบวนการซุปเปอร์จีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กระบวนการซุปเปอร์จีน (อังกฤษ: Supergene) หรือ กระบวนการเกิดแหล่งแร่สมบูรณ์ยิ่งยวด[1] คือกระบวนการที่แร่ปฐมภูมิ เกิดการเปลี่ยนแปลงที่อุณหภูมิบรรยากาศโดยกระบวนการผุพังโดยน้ำ ทำให้ได้แร่ปริมาณมาก เกิดเป็นแหล่งแร่ขึ้น

แร่ปฐมภูมิ ในกระบวนการซุปเปอร์จีน[แก้]

กระบวนการ[แก้]

แร่ซัลไฟด์ในหินผ่านกระบวนการผุพังโดยน้ำ เช่นน้ำฝน ตัวแร่ก็จะถูกชะล้างซึมลงสู่ใต้ดิน และเกิดกระบวนการออกซิเดชั่น กลายเป็นซัลเฟต รวมทั้งเกิดการตกผลึกใหม่เกิดเป็นแร่ทุติยภูมิ ปริมาณแร่มีเพิ่มมากขึ้นโดยอาศัยการขึ้นลงของระดับน้ำใต้ดินเป็นตัวการในการเพิ่มปริมาณแร่ ในสภาวะ Oxidation - Reduction สลับกันไปเรื่อยๆ จนอาจสามารถเป็นแหล่งแร่ทางเศรษฐกิจได้

โซน (Zone) ของกระบวนการซุปเปอร์จีน[แก้]

สามารถแบ่งได้หลายแบบดังนี้

  1. แบ่งตามชนิดของแร่ที่ตกผลึกใหม่ (Crystalline)
    1. Gossan zone เป็นโซนที่ไม่หลงเหลือแร่ซัลไฟด์อยู่เนื่องจากมันถูกชะล้างลงไปด้านล่างโดยน้ำฝนแล้ว คงเหลือเพียงแร่ควอตซ์ และดีบุกซึ่งมีการสะสมตัวแบบลานแร่ เนื่องจากกระบวนการผุงพัง
    2. Zone of Oxidized Enrichment เป็นโซนที่อยู่ใต้ระดับน้ำบาดาล (Water Table) มีการเกิดOxidation อยู่ตลอดเวลา ประกอบไปด้วยแร่จำพวกคาร์บอเนต (Carbonate) เช่นแร่มาลาไคต์ (Malachite) แร่อาซูไรต์ (Azurite) แร่สมิตโซไนต์ (Smithsonite) แร่คิวไปรต์ (Cuprite) เป็นต้น
    3. Zone of Secondary Enrichment เป็นโซนที่อยู้ลึกลงไปอีก มีสภาพเสมือนเป็น Reducing Zone คือมีปริมาณ อ๊อกซิเจนน้อยมาก ในโซนนี้แร่คอปเปอร์ (Copper) จะเกิดการตกผลึกใหม่ เกิดแร่จำพวก โคเวลไลต์ (Covellite) แร่ชาลโคไซต์ (Chalcocite) เป็นต้น
  2. แบ่งตามชนิดของแหล่งแร่
    1. Tin Zone โซนแร่ดีบุก มักมีการสะสมตัวแบบลานแร่
    2. Copper Zone โซนแร่คอปเปอร์ โดยได้แร่ที่มีปริมาณมากเนื่องจากเกิดการตกผลึกใหม่ภายใต้สภาวะ Reduction

อ้างอิง[แก้]

  1. พงศ์ศักดิ์ วิชิต. การกำเนิดแร่. กองเศรษฐธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี. 2524.