กระดานเขียนกีซา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กระดานเขียนกีซา (หรือ บันทึกพระนามกษัตริย์กีซา) เป็นโบราณวัตถุของอียิปต์โบราณที่สร้างขึ้นในช่วงปลายราชวงศ์ที่ห้า (ประมาณ 2494 – 2345 ปีก่อนคริสตกาล) หรือช่วงต้นของราชวงศ์ที่หก (ประมาณ 2345 – 2181 ปีก่อนคริสตกาล) ซึ่งได้รับการค้นพบในสถานที่ฝังศพของขุนนางระดับสูงนามว่า เมสดเจอร์อู และภริยานามว่า เฮเทป-เนเฟอร์เอต กระดานเขียนกีซายังเป็นที่รู้จักกันในปัจจุบันในนามว่า บันทึกพระนามกษัตริย์กีซา เนื่องจากเป็นบันทึกพระนามฟาโรห์จำนวนหกพระองค์จากราชวงศ์ต่างๆ[1] ซึ่งเมสดเจอร์อูมีตำแหน่งเป็น คนสนิทแห่งกษัตริย์, ผู้ตรวจการของผู้คัดเลือกแห่งพระคลังมหาสมบัติ และผู้ดูแลพระคลังทอง[2]

คำอธิบาย[แก้]

กระดานเขียนกีซาทำจากไม้ซีดาร์ขัดเงาและยิปซัม ไม่ทราบขนาดดั้งเดิมของกระดานและไม่สามารถบูรณะขึ้นใหม่ได้ เนื่องจากสภาพความเสียหายของโบราณวัตถุ โดยบันทึกพระนามดังกล่าวได้ถูกโจรปล้นสุสานทำลายเป็นเศษชิ้นเล็ก ๆ และไม้ซีดาร์ก็ผุพังไปเกือบหมดแล้ว เดิมทำจากแผ่นไม้บาง ๆ ปิดทับด้วยยิปซั่มสีขาว ซึ่งจารึกด้วยรายการมากมายและละเอียด เขียนด้วยหมึกสีแดง เขียว และดำ[3]

กระดานเขียนกิซ่าในรูปแบบที่สมบูรณ์ (Edward Brovarski's Two Old Kingdom writing boards from Giza, page 52, obj. 1.[4]) จากขวาไปซ้ายคือ คอลัมน์ว่าง (สี่แถวแรก), บันทึกพระนามกษัตริย์ (สี่แถวต่อมา), รายพระนามเทพเจ้า (12 แถว), รายชื่อดินแดน (27 แถว) และสัตว์บูชายัญ (ในตารางสี่เหลี่ยม)

รายพระนามฟาโรห์[แก้]

รายพระนามของฟาโรห์ที่เป็นที่ทราบประกอบด้วยพระนามคาร์ทูชของฟาโรห์ดังต่อไปนี้ (จากบนลงล่าง)

รายพระนามของฟาโรห์ได้เรียงตามลำดับเวลาย้อนหลัง โดยฟาโรห์พระองค์แรกสุดจะต้องเป็นฟาโรห์พระองค์สุดท้าย แต่ละคอลัมน์ลงท้ายด้วยวลีว่า มา'อะ (ma'a) ซึ่งหมายถึง "ผู้ทรงธรรม" ซึ่งเป็นเรื่องปกติสำหรับการให้เกียรติแก่ฟาโรห์ผู้ล่วงลับ อาจจะเป็นไปได้ว่าเมสดเจอร์อูได้เข้าร่วมลัทธิพิธีบูชาพระบรมศพของฟาโรห์ดังกล่าว ซึ่งจะอธิบายได้ว่าเพราะเหตุใดถึงความสำคัญที่เมสดเจอร์อูจะกล่าวถึงและด้วยเหตุนี้จึงถวายเกียรติแด่ฟาโรห์ที่ได้รับเลือกดังกล่าวเท่านั้น[2]

พระนามคาร์คูชนามว่า เบดจาตาว (หรือ เบดจ์อาว) และเตติ เป็นจุดสังเกตเป็นพิเศษสำหรับนักไอยคุปต์วิทยา ซึ่งที่แท้จริงแล้ว พระนาม "เบดจาตาว" เป็นพระนามอื่นที่ทราบกันเฉพาะจากบันทึกพระนามแห่งอไบดอส ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยราชอาณาจักรใหม่ที่บันทึกขึ้นในภายหลัง ตามตำแหน่งที่ระบุในรายพระนาม พระนาม "เตติ" ดูเหมือนจะต้องเป็นฟาโรห์ที่ต้องปกครองก่อนหน้าฟาโรห์ดเจเอฟเรและฟาโรห์คาฟเร ซึ่งฟาโรห์ที่ทรงเป็นไปได้ที่จะเป็นฟาโรห์เตติ คือ ฮอร์-เซเคมเคต ซึ่งเป็นที่ทราบจากพระนามเนบติบนลายฉลุงาช้างว่า ดเจเซอร์เตติ ดังนั้น ว็อล์ฟกัง เฮ็ลท์ค นักไอยคุปต์วิทยาจึงเสนอว่า "ฟาโรห์เตติ" คือ ฟาโรห์เซเคมเคต[1][3]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Wolfgang Helck: Untersuchungen zur Thinitenzeit (= Ägyptologische Abhandlungen (ÄA) . Vol. 45). Harrassowitz, Wiesbaden 1987, ISBN 3-447-02677-4. p. 117.
  2. 2.0 2.1 Edward Brovarski: Two Old Kingdom writing boards from Giza. In: Annales du Service des Antiquités de l´Egypte No. 71. Cairo 1987, p. 29 - 52.
  3. 3.0 3.1 William Stevenson Smith, William Kelly Simpson: The art and architecture of ancient Egypt. Penguin Books, London 1981, ISBN 0140560149, S. 358 - 359.
  4. Edward Brovarski: Two Old Kingdom writing boards from Giza. In: Annales du Service des Antiquités de l´Egypte No. 71. Cairo 1987, p. 52, obj. 1.