ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เฟลีแซ็ต"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Phyblas (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างขึ้นโดยการแปลหน้า "フェリセット"
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:37, 13 พฤษภาคม 2566

เฟลีแซ็ต
สปีชีส์แมว
เพศเมีย
เป็นที่รู้จักสำหรับแมวตัวแรกที่ขึ้นไปบนอวกาศ
เจ้าของรัฐบาลฝรั่งเศส
สัณฐานแมวดำขาว

เฟลิเซ็ตต์ (ฝรั่งเศส: Félicette, เสียงอ่านภาษาฝรั่งเศส: [fe.liː.sɛt]) เป็นแมวตัวแรกของโลกที่ถูกปล่อยสู่อวกาศ

เฟลีแซ็ตถูกส่งไปโดยจรวดของฝรั่งเศส เมื่อ วันที่ 18 ตุลาคม 1963 และทำการบินใต้วงโคจร[1] แม้ว่าเชื่อกันว่าเธอเป็นแมวตัวเดียวที่บินขึ้นสู่อวกาศได้สำเร็จ[2] แต่ชื่อของเธอก็ไม่เป็นที่รู้จักมานานหลายปี ตั้งแต่ปี 2017 กิจกรรมการระดมทุนสาธารณะได้ดำเนินการเพื่อสร้างรูปปั้นทองสัมฤทธิ์ เพื่อเป็นเกียรติแก่ความสำเร็จของเธอ[3] และในปี 2019 จึงได้มีการติดตั้งรูปปั้นทองสัมฤทธิ์ของเฟลีแซ็ตที่ มหาวิทยาลัยอวกาศนานาชาติ ในสทราซบูร์

สัตว์ที่ไปอวกาศก่อน Felicette

ก่อนหน้าเฟลีแซ็ต สัตว์หลายชนิดถูกปล่อยสู่อวกาศ ในปี 1957 สุนัขชื่อไลกาได้กลายเป็นสัตว์ตัวแรกที่เคยขึ้นไปโคจรรอบโลก โดยถูกบรรทุกบนดาวเทียม สปุตนิก 2 ของโซเวียต[4] ในเดือนมกราคม 1961 สหรัฐอเมริกา ได้นำลิงชิมแปนซี ชื่อ แฮม ขึ้นไปในฐานะส่วนหนึ่งของโครงการเมอร์คิวรี ทำให้มันเป็นสัตว์ตระกูลลิลตัวแรกที่บินขึ้นสู่อวกาศ[5]

ฝรั่งเศสยังได้ส่งหนู ชื่อเอ็กตอร์ (Hector) ขึ้นสู่อวกาศในปี 1961 ก่อนที่จะปล่อยเฟลิแซ็ต และปล่อยหนูอีก 2 ตัวในเดือนตุลาคม 1962[6]

ภารกิจ

จรวดที่พาเฟลีแซ็ตขึ้นสู่อวกาศ

เฟลีแซ็ตเป็นแมวจรจัดสีดำขาวที่อาศัยอยู่ข้างถนนในกรุงปารีส ถูกพ่อค้าสัตว์เลี้ยงจับตัวไปและซื้อโดยรัฐบาลฝรั่งเศส[7] ในปี 1963 รัฐบาลฝรั่งเศสได้ฝึกแมว 14 ตัว รวมทั้งเฟลีแซ็ต[8] แมวเหล่านี้ได้รับการฝึกฝนที่ Centre d'Enseignement et de Recherches de Médecine Aéronautique (CERMA) และติดขั้วไฟฟ้าไว้ที่หัวระหว่างการฝึกเพื่อศึกษาการทำงานของเส้นประสาท[7] นักวิทยาศาสตร์ในเวลานั้นมีความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของภาวะไร้น้ำหนักต่อสัตว์และมนุษย์ ดังนั้น แมวจึงได้รับการฝึกฝนอย่างเข้มงวดเช่นเดียวกับ นักบินอวกาศ[3][3] เฟลีแซ็ตได้รับเลือกให้ทำงานจริงเนื่องจากมีนิสัยสงบเสงี่ยมกว่าแมวตัวอื่นที่ร่วมฝึก

เวลา 08:09 น. ของวันที่ 18 ตุลาคม 1963 เฟลีแซ็ตได้ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศจากสถานที่ปล่อยจรวดในเมืองอามากีร์ ประเทศแอลจีเรีย โดยจรวด Véronique AGI 47[4]

ภารกิจของเฟลีแซ็ตคือการบินใต้วงโคจร โดยขึ้นไปถึงระดับความสูง 157 กม. ในการบิน 13 นาที และประสบภาวะไร้น้ำหนักเป็นเวลา 5 นาทีของเวลาบิน เฟลีแซ็ตกลับมายังโลกอย่างปลอดภัยแต่ถูกการุณยฆาต ในสามเดือนต่อมาเพื่อชันสูตรสมอง[9][8]

นอกจากนี้ยังแมวอีกตัวได้ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศในวันที่ 24 ตุลาคม ไม่นานหลังจากภารกิจของเฟลีแซ็ตสิ้นสุดลง แต่ตายเมื่อจรวดระเบิดระหว่างปล่อย[4][7]

  1. "Chatte Félicette". CNES. สืบค้นเมื่อ 15 July 2015.
  2. Moye, David (20 October 2017). "The First Cat In Space May Finally Get The Recognition She Deserves". ハフポスト (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 3 November 2017.
  3. 3.0 3.1 3.2 Weitering, Hanneke. "First Cat in Space to Receive a Proper Memorial". space.com. Space.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 April 2018. สืบค้นเมื่อ 21 April 2018.
  4. 4.0 4.1 4.2 Gray, Tara (2 August 2004). "A Brief History of Animals in Space". NASA. สืบค้นเมื่อ 6 May 2017.
  5. "Ham the astrochimp: hero or victim?". The Guardian. 2013-12-16. สืบค้นเมื่อ 2018-10-31.
  6. "France". Encyclopedia Astronautica. 1997–2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 March 2010. สืบค้นเมื่อ 2018-10-31.
  7. 7.0 7.1 7.2 Burgess, Colin; Dubbs, Chris (2007). Animals in Space: From Research Rockets to the Space Shuttle. Springer Praxis. pp. 226–228. ISBN 978-0-387-36053-9.
  8. 8.0 8.1 "Crowdfunding a Memorial to Félicette, the First Cat Astronaut". Hyperallergic (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 3 November 2017. สืบค้นเมื่อ 3 November 2017.
  9. "A statue to Félicette, the first cat in space". Kickstarter.com. Kickstarter. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 April 2018. สืบค้นเมื่อ 21 April 2018.