ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศาสนาคริสต์ในประเทศตุรกี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Waniosa Amedestir (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: {{Infobox religious group | group = ชาวตุรกีที่นับถือศาสนาคริสต์ | native_name = Türkiye Hristiyanları | native_name_lang = tr | image = Christ_Pantocrator_mosaic_from_Hagia_Sophia_2744_x_2900_pixels_3.1_MB.jpg | population = ประมาณ '''200,000–320,000''' คน | total_ref = <ref>[https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/fields/2122.html#tu] {{webarchive|url=https://web.archi...
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560 ลิงก์แก้ความกำกวม
 
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 19:41, 1 พฤษภาคม 2566

ชาวตุรกีที่นับถือศาสนาคริสต์
ศาสนิกชนรวม
ประมาณ 200,000–320,000 คน
ศาสนา
คริสต์ (คาทอลิก, ออร์ทอดอกซ์ตะวันออก, ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์, กรีกออร์ทอดอกซ์แห่งแอนติออก, โปรเตสแตนต์)
ภาษา
ตุรกี, กรีก, ละตินคริสต์จักร, กรีกคอยนี, อาร์มีเนีย, ซีรีแอก, อาหรับ, รัสเซีย, จอร์เจีย, อังกฤษ, เยอรมัน, เกาหลี, เปอร์เซีย
เขตมุขมณฑลมหานครของกรีก-ออร์ทอดอกซ์ในเอเชียน้อย ประมาณ ค.ศ. 1880

ศาสนาคริสต์ในประเทศตุรกีมีประวัติศาสตร์ยาวนานถึงช่วงต้นของศาสนาคริสต์ในเอเชียน้อยเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 1 จำนวนร้อยละผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์ในประเทศตุรกีลดลงจากร้อยละ 20 ถึง 25 ใน ค.ศ. 1914 ไปเป็นร้อยละ 3–5.5 ใน ค.ศ. 1927 ปัจจุบันเหลือเพียง 0.3–0.4%[1][2] ซึ่งเทียบเท่า 200,000–320,000 คน[3] สาเหตุหลักที่จำนวนร้อยละของชาวคริสต์ในประเทศตุรกีลดลงเป็นผลจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์สมัยออตโตมันตอนปลาย[4][5][6] (การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอาร์มีเนีย, การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวกรีก และการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอัสซีเรีย)[4][7][8][9] การแลกเปลี่ยนประชากรระหว่างกรีซกับตุรกี[5][10] การย้ายถิ่นฐานของชาวคริสต์ที่เริ่มต้นในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงไตรมาสแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 20[5][11] และเนื่องจากเหตุการณ์อย่างการเรียกเก็บภาษีวาร์ลึกแวร์กีซีจากพลเมืองที่ไม่ใช่มุสลิมใน ค.ศ. 1942 และอิสตันบูลโพกรมต่อชาวกรีกและอาร์มีเนียที่นับถือศาสนาคริสต์ใน ค.ศ. 1955[5] จำนวนผู้นับถือศาสนานี้โดยประมาณไม่สามารถระบุได้ชัดเจน เนื่องจากอดีตมุสลิมที่เข้ารีตเป็นคริสต์หลายคนมักปิดบังความศรัทธาในศาสนาคริสต์ เนื่องจากความกลัวต่อการกดดันในครอบครัว การเลือกปฏิบัติ และการเบียดเบียน[12]

ปัจจุบัน มีผู้นับถือศาสนาคริสต์ในนิกายต่าง ๆ รวมมากกว่า 200,000–320,000 คน[13] เทียบเท่าเกือบร้อยละ 0.3–0.4 ของประชากรทั้งประเทศ[1][2] ซึ่งรวมประชากร 80,000 คนที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์[14] 47,000 คนที่นับถือนิกายออร์ทอดอกซ์ตุรกี,[15][16] 35,000 คนที่นับถือนิกายโรมันคาทอลิก,[17] 18,000 คนที่นับถือนิกายกรีกแอนติออก,[18] 5,000 คนที่นับถือนิกายกรีกออร์ทอดอกซ์,[14] 8,000 คนที่นับถือนิกายโปรเตสแตนต์, 4,994 คนที่นับถือพยานพระยะโฮวา[19] และ 512 คนที่นับถือนิกายมอร์มอน[20] นอกจากนี้ยังมีกลุ่มชาวตุรกีที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายออร์ทอดอกซ์ขนาดเล็ก (ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ที่อิสตันบูลและอิซมีร์) ที่นับถือนิกายกรีกออร์ทอดอกซ์ ตุรกีออร์ทอดอกซ์ หรือซีรีแอกออร์ทอดอกซ์ และชาวตุรกีที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ทียังคงเผชิญกับความยากลำบากในการยอมรับทางสังคม ตลอดจนการเรียกร้องทางประวัติศาสตร์ต่อคริสต์จักรหรือทรัพย์สินในประเทศ เนื่องจากพวกเขาเป็นอดีตมุสลิมจากภูมิหลังเติร์ก-มุสลิมที่เข้ารีตเป็นคริสต์ (ตรงกันข้ามกับกลุ่มชาติพันธุ์ส่วนน้อย)[21] ชาวตุรกีที่นับถือนิกายโปรเตสแตนต์มีประมาณ 7,000–8,000 คน[22][23] ใน ค.ศ. 2009 มีโบสถ์คริสต์ที่เปิดให้บริการ 236 แห่งในประเทศตุรกี[24] คริสต์จักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์มีสำนักงานใหญ่ที่คอนสแตนติโนเปิลมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 4[25][26][21]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "The Global Religious Landscape". ResearchGate (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 2, 2020. สืบค้นเมื่อ 2019-02-08.
  2. 2.0 2.1 "Religions". Central Intelligence Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มิถุนายน 4, 2011. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 9, 2013.
  3. "Global Christianity – A Report on the Size and Distribution of the World's Christian Population" (PDF). Pew Research Center. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ February 1, 2021. สืบค้นเมื่อ June 2, 2022.
  4. 4.0 4.1 Gutman, David (2019). "The thirty year genocide: Turkey's destruction of its Christian minorities, 1894–1924". Turkish Studies. London and New York: Routledge on behalf of the Global Research in International Affairs Center. 21 (1): 1–3. doi:10.1080/14683849.2019.1644170. eISSN 1743-9663. ISSN 1468-3849. S2CID 201424062.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 Üngör, Uğur Ümit (June 2008). "Seeing like a nation-state: Young Turk social engineering in Eastern Turkey, 1913–50". Journal of Genocide Research. London and New York: Routledge. 10 (1): 15–39. doi:10.1080/14623520701850278. ISSN 1469-9494. OCLC 260038904. S2CID 71551858.
  6. İçduygu, Ahmet; Toktaş, Şule; Ali Soner, B. (February 2008). "The politics of population in a nation-building process: Emigration of non-Muslims from Turkey". Ethnic and Racial Studies. London and New York: Routledge. 31 (2): 358–389. doi:10.1080/01419870701491937. ISSN 1466-4356. OCLC 40348219. S2CID 143541451. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 25, 2020. สืบค้นเมื่อ August 2, 2020 – โดยทาง Academia.edu.
  7. Morris, Benny; Ze'evi, Dror (4 November 2021). "Then Came the Chance the Turks Have Been Waiting For: To Get Rid of Christians Once and for All". Haaretz. Tel Aviv. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 November 2021. สืบค้นเมื่อ 5 November 2021.
  8. Morris, Benny; Ze'evi, Dror (2019). The Thirty-Year Genocide: Turkey's Destruction of Its Christian Minorities, 1894–1924. Cambridge, Massachusetts: Harvard University Press. pp. 3–5. ISBN 978-0-674-24008-7.
  9. Roshwald, Aviel (2013). "Part II. The Emergence of Nationalism: Politics and Power – Nationalism in the Middle East, 1876–1945". ใน Breuilly, John (บ.ก.). The Oxford Handbook of the History of Nationalism. Oxford and New York: Oxford University Press. pp. 220–241. doi:10.1093/oxfordhb/9780199209194.013.0011. ISBN 9780191750304. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 15, 2023. สืบค้นเมื่อ January 2, 2023.
  10. Chapter: The refugees question in Greece (1821–1930) in "Θέματα Νεοελληνικής Ιστορίας", ΟΕΔΒ ("Topics from Modern Greek History"). 8th edition (PDF), Nikolaos Andriotis, 2008
  11. Quarterly, Middle East (2001). "Editors' Introduction: Why a Special Issue?: Disappearing Christians of the Middle East" (PDF). Middle East Quarterly. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 11, 2013. สืบค้นเมื่อ 11 June 2013.
  12. "Christian persecution - Turkey". www.opendoorsusa.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 7, 2015. สืบค้นเมื่อ 2021-01-28.
  13. "Global Christianity – A Report on the Size and Distribution of the World's Christian Population" (PDF). Pew Research Center. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ February 1, 2021. สืบค้นเมื่อ June 2, 2022.
  14. 14.0 14.1 "Foreign Ministry: 89,000 minorities live in Turkey". Today's Zaman. December 15, 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 20, 2011. สืบค้นเมื่อ May 16, 2011.
  15. "Türkiye'de ortaya çıkan Rum Ortodoks Kilisesi kim veya nedir?". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 9, 2021. สืบค้นเมื่อ January 2, 2023.
  16. "Türkiye'nin din haritası çizildi". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 2, 2023. สืบค้นเมื่อ January 2, 2023.
  17. "Statistics by Country". www.catholic-hierarchy.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ ธันวาคม 18, 2016. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 18, 2015.
  18. "Christen in der islamischen Welt – Aus Politik und Zeitgeschichte" (PDF). 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ พฤษภาคม 2, 2014. สืบค้นเมื่อ มิถุนายน 11, 2013.
  19. "2021 Country and Territory Reports". JW.ORG. 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 30, 2021. สืบค้นเมื่อ November 4, 2022.
  20. "Statistics and Church Facts | Total Church Membership". newsroom.churchofjesuschrist.org (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 28, 2019. สืบค้นเมื่อ 2021-08-24.
  21. 21.0 21.1 "Turkish Protestants still face "long path" to religious freedom". www.christiancentury.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ ตุลาคม 17, 2014. สืบค้นเมื่อ พฤศจิกายน 3, 2014.
  22. Johnstone, Patrick; Miller, Duane Alexander (2015). "Believers in Christ from a Muslim Background: A Global Census". Interdisciplinary Journal of Research on Religion. 11: 17. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ พฤศจิกายน 26, 2015. สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 20, 2015.
  23. "International Institute for Religious Freedom: Single Post". Iirf.eu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กรกฎาคม 8, 2015. สืบค้นเมื่อ สิงหาคม 11, 2015.
  24. "Life, Culture, Religion". Official Tourism Portal of Turkey. April 15, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 15, 2009. สืบค้นเมื่อ February 9, 2013.
  25. William G. Rusch (2013). The Witness of Bartholomew I, Ecumenical Patriarch. Wm. B. Eerdmans Publishing. p. 31. ISBN 978-0-8028-6717-9. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 15, 2023. สืบค้นเมื่อ July 24, 2018. Constantinople has been the seat of an archiepiscopal see since the fourth century; its ruling hierarch has had the title of"Ecumenical Patriarch" ...
  26. Erwin Fahlbusch; Geoffrey William Bromiley (2001). The Encyclopedia of Christianity. Wm. B. Eerdmans Publishing. p. 40. ISBN 978-90-04-11695-5. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 15, 2023. สืบค้นเมื่อ July 24, 2018. The Ecumenical Patriarchate of Constantinople is the ranking church within the communion of ... Between the 4th and 15th centuries, the activities of the patriarchate took place within the context of an empire that not only was ...

อ่านเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]