ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มะเร็งกล่องเสียง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
MuanN (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
'''มะเร็งกล่องเสียง''' () เป็นของ squamous cell ซึ่งเป็นเซลล์ในร่างกายอย่างหนึ่งในสามอย่าง
{{Infobox medical condition
โดยมะเร็งอาจเกิดที่ส่วนไหนก็ได้ของ และความสำเร็จในการรักษาจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งของมะเร็ง
| Name = มะเร็งกล่องเสียง<br />(Laryngeal cancer)
ในการจัดระยะโรค กล่องเสียงจะแบ่งตามออกเป็น 3 ส่วนคือ
| synonyms = cancer of the larynx, laryngeal carcinoma
| Image = Tumor Laryngis-01.jpg
| Caption = ภาพส่องกล้องของมะเร็งกล่องเสียง
| field = [[วิทยามะเร็ง]]
| ICD10 = {{ICD10 |C|32|c|30}}
| ICD9 = {{ICD9 |161}}
| MeshID = D007822
}}
<!-- บทอื่น ๆ ที่เปลี่ยนทางมายังบทความนี้:
มะเร็งกล่องเสียง
Laryngeal cancer, cancer of the larynx, laryngeal carcinoma
-->
'''มะเร็งกล่องเสียง''' ({{lang-en |laryngeal cancer, cancer of the larynx, laryngeal carcinoma}}) เป็น[[มะเร็ง]]ของ squamous cell ซึ่งเป็นเซลล์[[เยื่อบุผิว]]ในร่างกายอย่างหนึ่งในสามอย่าง<!--*** เริ่มเชิงอรรถ ***-->{{Efn-ua |
เยื่อบุผิวมีเซลล์รูปร่างต่าง ๆ โดยหลัก 3 อย่าง คือ squamous cell, columnar cell, และ cuboidal cell
}}<!--*** จบเชิงอรรถ ***-->
โดยมะเร็งอาจเกิดที่ส่วนไหนก็ได้ของ[[กล่องเสียง]] และความสำเร็จในการรักษาจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งของมะเร็ง
ในการจัดระยะโรค กล่องเสียงจะแบ่งตาม[[กายวิภาค]]ออกเป็น 3 ส่วนคือ
* ชุดสายเสียง (glottis) รวมสายเสียงแท้ แนวเชื่อม (commissure) ทั้งด้านหน้าด้านหลัง
* ชุดสายเสียง (glottis) รวมสายเสียงแท้ แนวเชื่อม (commissure) ทั้งด้านหน้าด้านหลัง
* เหนือชุดสายเสียง (supraglottis) รวมทั้ง[[ฝากล่องเสียง]], arytenoids, aryepiglottic folds, และสายเสียงไม่แท้
* เหนือชุดสายเสียง (supraglottis) รวมทั้ง, arytenoids, aryepiglottic folds, และสายเสียงไม่แท้
* ใต้ชุดสายเสียง (subglottis)
* ใต้ชุดสายเสียง (subglottis)


บรรทัด 25: บรรทัด 9:
ตามด้วยมะเร็งเหนือชุดสายเสียง และท้ายสุด มะเร็งใต้ชุดสายเสียง
ตามด้วยมะเร็งเหนือชุดสายเสียง และท้ายสุด มะเร็งใต้ชุดสายเสียง


มะเร็งกล่องเสียงอาจกระจายต่อไปยังโครงสร้างใกล้ ๆ [[แพร่กระจาย]]ไปยัง[[ต่อมน้ำเหลือง]]ใกล้ ๆ ที่[[คอ]] หรือแพร่กระจายตาม[[กระแสเลือด]]ไปที่ไกล ๆ
มะเร็งกล่องเสียงอาจกระจายต่อไปยังโครงสร้างใกล้ ๆ ไปยังใกล้ ๆ ที่ หรือแพร่กระจายตามไปที่ไกล ๆ
การแพร่กระจายแบบไกลไปยัง[[ปอด]]จะสามัญที่สุด
การแพร่กระจายแบบไกลไปยังจะสามัญที่สุด
ในปี 2013 มันทำให้คนไข้เสียชีวิต 88,000 รายโดยเพิ่มจาก 76,000 รายในปี 1990<ref name=GBD2013>{{cite journal | vauthors = Naghavi M, Wang H, Lozano R, Davis A, Liang X, Zhou M, etal | collaboration = GBD 2013 Mortality and Causes of Death Collaborators | title = Global, regional, and national age-sex specific all-cause and cause-specific mortality for 240 causes of death, 1990–2013: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2013 | journal = Lancet | volume = 385 | issue = 9963 | pages = 117–171 | date = January 2015 | pmid = 25530442 | pmc = 4340604 | doi = 10.1016/S0140-6736(14)61682-2 }}</ref> อัตราการรอดชีวิตหลัง 5 ปีใน[[สหรัฐ]]อยู่ที่ 60%<ref>{{cite web | title = SEER Stat Fact Sheets: Larynx Cancer | url = http://seer.cancer.gov/statfacts/html/laryn.html | website = NCI | accessdate = 2014-06-18}}</ref>
ในปี 2013 มันทำให้คนไข้เสียชีวิต 88,000 รายโดยเพิ่มจาก 76,000 รายในปี 1990 อัตราการรอดชีวิตหลัง 5 ปีในอยู่ที่ 60%
{{toclimit |3}}

== อาการ ==
== อาการ ==
อาการของมะเร็งกล่องเสียงจะขึ้นอยู่กับขนาดและตำแหน่งของก้อนมะเร็ง อาการอาจรวม<ref>
อาการของมะเร็งกล่องเสียงจะขึ้นอยู่กับขนาดและตำแหน่งของก้อนมะเร็ง อาการอาจรวม<ref>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:50, 22 พฤศจิกายน 2565

มะเร็งกล่องเสียง () เป็นของ squamous cell ซึ่งเป็นเซลล์ในร่างกายอย่างหนึ่งในสามอย่าง โดยมะเร็งอาจเกิดที่ส่วนไหนก็ได้ของ และความสำเร็จในการรักษาจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งของมะเร็ง ในการจัดระยะโรค กล่องเสียงจะแบ่งตามออกเป็น 3 ส่วนคือ

  • ชุดสายเสียง (glottis) รวมสายเสียงแท้ แนวเชื่อม (commissure) ทั้งด้านหน้าด้านหลัง
  • เหนือชุดสายเสียง (supraglottis) รวมทั้ง, arytenoids, aryepiglottic folds, และสายเสียงไม่แท้
  • ใต้ชุดสายเสียง (subglottis)

มะเร็งกล่องเสียงโดยมากจะเกิดที่ชุดสายเสียง ตามด้วยมะเร็งเหนือชุดสายเสียง และท้ายสุด มะเร็งใต้ชุดสายเสียง

มะเร็งกล่องเสียงอาจกระจายต่อไปยังโครงสร้างใกล้ ๆ ชไปยังใกล้ ๆ ที่ หรือแพร่กระจายตามไปที่ไกล ๆ การแพร่กระจายแบบไกลไปยังจะสามัญที่สุด ในปี 2013 มันทำให้คนไข้เสียชีวิต 88,000 รายโดยเพิ่มจาก 76,000 รายในปี 1990 อัตราการรอดชีวิตหลัง 5 ปีในอยู่ที่ 60%

อาการ

อาการของมะเร็งกล่องเสียงจะขึ้นอยู่กับขนาดและตำแหน่งของก้อนมะเร็ง อาการอาจรวม[1][2]

  • เสียงแหบและการเปลี่ยนแปลงเสียงอื่น ๆ
  • มีก้อนที่คอ
  • เจ็บคอหรือรู้สึกว่ามีอะไรติดอยู่ที่คอ
  • ไอเรื้อรัง
  • หายใจมีเสียงฮื๊ดเป็นเสียงแหลมที่แสดงว่า ทางเดินลมแคบลงหรือถูกขัดขวาง
  • ลมหายใจเหม็น
  • เจ็บหู (เป็นอาการปวดต่างที่)
  • กลืนลำบาก

การรักษาอาจทำให้ลักษณะภายนอกเปลี่ยนไปในภายหลัง ทานอาหารลำบาก และไม่มีเสียงซึ่งทำให้ต้องหัดพูดโดยวิธีอื่น[3]

ปัจจัยเสี่ยง

การสูบบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่สุดสำหรับโรคนี้ ผู้สูบบุหรี่จัดมีโอกาสเสียชีวิตเพราะโรค 20 เท่าเทียบกับผู้ไม่สูบบุหรี่[4] การติดสุราก็มีผลสำคัญ และถ้ามีปัจจัยทั้งสอง ก็อาจจะเพิ่มความเสี่ยงยิ่งกว่าถ้าเพียงแค่ทั้งสองร่วมกัน และปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่อ้างจริง ๆ ก็อาจเนื่องกับการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่เป็นระยะยาว รวมทั้งทางฐานะทางสังคม-เศรษฐกิจต่ำ เพศชาย และอายุมากกว่า 55 ปี

ผู้ที่มีประวัติมะเร็งที่ศีรษะและคอก็มีความเสี่ยงสูงกว่า (ประมาณ 25%) ในการมีมะเร็งอีกที่ศีรษะ คอ หรือปอด โดยหลักก็เพราะในคนไข้โดยมาก เนื้อเยื่อบุผิวของทางเดินอาหาร-ลมหายใจและของปอดจะได้รับผลก่อมะเร็งของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่อย่างต่อเนื่อง ในกรณีนี้ เนื้อเยื่อบุผิวอาจจะเจริญผิดปกติ (dysplasia) อย่างกระจายไปทั่ว ทำให้อ่อนแอในการเปลี่ยนแปลงเป็นเนื้อร้าย แต่ก็อาจลดความเสี่ยงนี้ได้โดยหยุดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และหยุดสูบบุหรี่

การวินิจฉัย

แพทย์จะวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้อาศัยประวัติคนไข้ การตรวจร่างกาย และวิธีการตรวจอื่น ๆ รวมทั้งเอ็กซ์เรย์หน้าอก เอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์ เอ็มอาร์ไอ และการตัดเนื้อออกตรวจ การตรวจกล่องเสียงอาจต้องอาศัยแพทย์เฉพาะทาง

การตรวจร่างกายรวมการตรวจสุขภาพโดยทั่วไปและการสืบหาสภาพต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กับโรคและมะเร็งที่ได้กระจายแล้ว แพทย์จะคลำคอเหนือกระดูกไหปลาร้าเพื่อตรวจโรคต่อม ก้อนอื่น ๆ และเสียงกรอบแกรบที่กล่องเสียง ส่องดูช่องปากและคอหอยที่มองเห็นได้โดยตรง ส่วนกล่องเสียงสามารถส่องดูโดยใช้กระจกเล็ก ๆ ที่ติดเป็นมุมกับด้ามยาว (indirect laryngoscopy) คล้ายกับที่ทันตแพทย์ใช้บวกกับแสงสว่าง ซึ่งสามารถมีประสิทธิผลดี แต่แพทย์จะต้องมีฝีมือเพื่อให้ได้ผลที่คงเส้นคงวา เพราะเหตุนี้ แพทย์เฉพาะทางจำนวนหนึ่งปัจจุบันจึงใช้กล้องส่องติดเส้นใยนำแสงชนิดอ่อนงอได้ ซึ่งสอดผ่านจมูกเพื่อให้เห็นคอหอยและกล่องเสียงได้อย่างชัดเจน เป็นหัตถการที่ทำได้ง่ายและเร็วในห้องตรวจ โดยอาจใช้ยาชาเฉพาะที่

ถ้าแพทย์สงสัยว่าอาจมีมะเร็ง ก็จะต้องตัดเนื้อออกตรวจ โดยปกติจะให้ยาสลบ ซึ่งจะเป็นข้อยืนยันทางมิญชวิทยาว่า เป็นมะเร็งประเภทใดและเป็นแค่ไหน และถ้ารอยโรคดูจะเล็กและอยู่เฉพาะที่ แพทย์อาจจะตัดเนื้องอกทั้งหมดออกเมื่อตัดเนื้อออกตรวจในคราวเดียวกัน ในกรณีนี้ พยาธิแพทย์จะไม่เพียงแต่ยืนยันวินิจฉัย แต่สามารถแสดงความเห็นว่า ได้ตัดเนื้องอกออกทั้งหมดแล้วหรือไม่ ในช่วงตัดเนื้องอกออกตรวจ บ่อยครั้งแพทย์จะส่องดูกล่องเสียง ท่อลม และหลอดอาหารทั้งหมด

สำหรับเนื้องอกเล็ก ๆ ที่กล่องเสียง การส่องดูอีกอาจไม่จำเป็น ในกรณีโดยมาก การตรวจระยะของมะเร็งจะทำโดยตรวจดูบริเวณศีรษะและคอทั้งหมด เพื่อดูขนาดของเนื้องอกและต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอที่โตขึ้นผิดปกติ

แผนการรักษาขั้นสุดท้ายจะขึ้นอยู่กับตำแหน่ง ระยะ (ขนาดเนื้องอก การแพร่กระจายทั้งไกลและใกล้) และประเภทเนื้อเยื่อ โดยพิจารณาสุขภาพและความต้องการของคนไข้ด้วย การแยกแยะโรคแบบ prognostic multigene classifier อาจมีประโยชน์เพื่อแยกแยะมะเร็งกล่องเสียงว่า มีโอกาสเกิดอีกมากหรือน้อย ซึ่งอาจมีผลต่อทางเลือกในการรักษาในอนาคต[5]

ระยะ

เนื้องอกเนื้อเยื่อบุผิวอาจจัดระยะตามแนวทางขององค์กรสหภาพเพื่อควบคุมมะเร็งสากล (UICC)[6] โดยมีเกณฑ์ 3 อย่างคือ ขนาด (T) การแพร่กระจายเฉพาะพื้นที่ (N) และการแพร่กระจายไปในที่ไกล ๆ (M)

ขนาด: T

หมวดนี้พิจารณาขนาดของก้อนเนื้องอกหลัก

เหนือชุดสายเสียง
  • T1 - มีเนื้องอกข้างหนึ่งเหนือชุดสายเสียงโดยสายเสียงยังขยับได้ปกติ
  • T2 - เนื้องอกที่สายเสียงโดยยังไม่ยึดกับกล่องเสียง
  • T3 - เนื้องอกที่กล่องเสียงโดยยึดกับสายเสียง และ/หรือการกระจายเข้าไปยัง postcricoid area ไปยังเนื้อเยื่อก่อนฝากล่องเสียง (preepiglottic) หรือกินเข้าไปในกระดูกอ่อนไทรอยด์
  • T4
    • a - กระจายผ่านกระดูกอ่อนไทรอยด์เข้าไปยังท่อลมและเนื้อเยื่ออ่อนที่คอ/ลิ้น
    • b - กระจายเข้าไปในช่องหน้ากระดูกสันหลัง ไปยังโครงสร้างตรงกลาง หรือไปยังหลอดเลือดแดงแครอทิด
ที่ชุดสายเสียง
  • T1 - สายเสียงยังขยับได้ตามปกติ
    • a - เนื้องอกที่สายเสียงเดียว
    • b - เนื้องอกที่สายเสียงทั้งสอง
  • T2 - เนื้องอกขึ้นไปเหนือหรือใต้ชุดสายเสียง และ/หรือขยับสายเสียงได้อย่างพิการ
  • T3 - เนื้องอกที่กล่องเสียงโดยยึดกับสายเสียง หรือยื่นเข้าไปในช่องข้าง ๆ สายเสียง หรือกินเข้าไปในกระดูกอ่อนไทรอยด์
  • T4
    • a - กระจายผ่านกระดูกอ่อนไทรอยด์เข้าไปยังท่อลมและเนื้อเยื่ออ่อนที่คอ/ลิ้น
    • b - กระจายเข้าไปในช่องหน้ากระดูกสันหลัง ไปยังโครงสร้างตรงกลาง หรือไปยังหลอดเลือดแดงแครอทิด
ใต้ชุดสายเสียง

มีน้อย

การแพร่กระจายเฉพาะพื้นที่ (N)

หมวดนี้พิจารณาการแพร่กระจายเข้าไปในต่อมน้ำเหลืองที่คอใกล้ ๆ กำหนดโดยเส้นผ่าศูนย์กลางที่กว้างสุด

  • N0 - ไม่แพร่กระจาย
  • N1 - แพร่กระจายเข้าไปยังต่อมน้ำเหลืองข้างเดียวกันต่อมเดียวโดยมีขนาด ≤ 3 ซม.
  • N2
    • a - แพร่กระจายเข้าไปยังต่อมน้ำเหลืองข้างเดียวกันต่อมเดียวโดยมีขนาด > 3 ซม. และ ≤ 6 ซม.
    • b - แพร่กระจายเข้าไปยังต่อมน้ำเหลืองข้างเดียวกันหลายต่อมโดยมีขนาด ≤ 6 ซม.
    • c - แพร่กระจายเข้าไปยังต่อมน้ำเหลืองทั้งสองข้างหรือในข้างตรงกันข้ามโดยมีขนาด ≤ 6 ซม.
  • N3 - แพร่กระจายเข้าไปยังต่อมน้ำเหลืองโดยมีขนาด > 6 ซม.

การแพร่กระจายไปในที่ไกล ๆ (M)

หมวดนี้พิจารณาระยะการแพร่กระจายจากเนื้องอกหลัก

  • M0 - แพร่กระจายไปที่ใกล้ ๆ
  • M1 - แพร่กระจายไปที่ไกล

การรักษา

การรักษาจะขึ้นอยู่กับตำแหน่ง ชนิด และระยะของเนื้องอก ซึ่งอาจรวมการผ่าตัด รังสีบำบัด หรือเคมีบำบัด ไม่ว่าจะเดี่ยว ๆ หรือร่วมกัน ซึ่งอาจต้องอาศัยแพทย์เฉพาะทางด้านต่าง ๆ รวมทั้งหมอหูคอจมูกและหมอโรคมะเร็ง คนไข้ที่มีอาการรุนแรงอาจต้องตัดกล่องเสียง ไม่ว่าจะเป็นบางส่วนหรือทั้งหมด[7]

ในสหรัฐอเมริกา

อุบัติการณ์ของโรคในสหรัฐอยู่ที่ 5 รายต่อประชากรแสนคน หรือมีคนไข้ใหม่ 12,500 คนทุกปี[8] สมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา (ACS) ประเมินว่าชาย 7,700 คนและหญิง 1,810 คน (รวม 9,510 คน) จะได้วินิจฉัยว่าเป็นโรค และ 3,740 คนจะเสียชีวิตเพราะโรคในปี 2006

สถาบันสุขภาพแห่งชาติ (สหรัฐอเมริกา) (NIH) จัดมะเร็งกล่องเสียงว่าเป็นโรคที่มีน้อย คือมีประชากรน้อยกว่า 200,000 คนที่เป็นโรคในสหรัฐ[9]

เชิงอรรถ

อ้างอิง

  1. "Laryngeal cancer". Mount Sinai Hospital. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-09.
  2. DeVita, Vincent (Jr.) T; Lawrence, Theodore S; Rosenberg, Steven A, บ.ก. (2014). DeVita, Hellman, and Rosenberg's Cancer: Principles & Practice of Oncology (10th ed.). ISBN 9781451192940.
  3. "Cancer of the Larynx - Causes, Symptoms, Treatment, Diagnosis - MedBroadcast.com" (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-01-25.
  4. Ridge, JA; Glisson, BS; Lango, MN; และคณะ (2008). Pazdur, R; Wagman, LD; Camphausen, KA; Hoskins, WJ (บ.ก.). Head and Neck Tumors. Cancer Management: A Multidisciplinary Approach (11th ed.). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-20. สืบค้นเมื่อ 2018-08-28.
  5. Mirisola, V; Mora, R; Esposito, AI; Guastini, L; Tabacchiera, F; Paleari, L; Amaro, A; Angelini, G; Dellepiane, M; Pfeffer, U; Salami, A (August 2011). "A prognostic multigene classifier for squamous cell carcinomas of the larynx". Cancer Letters. 307 (1): 37–46. doi:10.1016/j.canlet.2011.03.013. PMID 21481529.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  6. "Staging of laryngeal cancer". oncolex.org. สืบค้นเมื่อ 2018-01-25.
  7. "Cancer - throat or larynx". MedlinePlus Medical Encyclopedia.
  8. Samuel W. Beenken, MD. "Laryngeal Cancer (Cancer of the larynx)". Laryngeal Cancer (Cancer of the larynx). Armenian Health Network, Health.am. สืบค้นเมื่อ 2007-03-22.
  9. "Annual Report on the Rare Diseases and Conditions Research". National Institutes of Health. สืบค้นเมื่อ 2007-03-22.

แหล่งข้อมูลอื่น