ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไคโรแพรกติก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Thastp (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: {{กำลังปรับปรุง}} {{กล่องข้อมูล การแพทย์ทางเลือก | name = ไคโรแพรกติก | image = File:Kiropraktisk ledd-korreksjon av rygg.jpg | image_size = | alt = นักไคโรแพรกติกกำลังจัดกระดูกสันหลัง | caption = นักไคโรแพรกติกกำลังจัดกร...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:58, 11 พฤศจิกายน 2565

ไคโรแพรกติก
การแพทย์ทางเลือก
นักไคโรแพรกติกกำลังจัดกระดูกสันหลัง
นักไคโรแพรกติกกำลังจัดกระดูกสันหลัง
ข้อกล่าวอ้างภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อน,
การจัดกระดูกสันหลัง,
เชาวน์ปัญญาโดยกำเนิด
ความเสี่ยงการฉีกเซาะของผนังหลอดเลือดแดงเวอร์ทีบรอล (สโตรก),
กระดูกสันหลังหักเหตุอัด (vertebral compression fracture),
ความตาย
สาขาวิชาที่เกี่ยวข้องออสทีโอพาธี, ชีวิตนิยม
ผู้สนับสนุนดั้งเดิมแดเนียล เดวิด พาลเมอร์ (Daniel David Palmer)
ผู้สนับสนุนต่อมาบี. เจ. พาลเมอร์ (B. J. Palmer)
MeSHD002684

ไคโรแพรกติก หรืออาจเรียกว่า การนวดจัดกระดูก หรือ การจัดกระดูก เป็นการแพทย์ทางเลือกรูปแบบหนึ่ง[1] ซึ่งสนใจถึงการวินิจฉัย การรักษา และการป้องกันความผิดปกติเชิงกล (physical disorder) ในระบบกล้ามเนื้อและโครงกระดูกมนุษย์ (Human musculoskeletal system) โดยเฉพาะในกระดูกสันหลัง[2] การแพทย์ทางเลือกนี้มีต้นกำเนิดแบบคุยหลัทธิตะวันตก (Western esotericism)[3] และมีรากฐานอยู่บนหลายแนวคิดที่เป็นแนววิทยาศาสตร์เทียม[4]

นักไคโรแพรกติก[5] หลายคนโดยเฉพาะในประวัติศาสตร์เริ่มแรกของการแพทย์ทางเลือกสาขานี้ เสนอว่าความผิดปกติเชิงกลของข้อต่อโดยเฉพาะที่อยู่ในกระดูกสันหลังสามารถส่งผลต่อสุขภาพทั่วไป[2] และการจัดดัดดึงกระดูกสันหลังทั่วไป (Spinal manipulation) (การจัดกระดูกสันหลัง (spinal adjustment)) สามารถส่งเสริมสุขภาพทั่วไปได้ กลวิธีการรักษาแบบไคโรแพรกติก (Chiropractic treatment techniques) หลัก ๆ แล้วประกอบด้วยการบำบัดด้วยมือ (manual therapy) โดยเฉพาะการจัดดัดดึงกระดูดสันหลัง ข้อต่ออื่น ๆ และเนื้อเยื่ออ่อน (soft tissue) แต่ก็อาจรวมถึงการออกกำลังกายและการให้คำปรึกษาเรื่องวิถีชีวิตและสุขภาพด้วย[6] นักไคโรแพรกติกอาจถือใบปริญญาดอกเตอร์อ็อฟไคโรแพรกติด (D.C.) และอาจถูกเรียกว่า "แพทย์" แต่มิใช่แพทยศาสตรบัณฑิต (M.D.)[7][8] ในขณะที่นักไคโรแพรกติดหลายคนมองตนเองเป็นผู้ให้บริการปฐมภูมิ (primary care)[9][10] การฝึกทักษะทางคลินิกสำหรับไคโรแพรกติกไม่สนองกับข้อกำหนดสำหรับตำแหน่งนั้น[2]

การปริทัศน์เป็นระบบของการศึกษาทางคลินิกควบคุมถึงวิธีการรักษาที่นักไคโรแพรกติกใช้ไม่พบหลักฐานว่าการจัดกระดูกสันหลังแบบไคโรแพรกติกมีประสิทธิศักย์ (efficacy) โดยอาจมีข้อยกเว้นสำหรับการรักษาอาการปวดหลัง[9] การประเมินเชิงวิพากษ์ของการปริทัศน์เป็นระบบจำนวน 45 ฉบับใน ค.ศ. 2011 พบว่าการจัดกระดูกสันหลังไม่มีประสิทธิผลในการรักษาอาการใด ๆ[11] การจัดกระดูกสันหลังอาจมีประสิทธิผลต่อต้นทุน (Cost-effectiveness analysis) สำหรับอาการปวดหลังเรื้อรังหรือกึ่งเฉียบพลัน แต่ผลลัพธ์สำหรับอาการปวดหลังเฉียบพลันมีไม่เพียงพอ[12] ไม่มีหลักฐานที่น่าเชื่อถือที่ชี้ว่าการดูแลแบบไคโรแพรกติกเพื่อบำรุงรักษาสามารถป้องกันอาหารหรือโรคใด ๆ ได้อย่างเพียงพอ[13]

อ้างอิง

  1. Chapman-Smith DA, Cleveland CS III (2005). "International status, standards, and education of the chiropractic profession". ใน Haldeman S, Dagenais S, Budgell B, และคณะ (บ.ก.). Principles and Practice of Chiropractic (3rd ed.). McGraw-Hill. pp. 111–34. ISBN 978-0-07-137534-4.
  2. 2.0 2.1 2.2 Nelson CF, Lawrence DJ, Triano JJ, Bronfort G, Perle SM, Metz RD, Hegetschweiler K, LaBrot T (2005). "Chiropractic as spine care: a model for the profession". Chiropractic & Osteopathy. 13 (1): 9. doi:10.1186/1746-1340-13-9. PMC 1185558. PMID 16000175.
  3. Swanson ES (2015). "Pseudoscience". Science and Society: Understanding Scientific Methodology, Energy, Climate, and Sustainability. Springer. p. 65. ISBN 978-3-319-21987-5.
  4. สำหรับคำอธิบายเกี่ยวกับคำบรรยายถึงไคโรแพรกติกว่าเป็นวิทยาศาสตร์เทียม ดูที่:
  5. เสก อักษรานุเคราะห์ (มีนาคม–เมษายน 2010). "มารู้จักหมอไคโรแพรกติกกันเถอะ (บทบรรณาธิการ)" (PDF). Chulalongkorn Medical Journal. 54 (2): 99. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 18 กรกฎาคม 2020. นักกายภาพบําบัด นักกิจกรรมบําบัด ทั้งในไทยและต่างประเทศ ก็เป็นระดับปริญญาตรี เรียน แค่ 4 ปีเท่ากัน แต่เขาไม่ได้ตั้งชื่อปริญญาว่า Doctor of Physical Therapy หรือ Doctor of Occupational Therapy เขาจึงเรียกตัวเขาเองว่า นักกายภาพบําบัด และนักกิจกรรมบําบัด ฉะนั้น Doctor of chiropractic ถ้าจะเรียกแบบไทย ๆ ก็ต้องเป็นเพียงนักไคโรแพรกติก ไม่ใช่หมอ ไม่ใช่ แพทย์{{cite journal}}: CS1 maint: date format (ลิงก์)
  6. Mootz RD, Shekelle PG (1997). "Content of practice". ใน Cherkin DC, Mootz RD (บ.ก.). Chiropractic in the United States: Training, Practice, and Research. Rockville, MD: Agency for Health Care Policy and Research. pp. 67–91. OCLC 39856366. AHCPR Pub No. 98-N002.
  7. "The DC as PCP? Drug Wars Resume – Science-Based Medicine". sciencebasedmedicine.org. 18 ธันวาคม 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 ธันวาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2020.
  8. Bellamy, Jann (20 ธันวาคม 2018). "Legislative Alchemy 2018: Chiropractors rebranding as primary care physicians continues". sciencebasedmedicine.org (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 ธันวาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2019.
  9. 9.0 9.1 Ernst E (พฤษภาคม 2008). "Chiropractic: a critical evaluation". Journal of Pain and Symptom Management. 35 (5): 544–62. doi:10.1016/j.jpainsymman.2007.07.004. PMID 18280103.
  10. Cooper RA, McKee HJ (2003). "Chiropractic in the United States: trends and issues". Milbank Quarterly. 81 (1): 107–38, table of contents. doi:10.1111/1468-0009.00040. PMC 2690192. PMID 12669653.
  11. Posadzki P, Ernst E (2011). "Spinal manipulation: an update of a systematic review of systematic reviews". The New Zealand Medical Journal. 124 (1340): 55–71. PMID 21952385.
  12. Lin CW, Haas M, Maher CG, Machado LA, van Tulder MW (2011). "Cost-effectiveness of guideline-endorsed treatments for low back pain: a systematic review". European Spine Journal. 20 (7): 1024–1038. doi:10.1007/s00586-010-1676-3. PMC 3176706. PMID 21229367.
  13. Ernst E (2009). "Chiropractic maintenance treatment, a useful preventative approach?". Preventive Medicine. 49 (2–3): 99–100. doi:10.1016/j.ypmed.2009.05.004. PMID 19465044.

อ่านเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น