ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มิลิตซา รากิช"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Chainwit. (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: {{Infobox person | name = มีลีซา รากิช | image = Fotografija Milice Rakić na njenom gorbu u Batajnici.JPG | caption = | birth_date = {{birth date|1996|01|09|df=yes}} | birth_place = เบลเกรด สหพันธรัฐยูโกสลาเวีย | death_date = {{death date and age|1999|04|17|1996|01|09|df=yes}} | death_place = เบลเกรด | re...
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:34, 16 กันยายน 2565

มีลีซา รากิช
เกิด09 มกราคม ค.ศ. 1996(1996-01-09)
เบลเกรด สหพันธรัฐยูโกสลาเวีย
เสียชีวิต17 เมษายน ค.ศ. 1999(1999-04-17) (3 ปี)
เบลเกรด
พลเมืองยูโกสลาฟ
มีชื่อเสียงจากเด็กที่เสียชีวิตใสการทิ้งระเบิดยูโกสลาเวียโดยเนโต

มีลีซา รากิช (ซีริลลิกเซอร์เบีย: Милица Ракић, Milica Rakić, 9 มกราคม 1996 – 17 เมษายน 1999) เป็นเด็กหญิงอายุสามขวบที่เสียชีวิตจากระเบิดลูกปรายในเบลเกรดระหว่างเนโตทิ้งระเบิดในยูโกสลาเวีย

ชีวประวัติ

มีลีซา รากิช เกิดในเบลเกรด เมื่อวันที่ 9 มกราคม 1996[1] บิดามารดาชื่อว่าชาร์โก และ ดูชีซา รากิช (Žarko and Dušica Rakić) เธอมีพี่ชายหนึ่งคน ชื่ออาเล็กซา (Aleksa)[2]

ในเวลา 21:30  ถึง 22:00 น. ของวันที่ 17 เมษายน 1999 รากิชวัยสามขวบถูกสะเก็ดระเบิดจากระเบิดลูกปรายขณะอยู่ในห้องน้ำ บนชั้นสองของอะพาร์ตเมนต์ที่ตั้งอยูที่เลขที่ 8 ถนนดีมีตรีเย ลาซาเรวาราเซ (Dimitrije Lazareva-Rase Street) ในย่านชานเมืองบาตัยนีซา ของเบลเกรด[3] บ้านของเธอตั้งอยู่ที่ระยะห่าง 1 กิโลเมตร (0.62 ไมล์) จากฐานทัพอากาศบาตัยนีซา ซึ่งเป็นเป้าโจมตีหลายต่อหลายครั้งโดยเนโตในการทิ้งระเบิดในยูโกสลาเวียซึ่งดำเนินไประหว่างเดือนมีนาคมถึงมิถุนายน 1999[4] รากิชเสียชีวิตทันที ขณะที่ยังคงนั่งอยูบรโถส้วมสำหรับเด็ก[5] ในการโจมตีครั้งเดียวกันนี้มีพลเมืองได้รับบาดเจ็บอีกห้าคน[6]

พิธีศพของเธอจัดขึ้นในวันที่ 19 เมษายน[2] ในวันเดียวกัน รัญมนตรีกระทรวงข้อมูลข่าวสาร มีลัน กอมเนนิช เผยแพร่แถลงการณ์ระบุว่าเธอเสียชีวิตจาก "พวกเนโตขี้ขลาด" ("NATO cowards")[7]

สิ่งสืบเนื่อง

อนุสรณ์ระลึกถึงเด็กและเยาวชนที่เสียชีวิตจากการทิ้งระเบิดของเนโต ตั้งอยู่ที่สวนตัชมัยดัน ประติมากรรมบรอนซ์แสดงรูปของรากิช

รากิชเป็นหนึ่งในเด็กทั้งหมด 89 คนที่เสียชีวิตจากการทิ้งระเบิดของเนโต ตามที่นายกรัฐมนตรีเซอร์เบีน มีร์โก ซเวตโกวิชกล่าวอ้าง[8] การเสียชีวิตของรากิชได้รับความสนใจและรายงานอย่างมากโดยสื่อของเซอร์เบีย[9] ในทางกลับกัน เรื่องราวของเธอแทบไม่ได้รับการรายงานในสื่อข่าวของตะวันตกเลย[10] ในรายงานการทิ้งระเบิดในยูโกสลาเวียของเนโตฉบับสุดท้าย ยังไม่มีการระบุถึงการเสียชีวิตของรากิช แม้แต่ในหมวดหมู่ "เหตุการณ์พิเศษ" ("special incidents")[11] ผู้ตรวจการจากฮิวแมนไรตส์วอตช์ (HRW) ได้เดินทางไปเยี่ยมจุดที่เธอเสียชีวิตในวันที่ 7 สิงหาคม 1999 และตรวจสอบความเสียหาย รวมถึงสัมภาษณ์ผู้เห็นเหตุการณ์ รายงานโดยผู้ตรวจการของ HRW ระบุว่าระเบิดลูกปรายถูกทิ้งระเบิดลงข้างกับอะพาร์ตเมนต์ที่รากิชแาศัยอยู่[3] เหตุการณ์นี้เป็นครั้งแรกที่มีรายงานยืนยันว่าเนโตใช้ระเบิดลูกปรายในเซอร์เบีย ก่อนหน้านี้มีเพียงบันทึกการใช้ระเบิดลูกปรายแค่ในคอซอวอเท่านั้น[4] กระทรวงสาธารณสุขของยูโกสลาเวียยังมอบภาพถ่ายของเหตุการณ์ให้แก่ HRW ซึ่งต่อมาไปปรากฏอยู่ในหนังสือ White Book of NATO Crimes in Yugoslavia (หนังสือเล่มขาวว่าด้วยอาชญากรรมของเนโตในยูโกสลาเวีย) ที่เผยแพร่โดยรัฐบาลยูโกสลาเวีย[3]

บางภาคส่วนของสาธารณชนเซอร์เบียเรียกร้องให้คริสต์จักรออร์ทอดอกซ์เซอร์เบียประกาศรากิชให้เป็นนักบุญ[12]

ภาพเฟรสโกนวมรณสักขี มีลีซา รากิซin ในอารามเตรซิเย (Tresije monastery) ในคอสมัย

ในปี 2004 อารามตเวอร์ดอช ใกล้กับนครเตรบินเยในประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวินา เปิดตัวภาพเฟรสโกแสดงภาพรากิชประกอบจารึกเรียกให้เธอเป็นนวมรณสักขี (neomartyr) ในช่วงเดียวกัน คริสต์จักรออร์ทอดอกซ์เซอร์เบียได้ประกาศว่าจะพิจารณาประกาศให้เธอเป็นนักบุญหากคัลต์ของเธอมีผู้สนใจไปทั่ว (widespread following)[13] In 2014, a commemorative fountain was dedicated in Rakić's memory in Batajnica.[14]

อ้างอิง

  1. "List of killed, missing and disappeared 1998–2000". Humanitarian Law Center. สืบค้นเมื่อ 24 January 2020.
  2. 2.0 2.1 Ilic, Srdjan (19 April 1999). "Kosovo Crisis: The Conflict". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 24 January 2020.
  3. 3.0 3.1 3.2 Human Rights Watch (February 2000). "Civilian Deaths in the NATO Air Campaign". สืบค้นเมื่อ 24 January 2020.
  4. 4.0 4.1 Hudson, Robert C. (2007). "Lessons from Kosovo: Cluster Bombs and Their Impact Upon Post-Conflict Reconstruction and Rehabilitation". ใน Ferrándiz, Francisco; Robben, Antonius C.G.M. (บ.ก.). Multidisciplinary Perspectives on Peace and Conflict Research: A View from Europe. Bilbao, Spain: University of Deusto. p. 235. ISBN 9788498305203.
  5. Peric Zimonjic, Vesna (14 May 1999). "Yugoslavia: NATO Cluster Bombs Spray Death". Inter Press Service. สืบค้นเมื่อ 24 January 2020.
  6. Krieger, Heike (2001). The Kosovo Conflict and International Law: An Analytical Documentation 1974–1999. Cambridge, England: Cambridge University Press. p. 502. ISBN 978-0-521800-716-.
  7. Norwegian People's Aid South Eastern Europe (2007). Yellow Killers: The Impact of Cluster Munitions in Serbia and Montenegro. Oslo, Norway: Norwegian People's Aid. p. 67. OCLC 350363422.
  8. "Serbia marks bombing anniversary". BBC News. 24 March 2009. สืบค้นเมื่อ 24 January 2020.
  9. Atanasovski, Srđan (2016). "Recycled Music for Banal Nation: The Case of Serbia 1999–2010". ใน Mazierska, Ewa; Gregory, Georgina (บ.ก.). Relocating Popular Music: Pop Music, Culture and Identity. New York City: Palgrave Macmillan. p. 101, note 2. ISBN 978-1-13746-338-8.
  10. Sremac, Danielle (1999). War of Words: Washington Tackles the Yugoslav Conflict. Westport, Connecticut: Greenwood Publishing. ISBN 978-0-27596-609-6.
  11. Satjukow, Elisa (2017). ""These Days, When a Belgrader Asked, 'How are You Doing?', the Answer is, 'I'm Waiting': Everyday Life During the 1999 NATO Bombing". ใน Roth, Klaus; Kartarı, Asker (บ.ก.). Crises Related to Natural Disasters, to Spaces and Places, and to Identities. Cultures of Crisis in Southeast Europe. Münster, Germany: LIT Verlag. p. 338. ISBN 978-3-64390-791-2.
  12. Tolvaisis, Leonas (2013). "Historical Memories of Kosovo Serbs in the Post-War Period and Conflicting Serbian National Narratives About Kosovo" (PDF). Darbai Ir Dienos. Kaunas, Lithuania: Vytautas Magnus University: 215, note 13. ISSN 1392-0588.
  13. Pašić, P. (1 December 2004). "Mala Milica Rakić novi srpski svetac". Glas javnosti (ภาษาเซอร์เบีย). สืบค้นเมื่อ 28 January 2020.
  14. Čalija, Jelena (5 September 2014). "Spomen-česma za večno sećanje na Milicu Rakić". Politika (ภาษาเซอร์เบีย). สืบค้นเมื่อ 24 January 2020.