ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปาทริส ลูมูมบา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Chainwit. (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: {{Infobox officeholder | name = ปาทริส ลูมูมบา | image = Patrice Lumumba, 1960.jpg | image_size = | alt = | caption = ลูมูมบาเมื่อปี 1960 | order1 = คนที่ 1 | office1 = Prime Minister of the Democratic Republic of the Congo{{!}}นายกรัฐมนตรี<br/>สาธารณรัฐคองโก...
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:36, 21 มิถุนายน 2565

ปาทริส ลูมูมบา
ลูมูมบาเมื่อปี 1960
นายกรัฐมนตรี
สาธารณรัฐคองโก
คนที่ 1
ดำรงตำแหน่ง
24 มิถุนายน – 5 กันยายน 1960[a]
ประธานาธิบดีโจเซฟ คาซาวูบู
รองอันตอน กีเซงกา
ก่อนหน้าประเดิมตำแหน่ง
ถัดไปโจเซฟ อีเลโอ
รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม คนที่ 1
ดำรงตำแหน่ง
24 มิถุนายน – 5 กันยายน 1960
นายกรัฐมนตรีตนเอง
ก่อนหน้าประเดิมตำแหน่ง
ถัดไปเฟอร์ดีนันด์ คาซาดี[b]
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
Élias Okit'Asombo

2 กรกฎาคม ค.ศ. 1925(1925-07-02)
คาตาโคโคมเบ คองโก-คาไซ เบลเจียนคองโก[c]
เสียชีวิต17 มกราคม ค.ศ. 1961(1961-01-17) (35 ปี)
ใกล้กับเอลีซาเบธวิลล์ รัฐคาทังกา[d]
สาเหตุการเสียชีวิตถูกประหารชีวิต (ด้วยปืน)
พรรคการเมืองCongolese National Movement (MNC)
คู่สมรสพอลีน โอปังโก (สมรส 1951)

ปาทริส เอเมอรี ลูมูมบา[e] (อักษรโรมัน: Patrice Émery Lumumba, /lʊˈmʊmbə/;[2] 2 กรกฎาคม 1925 – 17 มกราคม 1961) เป็นนักการเมืองและผู้นำขบวนการเอกราชคองโก อดีต aนายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (ในเวลานั้นคือ สาธารณรัฐคองโก) ตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงกันยายน 1960 และเป็นผู้นำของขบวนการแห่งชาติชาวคองโก (MNC) นับตั้งแต่ปี 1958 จนกระทั่งเสียชีวิตในเดือนมกราคม 1961 เขาเชื่อมั่นในชาตินิยมแอฟริกา และ คติแพนแอฟริกา ลูมูมบาเป็นบุคคลที่มีบทบาทมากในการเปลี่ยนผ่านคองโกจากอาณานิคมของเบลเยียมสู่การเป็นรัฐเอกราช

ไม่นานหลังคองโกได้รับเอกราชในปี 1960 ได้เกิดกบฏขึ้นในกองทัพ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของวิกฤตการณ์คองโก ลูมูมบาได้ยื่นอุทธรณ์ต่อสหรัฐอเมริกาและสหประชาชาติให้ช่วยยับยั้งกลุ่มแบ่งแยกดินแดนคาตังกา ที่มีเบลเยียมหนุนหลัง และนำโดย โมยเซ ทชอมเบ กระนั้นคำร้องขอของลูมูมบาก็ถูกปฏิเสธเนื่องจากความแคลงใจในบรรดาโลกตะวันตกว่าลูมูบามีแนวคิดออกไปทางสนับสนุนคอมมิวนิสต์ ซึ่งยิ่งแคลงใจหนักขึ้นอีกหลังลูมูมบาหันไปหาสหภาพโซเวียตเพื่อขอความบ่วยเหลือ ซีไอเอเรียกการขอความช่วยเหลือจากโซเวียตนี้ส่า "การยึดครองโดยคอมมิวนิสต์แบบคลาสสิก"[3]

หลังลูมูมบาถูกโค่นล้มจากการรัฐประหารที่นำโดยโมบูตู เซเซ เซโก ลูมูมบามีความพยายามหลบหนีไปยังสแตนลีวิลเพื่อเข้าร่วมกัขคณะในการตั้งรัฐต่อต้านโมบูตูที่ชื่อสาธารณรัฐอิสระคองโก ลูมูมบาถูกเจ้าหน้าที่รัฐของโมบูตูจับกุมขณะพยายามหลบหนีไปสแตนลีวิว เขาถูกประหารชีวิตโดยเจ้าหน้าที่ของคาตังกันต่อหน้าทั้งคาตังกันและเจ้าหน้าที่ของเบลเยียม ศพเขาถูกทิ้งในหลุมศพตื้น ๆ แต่ต่อมาถูกขุดขึ้นและนำไปทำลายทิ้ง[4] หลังเขาถูกสังหาร ลูมูมบาถูกมองทั่วไปว่าเป็นผู้พลีชนเพื่อขบวนการแพนแอฟริกา ในช่วงปีให้หลัง ได้มีการเปิดโปงรายละเอียดเกี่ยวกับการเสียชีวิตของเขา เช่นเดียวกับผู้อยู่เบื้องหลังซึ่งรวมถึงเบลเยียมและสหรัฐ[4] ในปี 2002 เบลเยียมได้ทำการขอโทษอย่างเป็นทางการจากส่วนร่วมในการสังหารลูมูมบา[5]

อ้างอิง

  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ britannica
  2. "Lumumba". Collins English Dictionary.
  3. Turner 2007, p. 32.
  4. 4.0 4.1 "How did Patrice Lumumba die?".{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. Boffey, Daniel (22 February 2019). "Reappearance of statue's missing hand reignites colonial row". The Guardian.

หมายเหตุ

  1. Though Lumumba was dismissed from his post on 5 September 1960 by President Kasa-Vubu, Parliament continued to recognise his authority. Lumumba rivaled his replacement, Iléo, over control of the government until a coup d'état on 14 September definitively suspended the parliamentary system and removed both from power.
  2. As Commissioner-General for National Defence.
  3. Now Sankuru, Democratic Republic of the Congo.
  4. Now Lubumbashi, Democratic Republic of the Congo.
  5. Alternatively styled Patrice Hemery Lumumba.[1]

อ้างอิง

บรรณานุกรม