ข้อศอกเคลื่อนจากการดึง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ข้อศอกเคลื่อนจากการดึง
ชื่ออื่นการเคลื่อนของหัวกระดูกเรเดียส, ข้อศอกเด็กถูกดึง,[1] การเคลื่อนของเส้นเอ็นอันนูลาร์,[2] ไหล่เนิร์สเมด,[3] ไหล่พี่เลี้ยงเด็ก, subluxatio radii
สาขาวิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
อาการปฏิเสธการขยับแขน[3]
การตั้งต้น1 ถึง 4 ขวบ[3]
สาเหตุแขนถูกดึงขณะที่ข้อไหล่กางออก[3]
วิธีวินิจฉัยตามอาการ, เอ็กซ์เรย์[3]
โรคอื่นที่คล้ายกันกระดูกข้อศอกหัก[4]
การรักษาการรีดักชั่น (ปลายแขนเข้าไปในมือท่าโปรเนชั่น ขณะที่ข้อศอกยืดตรง)[2][3]
พยากรณ์โรคดีขึ้นในหลักนาทีหลังการรีดักชั่น[2]
ความชุกพบบ่อย[3]

ข้อศอกเคลื่อนจากการดึง (อังกฤษ: pulled elbow), การเคลื่อนของหัวกระดูกเรเดียส[1] (อังกฤษ: radial head subluxation, ข้อศอกเด็กถูกดึง[1] หรือ ศอกหญิงเลี้ยงเด็ก (อังกฤษ: nursemaid's elbow)[5] เป็นภาวะที่เส้นเอ็นซึ่งหุ้มล้อมรอบหัวของกระดูกเรดียสหลุดออก[2] บ่อยครั้ง เด็กที่มีภาวะนี้จะประครองแขนของตัวเองชิดตัวพร้อมข้อศอกงอเล็กน้อย[2] และจะไม่ขยับข้อศอกเนื่องจากการขยับจะทำให้เจ็บ[3] ในขณะที่การสัมผัสแขนโดยไม่ได้ขยับข้อไหล่จะไม่ได้ทำให้เจ็บ[2]

ข้อศอกเคลื่อนจากการดึงโดยปกติเกิดจากการถูกดึงแขนอย่างฉับพลันขณะที่ข้อศอกกางออก[3] ซึ่งอาจเกิดได้ขณะยกเด็กขึ้นหรือการจับแขนเด็กแกว่ง[3] กลไกที่ทำให้เกิดการหลุดประกอบด้วยการลื่นของเส้นเอ็นอันนูลาร์ออกจากหัวของกระดูกเรเดียส จากนั้นเส้นเอ็นดังกล่าวจึงเกิดติดค้างอยู่ระหว่างกระดูกเรดียสกับกระดูกฮิวเมอรัส[2] การวินิจฉัยโดยทั่วไปได้จากการอาการ[3] อาจพิจารณาทำเอ็กซ์เรย์ร่วมด้วยเพื่อช่วยวินิจฉัย[3]

การป้องกันทำได้ด้วยการหลีกเลี่ยงต้นเหตุที่อาจก่อให้เกิดข้อศอกเคลื่อนได้[3] การรักษาใช้การรีดักชั่น[3] โดยการขยับปลายแขนเข้าสู่ท่าฝ่ามือหันลงล่างขณะที่ศอกกางตรง เป็นวิธีที่พบว่ามีประสิทธิผลดีกว่าหากทำผ่ามือหงายออกขึ้นตามด้วยการงอข้อศอก[2][5][6] หลังทำรีดักชั่นสำเร็จ เด็กสามารถกลับไปขยับข้อศอกได้ตามปกติภายในไม่กี่นาที[2] ภาวะนี้สามารถพบได้ทั่วไป[3] และมักพบในเด็กอายุระหว่าง 1 ถึง 4 ขวบ และมีรายงงานว่าสามารถพบได้ถึง 7 ขวบ[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 "บัญชีจำแนกโรคระหว่างประเทศฉบับภาษาไทย ICD-10-TM ฉบับปี 2016". สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. 2016.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7 2.8 Browner, EA (August 2013). "Nursemaid's Elbow (Annular Ligament Displacement)". Pediatrics in Review. 34 (8): 366–7, discussion 367. doi:10.1542/pir.34-8-366. PMID 23908364.
  3. 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 3.10 3.11 3.12 3.13 3.14 3.15 "Nursemaid's Elbow". OrthoInfo - AAOS. February 2014. สืบค้นเมื่อ 4 December 2017.
  4. Cohen-Rosenblum, A; Bielski, RJ (1 June 2016). "Elbow Pain After a Fall: Nursemaid's Elbow or Fracture?". Pediatric Annals. 45 (6): e214–7. doi:10.3928/00904481-20160506-01. PMID 27294496.
  5. 5.0 5.1 Krul, M; van der Wouden, JC; Kruithof, EJ; van Suijlekom-Smit, LW; Koes, BW (28 July 2017). "Manipulative interventions for reducing pulled elbow in young children". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 2017 (7): CD007759. doi:10.1002/14651858.CD007759.pub4. PMC 6483272. PMID 28753234.
  6. Bexkens, R; Washburn, FJ; Eygendaal, D; van den Bekerom, MP; Oh, LS (January 2017). "Effectiveness of reduction maneuvers in the treatment of nursemaid's elbow: A systematic review and meta-analysis". The American Journal of Emergency Medicine. 35 (1): 159–163. doi:10.1016/j.ajem.2016.10.059. PMID 27836316. S2CID 2315716.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก