ข้ามไปเนื้อหา

เจ้าสุภานุวงศ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าสุภานุวงศ์
เจ้าชายแดง
ประธานประเทศลาว คนที่ 1
ดำรงตำแหน่ง
2 ธันวาคม ค.ศ. 1975 – 29 ตุลาคม ค.ศ. 1986
นายกรัฐมนตรีไกสอน พมวิหาน
ประธานพรรคไกสอน พมวิหาน
ก่อนหน้าสถาปนาสาธารณรัฐ
สมเด็จพระเจ้าศรีสว่างวัฒนา (ในฐานะกษัตริย์)
ถัดไปไกสอน พมวิหาน
ประธานคณะกรรมาธิการสามัญสมัชชาประชาชนสูงสุดลาว คนที่ 1
ดำรงตำแหน่ง
2 ธันวาคม ค.ศ. 1975 – 25 ตุลาคม ค.ศ. 1986
ประธานาธิบดีพระองค์เอง
ประธานพรรคไกสอน พมวิหาน
ก่อนหน้าสถาปนาสาธารณรัฐ
พระยาหัวโขง (ในฐานะประธานสภาแห่งชาติ)
ถัดไปหนูฮัก พูมสะหวัน
ประธานสภาแห่งชาติลาว
ดำรงตำแหน่ง
พฤษภาคม ค.ศ. 1958 – กรกฎาคม ค.ศ. 1959
กษัตริย์สมเด็จพระเจ้าศรีสว่างวงศ์
ก่อนหน้าไม่ปรากฏ
ถัดไปเพลง พงศ์สวรรค์
รองนายกรัฐมนตรีลาว
ดำรงตำแหน่ง
23 มีนาคม ค.ศ. 1962 – 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1963
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ ภูมี หน่อสวรรค์
นายกรัฐมนตรีเจ้าสุวรรณภูมา
ดำรงตำแหน่ง
6 มีนาคม ค.ศ. 1967 – มิถุนายน ค.ศ. 1974
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ เหลือม อินสิเสียงมี
นายกรัฐมนตรีเจ้าสุวรรณภูมา
รัฐมนตรีกระทรวงโยธาธิการและพัฒนาชนบท
ดำรงตำแหน่ง
21 มีนาคม ค.ศ. 1956 – 23 กรกฎาคม ค.ศ. 1957
นายกรัฐมนตรีเจ้าสุวรรณภูมา
ก่อนหน้าเหลือม อินสิเสียงมี
ถัดไปพระยาหัวโขง
รัฐมนตรีกระทรวงการวางแผน บูรณะ และพัฒนาชนบท
ดำรงตำแหน่ง
18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1957 – 23 กรกฎาคม ค.ศ. 1958
นายกรัฐมนตรีเจ้าสุวรรณภูมา
ก่อนหน้าเงิน ชนะนิกร
ถัดไปพระยาหัวโขง
รัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจและการวางแผน
ดำรงตำแหน่ง
23 มีนาคม ค.ศ. 1962 – มิถุนายน ค.ศ. 1974
นายกรัฐมนตรีเจ้าสุวรรณภูมา
รัฐมนตรีช่วยคำเฟือน โตนาลม
ก่อนหน้าเงิน ชนะนิกร
รัฐมนตรีกระทรวงการป้องกันและโทรคมนาคม
ดำรงตำแหน่ง
12 ตุลาคม ค.ศ. 1945 – 15 เมษายน ค.ศ. 1946
นายกรัฐมนตรีพระยาคำม้าว วิไล
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปทองดี สุนทรวิจิตร
รัฐมนตรีกระทรวงการป้องกันประเทศและกิจการทหาร
ดำรงตำแหน่ง
15 เมษายน – สิงหาคม ค.ศ. 1946
นายกรัฐมนตรีพระยาคำม้าว วิไล
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปเที่ยว กิดาวงศ์
ประสูติ13 กรกฎาคม ค.ศ. 1909(1909-07-13)
พระราชวังเชียงแก้ว แขวงหลวงพระบาง อาณาจักรหลวงพระบาง อินโดจีนของฝรั่งเศส
สิ้นพระชนม์9 มกราคม ค.ศ. 1995(1995-01-09) (85 ปี)
นครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศลาว
พระชายาเหวียน ถิ กี่ นาม (สมรส 1938)
พระบุตร10 พระองค์
ราชวงศ์ล้านช้างร่มขาว
ราชสกุลสุภานุวงศ์
พระราชบิดาเจ้ามหาอุปราชบุญคง
พระราชมารดาหม่อมคำอ้วน
ศาสนาพุทธเถรวาท
อาชีพข้าราชการ นักการเมือง
พรรคการเมืองประชาชนปฏิวัติลาว
ความเกี่ยวข้อง
ทางการเมืองอื่น ๆ
แนวลาวส้างซาด
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ลาว
แผนก/สังกัดลาว ปะเทดลาว
ลาว กองทัพประชาชนลาว
ชั้นยศ จอมพล
การยุทธ์สงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง
สงครามกลางเมืองลาว

เสด็จเจ้าสุภานุวงศ์ หรือ ประธานสุภานุวงศ์ (ลาว: ສຸພານຸວົງ) ประสูติเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2452 ที่เมืองหลวงพระบาง เป็นเชื้อพระวงศ์ราชวงศ์ล้านช้างร่มขาว เป็นประธานประเทศ (ประธานาธิบดี) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว คนแรกหลังจากลาวเปลี่ยนแปลงการปกครองจากราชอาณาจักรมาเป็นสาธารณรัฐเมื่อปี พ.ศ. 2518 ทั่วโลกรู้จักในสมญานาม "เจ้าชายแดง" หรือ "The Red Prince"

ประวัติ[แก้]

เจ้าสุภานุวงศ์ประสูติเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2452 เป็นโอรส 1 ใน 23 พระองค์ ของสมเด็จเจ้ามหาอุปราชบุญคงแห่งหลวงพระบาง กับหม่อมคำอ้วน หม่อมห้ามลำดับที่ 11 เป็นพระอนุชาต่างชนนีกับเจ้าเพชรราช และเจ้าสุวรรณภูมาโอรสที่ประสูติจากพระชายาเอก และเจ้าสุวรรณราชโอรสที่ประสูติจากหม่อมห้ามลำดับที่

เจ้าสุภานุวงศ์ได้รับการศึกษาจากพระอาจารย์ชาวฝรั่งเศสในหลวงพระบาง แล้วเสด็จไปศึกษาต่อที่สถาบันลีเซอัลแบร์ซาโร ที่ฮานอย ทำให้พระองค์มีความสัมพันธ์อย่างแน้นแฟ้นกับเวียดนามไปตลอดพระชนม์ชีพ พระองค์ตรัสภาษาฝรั่งเศส ภาษาเวียดนาม และภาษาอังกฤษได้ดีเยี่ยม หลังจากจบการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านวิศวกรรมการก่อสร้างทางและสะพานที่ปารีส ประเทศฝรั่งเศส ได้เสด็จกลับมาลาว และได้อภิเษกกับสตรีชาวเวียดนามชื่อ เหวียนธิ ซึ่งเป็นหลานสาวของ โฮจิมินห์ ภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็นภาษาลาวว่า เวียงคำ สุภานุวงศ์ (ลาว: ວຽງຄຳ ສຸພານຸວົງ) มีบุตรธิดารวม 10 คน เป็นชาย 8 คน และหญิง 2 คน

พระองค์ทรงเข้าร่วมขบวนการต่อต้านฝรั่งเศสเพื่อเอกราช จนได้รับบาดเจ็บในการต่อสู้กับฝรั่งเศสที่เมืองท่าแขก ระหว่างหนีข้ามแม่น้ำโขงเข้ามายังฝั่งไทย ในปี พ.ศ. 2489 ทรงก่อตั้งกองทัพปลดปล่อยประชาชนลาวในพื้นที่ซำเหนือ ในปี พ.ศ. 2492ภายใต้การสนับสนุนของโฮจิมินห์ ซึ่งต่อมาเป็นขบวนการคอมมิวนิสต์ประเทศลาว ต่อมาอีกสองปี ขบวนการประเทศลาวก็สามารถครองพื้นที่ 1 ใน 3 ของประเทศได้ และตั้งฐานที่มั่นที่ยากแก่การทำลายในถ้ำหินปูนที่แขวงหัวพันกับพงสาลี

พ.ศ. 2496 ฝรั่งเศสได้จัดตั้งรัฐบาลลาวขึ้น อยู่ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีหลายท่านที่เป็นพวกอนุรักษนิยม ได้แก่เจ้าสุวรรณราช และเจ้าสุวรรณภูมา ส่วนพระองค์นิยมลัทธิคอมมิวนิสต์จนได้สมญานามว่า "เจ้าชายแดง"

ในปี พ.ศ. 2517 พระองค์เสด็จคืนเวียงจันทน์ ทรงดำรงตำแหน่งประธานสภาที่ปรึกษาแห่งชาติอยู่ 18 เดือน จนสถาปนาประเทศเป็น "สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว" พระองค์ได้รับเลือกเป็นประธานประเทศ และประธานสภาประชาชนสูงสุดคนแรก พร้อมกันนั้น พระองค์ได้สละฐานันดรศักดิ์ทั้งปวงในสมัยระบอบเก่า เจ้าสุภานุวงศ์เป็นที่รักของประชาชนชาวลาว จนเรียกขานกันว่า "ลุงประธาน"

บั้นปลายพระชนม์ชีพ[แก้]

เจ้าสุภานุวงศ์ ดำรงตำแหน่งประธานประเทศมาจนถึง พ.ศ. 2529 จึงได้วางมือจากการเมือง

สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2538 ที่นครเวียงจันทน์

การศึกษา[แก้]

บทบาทการเมือง[แก้]

หลังจากที่โฮจิมินห์ได้ตั้งพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีนเมื่อ พ.ศ. 2480 เจ้าสุภานุวงค์ก็ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกพรรค และเป็นผู้นำประชาชนลาวในการต่อสู้เพื่อเรียกร้องเอกราชจากฝรั่งเศส และเป็นผู้นำของพรรคประชาชนปฏิวัติลาวในยุคก่อตั้งพรรค และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่ประเทศลาวเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2518 เจ้าสุภานุวงศ์ได้ดำรงตำแหน่งประธานประเทศจนถึง พ.ศ. 2534

เครื่องอิสริยาภรณ์[แก้]

ในประเทศ[แก้]

  •  ลาว:
    • พ.ศ. ไม่ปรากฏ - เหรียญทองคำแห่งลาว

เครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]

  •  สหภาพโซเวียต:
    • พ.ศ. ไม่ปรากฏ - เครื่องอิสริยาภรณ์การปฏิวัติเดือนตุลาคม
    • พ.ศ. ไม่ปรากฏ - เครื่องอิสริยาภรณ์มิตรภาพของประชาชน
    • พ.ศ. ไม่ปรากฏ - เหรียญเพื่อความเข้มแข็งของภราดรภาพในอ้อมแขน
  •  คิวบา:
    • พ.ศ. ไม่ปรากฏ - เครื่องอิสริยาภรณ์โฆเซ่ มาร์ติ
    • พ.ศ. ไม่ปรากฏ - เครื่องอิสริยาภรณ์พลาย่า จิรอน
  •  เชโกสโลวาเกีย
    • พ.ศ. ไม่ปรากฏ - เครื่องอิสริยาภรณ์สิงโตขาว ชั้นที่ 1
    • พ.ศ. 2532 - เครื่องอิสริยาภรณ์เคลมองต์ ก็อตวาลด์
  •  บัลแกเรีย:
    • พ.ศ. ไม่ปรากฏ - เครื่องอิสริยาภรณ์สตาร่า พลานิน่า
  •  มองโกเลีย:
    • พ.ศ. ไม่ปรากฏ - เครื่องอิสริยาภรณ์สุขบาทาร์
  •  เวียดนาม:
    • พ.ศ. ไม่ปรากฏ - เครื่องอิสริยาภรณ์โฮจิมินห์

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

ก่อนหน้า เจ้าสุภานุวงศ์ ถัดไป
ประธานประเทศลาว
(3 ธันวาคม พ.ศ. 2518 - 15 สิงหาคม พ.ศ. 2534)
พูมี วงวิจิด
(รักษาการ)