ข้ามไปเนื้อหา

ผุย ชนะนิกร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระยาหัวโขง
(ผุย ชนะนิกร)
ພຍາຫົວຂອງ
นายกรัฐมนตรีลาว คนที่ 5
ดำรงตำแหน่ง
24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1950 – 15 ตุลาคม ค.ศ. 1951
กษัตริย์สมเด็จพระเจ้าศรีสว่างวงศ์
ก่อนหน้าเจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์
ถัดไปเจ้าฟ้าศรีสว่างวัฒนา
ดำรงตำแหน่ง
17 สิงหาคม ค.ศ. 1958 – 31 ธันวาคม ค.ศ. 1959
กษัตริย์สมเด็จพระเจ้าศรีสว่างวงศ์
สมเด็จพระเจ้าศรีสว่างวัฒนา
ก่อนหน้าเจ้าสุวรรณภูมา
ถัดไปกุ อภัย
ประธานสภาแห่งชาติลาว คนที่ 1
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 1947 – 1950
กษัตริย์สมเด็จพระเจ้าศรีสว่างวงศ์
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปเภา ปัญญา
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 1963 – 1965
กษัตริย์สมเด็จพระเจ้าศรีสว่างวัฒนา
ก่อนหน้าเจ้าสมสนิท วงกตรัตนะ
ถัดไปอุดม โสวัณวงศ์
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 1968 – 1974
กษัตริย์สมเด็จพระเจ้าศรีสว่างวัฒนา
ก่อนหน้าอุดม โสวัณวงศ์
ถัดไปสถาปนาสาธารณรัฐ
เจ้าสุภานุวงศ์ (ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการสามัญของสมัชชาประชาชนสูงสุด)
ตำแหน่งรัฐมนตรี
รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 1950 – 1951
นายกรัฐมนตรีตนเอง
ก่อนหน้าเจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์
ถัดไปนวย อะไพ
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 1954 – 1956
นายกรัฐมนตรีกระต่าย โดนสโสฤทธิ์
ก่อนหน้านวย อะไพ
ถัดไปเจ้าสุวรรณภูมา
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 1957 – 1958
นายกรัฐมนตรีเจ้าสุวรรณภูมา
ก่อนหน้าเจ้าสุวรรณภูมา
ถัดไปคำพัน ปัญญา
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 1959 – 1959
นายกรัฐมนตรีตนเอง
ก่อนหน้าคำพัน ปัญญา
ถัดไปคำพัน ปัญญา
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
ผุย ชนะนิกร

6 กันยายน ค.ศ. 1903(1903-09-06)
นครหลวงเวียงจันทน์ อาณาจักรหลวงพระบาง อินโดจีนของฝรั่งเศส
เสียชีวิต4 ธันวาคม ค.ศ. 1983(1983-12-04) (80 ปี)
ปารีส ประเทศฝรั่งเศส
สัญชาติลาว
ศาสนาพุทธเถรวาท
พรรคการเมืองเสรี (ค.ศ. 1945–1958)
ลาวรวมลาว (ค.ศ. 1958–1960)
คู่สมรสสีดา ชนะนิกร
บุตรเวียงแก้ว ชนะนิกร
บุพการี
  • คำเพ็ง ชนะนิกร (บิดา)
  • คำก้อน ชนะนิกร (มารดา)
ศิษย์เก่าวิทยาลัยปาวี
อาชีพข้าราชการ นักการเมือง

พระยาหัวโขง (ผุย ชนะนิกร) (ลาว: ພຍາຫົວຂອງ (ຜຸຍ ຊະນະນິກອນ); พ.ศ. 2446 - 4 ธันวาคม พ.ศ. 2526[1]) ชื่อเดิมว่า ท้าวผุย ชนะนิกร เกิดเมื่อ วันที่ 6 กันยายน พ.ศ.2446[2] ที่นครหลวงเวียงจันทร์ บิดาชื่อ ทิดคำเพ็ง มารดาชื่อ นางคำก้อน เป็นนายกรัฐมนตรีแห่งพระราชอาณาจักรลาว ตั้งแต่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2490 – 25 มีนาคม พ.ศ. 2491 และครั้งที่สองตั้งแต่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2501 – 31 ธันวาคม พ.ศ. 2502 และยังทำหน้าที่เป็นรัฐมนตรีหลายสมัย

บรรดาศักดิ์[แก้]

หน้าที่ราชการ[2][แก้]

  • ค.ศ.1923 เข้ารับราชการเป็นเสมียนล่าม อยู่ที่ว่าการข้าหลวงฝรั่งเศลประจำแขวงเวียงจันทร์
  • ค.ศ.1924 โดนสั่งไปทำการเป็นเสมียนล่าม อยู่ที่แขวงสาละวัน
  • ค.ศ.1925 ย้ายกลับมาเป็นเสมียนล่าม อยู่ที่ว่าการข้าหลวงฝรั่งเศล ที่เวียงจันทร์

ประมาณ 4-5 ปีต่อมา ได้รับแต่งตั้งจากผู้สำเร็จราชการแห่งประเทศลาว ให้ทำหน้าที่เป็น จ่าศาล ศาลอุธรณ์ประจำแขวงเวียงจันทร์

  • ค.ศ.1941 ได้สอบไล่เข้าบรรจุราชการฝ่ายปกครอง และได้บรรจุเข้ารับราชการชั้นเจ้าเมือง ขั้น 4 แล้วได้รับแต่งตั้ง ให้ไปดำรงตำแหน่งเจ้าแขวงหัวโขง ที่เมืองห้วยทราย

ตำแหน่งทางการเมือง[2][แก้]

หลังจากรัฐบาลฝรั่งเศลได้มอบสิทธิปกครองตามระบอบประชาธิปไตยให้แก่ประชาชนลาว และให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาแห่งชาติขึ้น ในประเทศลาวแล้ว ท่านผุย ชนะนิกร ก็ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎร ครั้งแรกของสภาแห่งชาติ ชุดที่ 1 ต่อมาท่านได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานสภาแห่งชาติ คนแรกของพระราชอาณาจักรลาว

  • ค.ศ.1950 ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งพระราชอาณาจักรลาว
  • ค.ศ.1951 ได้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีกระทรวงการป้องกันประเทศ , รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย , รัฐมนตรีกระทรวงกีฬายุวชน ในรัฐบาลของเสด็จเจ้าสุวรรณภูมาเป็นนายกรัฐมนตรี
  • ค.ศ.1954 ได้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงต่างประเทศ ในรัฐบาลของเสด็จเจ้าสุวรรณภูมาเป็นนายกรัฐมนตรี
  • ค.ศ.1955 ได้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศ ในรัฐบาลของท่านกระต่าย โดนสโสฤทธิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี
  • ค.ศ.1955-1957 ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศ , กระทรวงโยธาธิการ , กระทรวงปฏิสังขรณ์เทศบาล ในรัฐบาลเสด็จเจ้าสุวรรณภูมา เป็นนายกรัฐมนตรี และท่ายได้รับตำแหน่งเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนราชอาณาจักรลาว ในกองประชุมสหประชาชาติ
  • ค.ศ.1958 ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งพระราชอาณาจักรลาว และรัฐมนตรีกระทรวงแผนผัง , กระทรวงโยธาธิการ , กระทรวงไปรษณีและโทรคมนาคม , กระทรวงประชาสงเคราะห์ , กระทรวงสาธารณสุข , กระทรวงยุติธรรม
  • ค.ศ.1959 ได้ปรับปรุงรัฐบาลใหม่ ท่านพระยาฯ ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศ , กระทรวงการป้องกันประเทศและนักรบเก่า , กระทรวงโยธาธิการ , กระทรวงขนส่งและปฏิสังขรณ์เทศบาล , กระทรวงแถลงข่าวและกีฬายุวชน เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 1959 ได้กราบบังคมทูลลาออกจากตำแหน่ง
  • ค.ศ.1963-1970 ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานสภาแห่งชาติ

อ้างอิง[แก้]

  1. http://www.nytimes.com/1983/12/12/obituaries/phoui-sananikone-dies-at-80-an-ex-prime-minister-of-laos.html
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 file:///C:/Users/assign/Downloads/%E0%BA%9B%E0%BA%B8%E0%BA%8D%20%E0%BA%8A%E0%BA%B0%E0%BA%99%E0%BA%B0%E0%BA%99%E0%BA%B4%E0%BA%81%E0%BA%AD%E0%BA%99.PDF บันทึกความทรงจำพระยาหัวโขง (ผุย ชนะนิกร)

[1]

ก่อนหน้า ผุย ชนะนิกร ถัดไป
เจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์
นายกรัฐมนตรีแห่งพระราชอาณาจักรลาว
(24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493 – 15 ตุลาคม พ.ศ. 2494)
เจ้าฟ้าสว่างวัฒนา
เจ้าสุวรรณภูมา
นายกรัฐมนตรีแห่งพระราชอาณาจักรลาว
(17 สิงหาคม พ.ศ. 2501 – 31 ธันวาคม พ.ศ. 2502)
สุนทอน ปะถำมะวง
  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :0