ข้ามไปเนื้อหา

ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ จำกัด (มหาชน)
ประเภทบริษัทมหาชน
ก่อตั้ง18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2487
เลิกกิจการ17 สิงหาคม พ.ศ. 2541
สาเหตุโอนกิจการไปยังธนาคารกรุงไทย
สำนักงานใหญ่เลขที่ 99 ถนนสุรศักดิ์ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร
บริการธนาคาร

ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: Bangkok Bank of Commerce Public Company Limited ชื่อย่อ: BBC) เป็นธนาคารในอดีต ก่อตั้งเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2487 แปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด ณ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2537 โดยผู้บริหารธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ ได้ยุติการประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2541 โดยมีการโอนกิจการของธนาคารฯ ไปยัง ธนาคารกรุงไทย[1] เฉพาะสินทรัพย์และเงินฝากของลูกค้าที่มีคุณภาพดี และบริษัทบริหารสินทรัพย์ เฉพาะสินทรัพย์และลูกหนี้ที่มีความด้อยคุณภาพ (หมายถึง บริษัท บริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2542) ซึ่งทำให้ธนาคารฯ แปลงสภาพเป็นบริษัทลูกหนี้ ภายใต้ชื่อ บริษัท กรุงเทพฯพาณิชย์การ จำกัด (มหาชน) แต่ในที่สุดก็ปิดกิจการลงเมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2546 เนื่องจากศาลล้มละลายกลาง มีคำสั่งให้ล้มละลาย[2] อนึ่ง วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ยึดใบอนุญาตประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ ของธนาคารฯ ด้วยสาเหตุจากการมีหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้จำนวนมาก ซึ่งปัญหาการเงินและสืบเนื่องมาถึงปิดตัวของธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การนั้น เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดวิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540

สำหรับตราสัญลักษณ์ของธนาคารฯ ได้ใช้รูปเหรียญสตางค์ด้านหลัง ที่เป็นรูปตราจักรเฉียงจากทางซ้ายไปทางขวา 8 ซีก โดยมีคำว่า พ.ศ. ๒๔๘๗ อยู่ในวงกลมด้านบนของตราจักร ก่อนที่จะปรับเปลี่ยนสัญลักษณ์เหรียญสตางค์ตราจักรเป็นสีเหลือง และถูกประดับด้วยกล่องสี่เหลี่ยมสีน้ำเงิน ซึ่งปรับเปลี่ยนประมาณปี พ.ศ. 2537[ต้องการอ้างอิง]เป็นรูปแบบสุดท้ายก่อนที่จะปิดกิจการลง

รายพระนามและชื่อประธานกรรมการ[แก้]

  1. พลโท หม่อมเจ้าเสรฐศิริ กฤดากร (พ.ศ. 2487-2492)
  2. พลตำรวจเอก พระพินิจชนคดี (พินิจ อินทรทูต) (พ.ศ. 2492-2498)
  3. พลตรี หม่อมเจ้ามุรธาภิเศก โสณกุล (พ.ศ. 2498-2502)
  4. พลอากาศโท สวน สุขเสริม (พ.ศ. 2502-2507)
  5. พลโท หม่อมราชวงศ์ลาภ หัสดินทร (พ.ศ. 2508-2511)
  6. พลเอก ผ่อง บุญสม (พ.ศ. 2511-2514)
  7. พลอากาศเอก ศิริ เมืองมณี (พ.ศ. 2514-2516)
  8. ท่านผู้หญิงพรพรรณ ทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ (พ.ศ. 2516-2518)
  9. นายแถบ นีละนิธิ (พ.ศ. 2518-2521)
  10. หม่อมราชวงศ์บุญรับ พินิจชนคดี (พ.ศ. 2521-2524)
  11. พลตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช (พ.ศ. 2524-2527)
  12. พลเรือเอก นิพนธ์ ศิริธร (พ.ศ. 2527-2530)
  13. นางมุกดา จันทรสมบูรณ์ (พ.ศ. 2530-2532)
  14. พลเรือเอก หม่อมราชวงศ์พันธุม ทวีวงศ์ (พ.ศ. 2532-2534)
  15. พลเอก ไพบูลย์ เอมพันธุ์ (พ.ศ. 2534-2536)
  16. นายวุฒิชัย พงษ์ประสิทธิ์ (พ.ศ. 2536-2539)
  17. นายกมล จันทิมา (พ.ศ. 2539-2541)

รายพระนามและชื่อนายกคณะกรรมการ[แก้]

  1. หลวงวิเชียรแพทยาคม (เถียร ตูวิเชียร) (พ.ศ. 2487-2490)
  2. พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ) (พ.ศ. 2490-2493)
  3. พระเจริญวิศวกรรม (เจริญ เชนะกุล) (พ.ศ. 2493-2495)
  4. หลวงสิริราชไมตรี (จรูญ สิงหเสนี) (พ.ศ. 2495-2498)
  5. พลเอก จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ (พ.ศ. 2498-2504)
  6. พลโท หม่อมราชวงศ์ลาภ หัสดินทร (พ.ศ. 2504-2507)
  7. นายหยุด แสงอุทัย (พ.ศ. 2508-2510)
  8. นายกัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา (พ.ศ. 2510-2513)
  9. หม่อมราชวงศ์บุญรับ พินิจชนคดี (พ.ศ. 2513-2516)
  10. หม่อมเจ้าลุอิสาณ์ ดิศกุล (พ.ศ. 2516-2519)
  11. หม่อมเจ้าเพลิงนภดล รพีพัฒน์ (พ.ศ. 2519-2523)
  12. พลเอก ประเทียบ เทศวิศาล (พ.ศ. 2523-2525)
  13. พลเอก สุรกิจ มัยลาภ (พ.ศ. 2525-2529)
  14. นายวิโรจน์ เลาหะพันธุ์ (พ.ศ. 2529-2531)
  15. ท่านผู้หญิงเลอศักดิ์ สมบัติศิริ (พ.ศ. 2531-2534)
  16. นายกมล จันทิมา (พ.ศ. 2534-2536)
  17. พลตำรวจเอก พจน์ บุณยะจินดา (พ.ศ. 2537-2541)

อ้างอิง[แก้]

  1. ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ให้ความเห็นชอบโครงการโอนกิจการของธนาคารกรุงเทพฯพาณิชย์การ จำกัด(มหาชน)ให้แก่ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน)และบริษัทบริหารสินทรัพย์ วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2541
  2. "ประกาศเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เรื่อง คำพิพากษาให้ล้มละลายและกำหนดนัดไต่สวนลูกหนี้โดยเปิดเผย วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2546" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-02-22.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • เกริกเกียรติ ชาลีจันทร์. ความจริง...บีบีซี. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ด ยูเคชั่น,2556.