ไฮ-เท็น บอมเบอร์แมน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไฮ-เท็น บอมเบอร์แมน
ผู้พัฒนาฮัดสันซอฟต์
ผู้จัดจำหน่ายฮัดสันซอฟต์
ออกแบบคาสึฮิโระ โนซาวะ
ชุดบอมเบอร์แมน
วางจำหน่าย
แนวแอ็กชัน, เขาวงกต
รูปแบบผู้เล่นเดี่ยว, หลายผู้เล่น

ไฮ-เท็น บอมเบอร์แมน[a] (อังกฤษ: Hi-Ten Bomberman) เป็นวิดีโอเกมแอ็กชัน-เขาวงกต ที่พัฒนาและเปิดตัวครั้งแรกโดยฮัดสันซอฟต์ในงานซูเปอร์คาราวานเมื่อปี ค.ศ. 1993 ที่ประเทศญี่ปุ่น[1][2][3] ซึ่งเป็นแบบผู้เล่นหลายคนเท่านั้นในแฟรนไชส์บอมเบอร์แมน ซึ่งมีการสนับสนุนผู้เล่นสูงสุดสิบคนและได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางจากหลาย ๆ คนว่าเป็นเกมแรกที่สร้างขึ้นในเชิงพาณิชย์สำหรับโทรทัศน์ความละเอียดสูงแบบจอกว้าง รวมถึงการได้รับการยกย่องว่าเป็นพื้นฐานสำหรับแซทเทิร์นบอมเบอร์แมน แต่เกมก็ไม่เคยเปิดตัวให้ประชาชนทั่วไป[4][5][6][7][8][9]

รูปแบบการเล่น[แก้]

ภาพจับหน้าจอของรูปแบบการเล่น

ไฮ-เท็น บอมเบอร์แมน เป็นเกมแอ็กชันเขาวงกตแบบผู้เล่นหลายคนเท่านั้นโดยมีลักษณะคล้ายกับเกมอื่น ๆ ในแฟรนไชส์บอมเบอร์แมน ซึ่งมีผู้เล่นสูงสุดสิบคน โดยแต่ละคนจะได้รับมอบหมายให้เป็นตัวละครบอมเบอร์แมนที่มีสีต่างกันขึ้นอยู่กับพอร์ตคอนโทรลเลอร์ที่ใช้กับมัลติแทป ในขณะที่ใช้โทรทัศน์ความละเอียดสูงแบบจอกว้างแนวนอนเพื่อแสดงสนามแข่งขันที่กว้างใหญ่[1][3][10] วัตถุประสงค์หลักของเกมนี้คือการเอาชนะคู่ต่อสู้ทุกคนในสนามแข่งขันโดยการวางระเบิด ในขณะที่การทำลายบล็อกในเขาวงกตอาจเปิดเผยไอเท็มที่มีประโยชน์สำหรับผู้เล่นรวมทั้งระเบิดพิเศษ, ระยะลุกเป็นไฟเพิ่มขึ้น และไอเท็มอื่น ๆ[10]

โหมด[แก้]

มีโหมดการเล่นห้าแบบให้เลือกที่หน้าจอหลักของเกม ได้แก่ แบตเทิลรอยัล, 2 กลุ่มประจัญบาน, 3 กลุ่มประจัญบาน, 5 กลุ่มประจัญบาน และประจัญบาน 1 ต่อ 9 ซึ่งโหมดแบตเทิลรอยัลตามชื่อหมายถึงเป็นโหมดพิฆาตระหว่างผู้เล่นสิบคนที่บอมเบอร์แมนผู้ยืนหยัดเป็นคนสุดท้ายจะกลายเป็นผู้ชนะ ส่วนโหมด 2 กลุ่มประจัญบานเป็นโหมดผู้เล่นหลายคนที่ทั้งสองทีมประกอบด้วยผู้เล่นห้าคนต่อสู้กันเอง ขณะที่โหมด 3 กลุ่มประจัญบานเป็นโหมดประจัญบานที่มีผู้เล่นเพียงเก้าคนโดยที่สามทีมของสามผู้เล่นจะปะทะกันกับแต่ละทีม และโหมด 5 กลุ่มประจัญบานเป็นโหมดผู้เล่นหลายคนที่ร่วมมือกันซึ่งทีมที่มีผู้เล่นสองคนห้าทีมต่อสู้กันเพื่อเป็นผู้ชนะ ตลอดจนโหมดประจัญบาน 1 ต่อ 9 ซึ่งเป็นโหมดผู้เล่นสิบคนที่ผู้เล่นคนหนึ่งต้องรับมือกับทีมผู้เล่นเก้าคน

ประวัติ[แก้]

การพัฒนา[แก้]

ไฮ-เท็น บอมเบอร์แมน คิดขึ้นโดยคาสึฮิโระ โนซาวะ ซึ่งเคยทำงานในหลายเกมของฮัดสันซอฟต์ เช่น สตาร์โซลเจอร์ และเจ.เจ. & เจฟฟ์[4][5][11] เกมดังกล่าวใช้ส่วนผสมของพีซี เอนจิน สองชุดสำหรับฮาร์ดแวร์พื้นฐานและอินพุตคอนโทรลเลอร์พร้อมกับพีซีแบบพีซีบีที่มีชื่อเล่นว่าไอเอิร์นแมน[b] ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นพื้นฐานสำหรับพีซี-เอฟเอกซ์ แต่ไม่มีแผนสำหรับการวางจำหน่ายในบ้านบนแพลตฟอร์มที่ได้รับการพิจารณา[1][3][4][5][7] ซึ่งผลิตระหว่างห้าถึงสิบหน่วย และค่าใช้จ่ายแต่ละหน่วยประมาณ 2,000,000 เยน[3][11][12][13] ในการให้สัมภาษณ์กับ Gamasutra อดีตผู้บริหารฮัดสันซอฟต์ ทากาฮาชิ เมจิน กล่าวว่าเหตุผลที่บริษัทได้พัฒนาโครงการเกิดขึ้นเนื่องจากเอ็นเอชเค ต้องการผลักดันตลาดโทรทัศน์ความละเอียดสูงในประเทศญี่ปุ่นเวลานั้น และเนื่องจากอัตราส่วนกว้างยาว 16:9 ทำให้ทีมมีสิบผู้เล่นบนหน้าจอ แต่ต้องเขียนเทคโนโลยีที่กำหนดเองเพื่อทำเช่นนั้น[3][7]

การตลาด[แก้]

ไฮ-เท็น บอมเบอร์แมน เปิดตัวครั้งแรกให้แก่ผู้เข้าร่วมงานซูเปอร์คาราวาน ค.ศ. 1993 ที่จัดโดยฮัดสันซอฟต์ และสามารถเล่นได้เป็นครั้งสุดท้ายที่สตูดิโอพาร์กในศูนย์กระจายเสียงแพร่ภาพ เอ็นเอชเค ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1997 ที่ประเทศญี่ปุ่น ที่ซึ่งพร้อมให้เล่นสำหรับประชาชนทั่วไป[3][6][8][10] เกมนี้ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางจากนิตยสารวิดีโอเกมและร้านค้าเฉพาะอื่น ๆ ที่เป็นเกมเชิงพาณิชย์เกมแรกที่สร้างขึ้นสำหรับโทรทัศน์ความละเอียดสูงแบบจอกว้าง แม้ว่ามีโฮมรันคอนเทสต์ ค.ศ. 1988 ของนัมโคก่อนหน้านั้นเมื่อห้าปีก่อน[14][15][16] แม้จะได้รับการจัดแสดงเฉพาะในประเทศญี่ปุ่น แต่ฮัดสันซอฟต์ก็มีแผนที่จะจัดแสดงเกมนี้ในภูมิภาคอื่น ๆ ซึ่งไม่เคยประสบความสำเร็จโดยไม่ทราบสาเหตุ[4][5]

ในปี ค.ศ. 1994[17] ไฮ-เท็น บอมเบอร์แมน เวอร์ชันอัปเดตในชื่อไฮ-เท็น ชาราบอมบ์[c] ได้เปิดตัวครั้งแรกโดยฮัดสันซอฟต์ต่อผู้เข้าร่วมในงานซูเปอร์คาราวาน ค.ศ. 1994 ซึ่งเพิ่มขนาดของสังเวียนและแนะนำตัวละครที่เลือกได้ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากกรรมสิทธิ์อื่น ๆ ของฮัดสัน เช่น บ็องก์, ฟาร์อีสต์ออฟอีเดน, ไมลอนส์ซีเครตคาสเซิล และโมโมตาโรเด็นเซ็ตสึ[4][5][18]

การตอบรับและสิ่งสืบทอด[แก้]

ทั้งนิตยสารเอตจ์และเนกซ์เจเนอเรชันยกย่องไฮ-เท็น บอมเบอร์แมน สำหรับรูปแบบการเล่นและความสำเร็จทางเทคโนโลยี[4][5] เกมดังกล่าวได้รับการยกย่องให้เป็นพื้นฐานสำหรับแซทเทิร์นบอมเบอร์แมน[8] ครั้นในปี ค.ศ. 2019 ทากาฮาชิ เมจิน ได้พบดิสก์หลายแผ่นที่มีข้อมูลของเกม[6][13]

หมายเหตุ[แก้]

  1. HI-TEN ボンバーマン Haiten Bonbāman
  2. ญี่ปุ่น: 鉄人โรมาจิTetsujin
  3. ญี่ปุ่น: HI-TEN キャラBOMโรมาจิHaiten Kyarabomu

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 Yamanaka, Naoki (September 1993). "Basic Magazine News: テレビゲームにもハイビジョンの時代がやってくる!". Micom BASIC Magazine (ภาษาญี่ปุ่น). No. 135. The Dempa Shimbunsha Corporation. p. 181.
  2. "The Advent of HD Gaming...in 1993?!". Hudson Entertainment. Facebook. 6 สิงหาคม 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 มกราคม 2014. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2019.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 Szczepaniak, John (4 November 2015). Hudson Soft Chapter - Takashi TAKEBE. The Untold History of Japanese Game Developers. Vol. 2. S.M.G. Szczepaniak. pp. 71–83. ISBN 978-1518818745.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 "Prescreen - Hudson Soft". Edge. No. 17. Future plc. February 1995. pp. 46–49.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 "Alphas - Hudson Soft". Next Generation. No. 3. Imagine Media. March 1995. pp. 78–81.
  6. 6.0 6.1 6.2 Wong, Alistair (March 15, 2019). "Long-lost Early HD Game Hi-Ten Bomberman Preserved Thanks To Hudson's Takahashi Meijin". Siliconera. Curse LLC. สืบค้นเมื่อ 2019-09-08.
  7. 7.0 7.1 7.2 Sheffield, Brandon (October 2, 2008). "The Game Master Speaks: Hudson's 'Takahashi-Meijin' Goes Retro (Page 3)". Gamasutra. UBM Technology Group. สืบค้นเมื่อ 2019-06-15.
  8. 8.0 8.1 8.2 Hunt, Stuart (August 2009). "The Complete History Of Bomberman". Retro Gamer. No. 67. Imagine Publishing. pp. 27–34.
  9. Plunkett, Luke (May 12, 2011). "The HD Console Game From...1993?". Kotaku. G/O Media. สืบค้นเมื่อ 2019-09-30.
  10. 10.0 10.1 10.2 ハイテンボンパーマン. Bomberman Maniax (ボンバーマンマニアックス) (ภาษาญี่ปุ่น). Aspect. May 1995. ISBN 4-89366-369-0.
  11. 11.0 11.1 Meijin, Takahashi (March 12, 2019). "「Hi-Tenボンバーマン」のDisk". 16連射のつぶやき (ภาษาญี่ปุ่น). Ameba. สืบค้นเมื่อ 2019-03-21.
  12. Meijin, Takahashi (3 พฤศจิกายน 2005). "HiTENキャラボンの思い出". 高橋名人BLOG『16連射のつぶやき』 (ภาษาญี่ปุ่น). Hudson Soft. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2006. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2019.
  13. 13.0 13.1 Meijin, Takahashi. "HI-TENボンバーマン". 16shot.jp (ภาษาญี่ปุ่น). Fields Corporation. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2019.[ลิงก์เสีย]
  14. "ハイビジョン用TVゲームを ナムコが開発 9月から各地で一般公開へ". Game Machine (ภาษาญี่ปุ่น). No. 342. Amusement Press, Inc. 15 October 1988. p. 5.
  15. "26th Amusement Machine Show - ホームランコンテスト (ナムコ)". Game Machine (ภาษาญี่ปุ่น). No. 343. Amusement Press, Inc. 1 November 1988. p. 9.
  16. "Overseas Readers Column - New Videos Unveiled For Overseas Market". Game Machine (ภาษาญี่ปุ่น). No. 343. Amusement Press, Inc. 1 November 1988. p. 26.
  17. Prezeau, Olivier (October 1994). "Consoles: Jouer À Dix À Bomberman?". Joystick (ภาษาฝรั่งเศส). No. 53. Hachette Digital Presse. p. 134.
  18. "News: This Month on Edge - A gloriously haphazard collection of rumours, short stories and stop-press gameshots". Edge. No. 13. Future plc. October 1994. pp. 18–19.