ฉบับร่าง:ไทยคม 1

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ไทยคม 1)
ไทยคม 1A
ประเภทภารกิจดาวเทียมสื่อสาร
ผู้ดำเนินการไทย บมจ. ไทยคม
COSPAR ID1993-078B
SATCAT no.22931
ระยะภารกิจ15 ปี
ข้อมูลยานอวกาศ
BusHS-376
ผู้ผลิตHuge space aircraft
มวลขณะส่งยาน1,080 kg (2,380 lb)
กำลังไฟฟ้า800 วัตต์
เริ่มต้นภารกิจ
วันที่ส่งขึ้น18 ธันวาคม พ.ศ.2536
จรวดนำส่งสหภาพยุโรป Ariane4 (44L)
ฐานส่งฝรั่งเศส kourou ELA-2
ผู้ดำเนินงานฝรั่งเศส Ariane space
สิ้นสุดภารกิจ
ปิดการทำงานพ.ศ.2551
ลักษณะวงโคจร
ระบบอ้างอิงโลกเป็นศูนย์กลาง
ระบบวงโคจรวงโคจรค้างฟ้า
วันที่ใช้อ้างอิงมิถุนายน พ.ศ.2540
อุปกรณ์ส่งสัญญาณ
ความถี่12,36 MHz C band
3,54~MHz Ku band
พื้นที่ครอบคลุมไทย ไทย

ลาว ลาว
กัมพูชา กัมพูชา
ประเทศพม่า เมียนมาร์
มาเลเซีย มาเลเซีย
ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์
เวียดนาม เวียดนาม
เกาหลีใต้ เกาหลีใต้
ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น

จีน จีน(ฝั่งตะวันออก)
ไทยคม 2 →
 

ไทยคม 1 (อังกฤษ: Thaicom 1) เป็นดาวเทียมสื่อสารสัญชาติไทย โดยมีผู้รับจ้างเป็น บริษัท แอเรียน สเปซ จำกัด(ฝรั่งเศส) ปล่อยสู่วงโคจร เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ.2536 ที่ประเทศฝรั่งเศส และเป็นดาวเทียมดวงแรกในดาวเทียมไทยคม

การส่งขึ้นสู่วงโคจร[แก้]

ดาวเทียมไทยคม 1A ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรโลกจากฐานส่งของบริษัท แอเรียนสเปซ (Arianespace) ที่เมืองคูรู (Kourou) ประเทศเฟรนช์เกียนา (French Guiana) เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2536 เพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมบรอดคาสต์ในเอเชีย และต่อมาในวันที่ 8 ตุลาคม 2537 จึงได้มีการส่งดาวเทียมไทยคม 2 ขึ้นสู่วงโคจร ดาวเทียมไทยคม 1A และไทยคม 2 ให้บริการย่านความถี่ C-Band ครอบคลุมประเทศไทย สปป.ลาว กัมพูชา เมียนมา เวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และชายฝั่งตะวันออกของประเทศจีน และให้บริการในย่านความถี่ Ku-Band ครอบคลุมประเทศไทยและประเทศในแถบอินโดจีน โดยไทยคมถือเป็นผู้ประกอบการดาวเทียมรายแรกในภูมิภาคที่ให้บริการส่งสัญญาณออกอากาศรายการโทรทัศน์ในย่านความถี่ KU-Band รวมถึงบริการส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมถึงผู้รับตามบ้าน (Direct-to-Home) และยังเป็นผู้บุกเบิกนำเทคโนโลยีบีบอัดสัญญาณ MPEG-2/DVB มาใช้เป็นรายแรกของโลก

การครอบคลุม[แก้]

แผนที่แสดงการให้บริการของไทยคม 1A

ดาวเทียมไทยคม 1A ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย ประเทศลาว ประเทศกัมพูชา ประเทศเมียนมาร์ ประเทศมาเลเซีย ประเทศเวียดนาม ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศเกาหลีใต้ ประเทศญี่ปุ่นและประเทศจีน

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

1.ดาวเทียมไทยคมสืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2024

2.Thaicom 1สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2024

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]