โรงเรียนสว่างบริบูรณ์วิทยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนสว่างบริบูรณ์วิทยา
ตราโรงเรียนสว่างบริบูรณ์วิทยา แบบที่ 2 เป็นตราที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นตราที่ใช้เป็นทางการ
ข้อมูล
ชื่ออื่นส.บ., SB
ประเภทโรงเรียนโรงเรียนเอกชน
คำขวัญไทย: ความรู้ คู่คุณธรรม
ก่อตั้ง21 มีนาคม 2544
เขตการศึกษาเขต 18
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ
ผู้อำนวยการอรุณรัตน์ สวัสดิ์ชุติตระกูล
ระดับปีที่จัดการศึกษาเตรียมอนุบาล อนุบาลปีที่ 1–6 ประถมศึกษาปีที่ 1–6 มัธยมศึกษาปีที่ 1–6
เพศโรงเรียนสหศึกษา
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน
สีเหลือง-แดง
เพลงเพลงปณิธานสว่าง
มาร์ชสว่างบริบูรณ์ (เวอร์ชันภาษาไทย และภาษาจีน)
ชื่อโรงเรียน(ภาษาอังกฤษ)Sawangboriboonwittaya School
ชื่อโรงเรียน(ภาษาจีน)明满学校
ต้นไม้ประจำโรงเรียนต้นเขล็ง
เว็บไซต์www.sb-school.ac.th
ตราโรงเรียนสว่างบริบูรณ์วิทยา แบบที่ 1 นี้เป็นตราเดิมของโรงเรียนและได้มีปรับเปลี่ยนใหม่

โรงเรียนสว่างบริบูรณ์วิทยา เป็นโรงเรียนแบบสหศึกษาของมูลนิธิสว่างบริบูรณ์ธรรมสถาน ที่ตั้งเลขที่ 111 หมู่ 5 และ 13 หมู่ 6 ตำบลหนองปรือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี สังกัด สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดชลบุรี และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ได้รับอนุญาตจัดตั้ง เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2544 ปัจจุบันเปิดสอนระดับชั้น เตรียมอนุบาลถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย [2]

ประวัติ[แก้]

30 มิถุนายน 2537 มีการประชุมผลสำเร็จของงานล้างป่าช้า เก็บศพไร้ญาติครั้งที่ 4 ของมูลนิธีสว่างบริบูรณ์ธรรมสถาน คณะกรรมการบริหารมูลนิธิฯ ได้ปรารภและปรึกษาหารือกันในที่ประชุมว่า ควรจะมีการสร้างโรงเรียนของมูลนิธิฯ ขึ้นมา โดยสอนตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ แต่เพิ่มหลักสูตรภาษาจีนเข้ามาเสริม เพื่อรองรับนักเรียนที่ผู้ปกครองต้องการให้บุตรหลานได้เรียนภาษาจีน และเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปที่ต้องการเรียนรู้ภาษาจีน ได้เข้ามาศึกษา เพื่อนำไปประกอบอาชีพในกิจการต่างๆ โดยเฉพาะธุรกิจการท่องเที่ยว ซึ่งในปีหนึ่งๆ จะมีนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก มาเที่ยวในเมืองพัทยา การเปิดโรงเรียนสอนภาษาจีนในเมืองพัทยา จึงนับว่าเป็นโอกาสอันดีที่จะได้มีโรงเรียนสอนภาษาจีนที่ได้มาตรฐานสากล เป็นที่เชิดหน้าชูตาของมูลนิธิฯ ของเมืองพัทยา และชาวอำเภอบางละมุง

10 มกราคม 2538 ในการประชุมใหญ่มูลนิธิฯ ได้เสนอให้มีการจัดตั้งโรงเรียน เข้าสู่วาระที่ประชุม เพื่อขอมติในที่ประชุมอนุมัติจัดตั้งโรงเรียน และคณะกรรมการบริหารทุกท่าน ต่างก็เห็นชอบ และมีมติในที่ประชุมเป็นเอกฉันท์ให้จัดตั้งโรงเรียน และได้มอบหมายให้คุณวิสิทธิ์ ชวลิตนิติธรรม ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบถึงความคืบหน้าของโครงการสร้างโรงเรียนมาตลอด และได้เชิญชวนกรรมการไปดูสถานที่ก่อสร้าง และร่วมกันกำหนดแนวที่ดิน เพื่อให้ช่างเขียนแบบอีกทั้งเข้าปรึกษาและขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ในกระทรวงศึกษาธิการ และนำแบบตัวอย่างอาคารเรียน และห้องเรียนตามแบบมาตรฐานของกระทรวงฯมาเป็นแบบอย่างให้ช่างเขียนแบบและวิศวกรคำนวณ

12 มกราคม 2542 คณะกรรมการได้ร่วมพิจารณาแบบพิมพ์เขียว เพื่อสรุปแบบก่อสร้าง เพื่อจะได้ทำการยื่นขออนุญาตก่อสร้าง พร้อมกับเชิญชวนให้กรรมการช่วยสรรหาผู้รับเหมาเข้ามาร่วมประมูลการก่อสร้างโรงเรียนสว่างบริบูรณ์วิทยา

13 กันยายน 2542 คณะกรรมการได้จัดตั้ง คณะกรรมการ 1 ชุด เพื่อตรวจสอบเอกสารต่างๆ ในการก่อสร้าง และแบบก่อสร้าง สัญญาจ้าง ตรวจสอบผู้รับเหมา เปิดซองประมูลการก่อสร้าง

15 ตุลาคม 2542 คณะกรรมการเปิดซองประมูล แต่เห็นว่า ราคาที่เสนอมานั้นสูงเกินไป จึงได้เสนอให้มูลนิธิฯเป็นผู้สร้างเอง เพราะเชื่อว่ามูลนิธิฯสามารถจัดสร้างได้ในต้นทุนที่ต่ำกว่า และได้มอบหมายให้คุณนิติเรื่องรัตนากรไปถอดแบบราคาที่ควรจะเป็นเพื่อนำมาเสนออีกครั้ง

16 พฤศจิกายน 2542 คณะกรรมการได้สรุปให้ ห้างหุ้นส่วน ช.ชูช่าง เป็นผู้เหมาค่าแรงในการก่อสร้างโรงเรียน และได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการพิจารณาจัดซื้อวัสดุในการก่อสร้างโรงเรียน

25 มกราคม 2543 คณะกรรมการมูลนิธิฯ ได้อัญเชิญ ท่านโป๊ยเซียนโจ่วซือ (8 เซียน) ประทับทรง ทำพิธิเปิดงานสร้างอาคารโรงเรียน

21 มีนาคม 2544 โรงเรียนสว่างบริบูรณ์วิทยา ได้รับใบอนุญาตให้เปิดรับนักเรียนเพื่อเข้าเรียนในปีการศึกษา 2544 โดยรับนักเรียนตั้งแต่ชั้น อนุบาลปีที่ 1 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และได้เปิดทำการสอนเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2544 ปีพ.ศ. 2547 ก่อสร้างอาคารเรียน 2 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 3 ชั้น 12 ห้องเรียน 1 หลัง

ปีพ.ศ. 2551 ได้ต่อเติมอาคารเรียน 2 เพิ่ม รวมเป็นห้องเรียนทั้งหมด 30 ห้องเรียน งบประมาณการก่อสร้าง รวมสื่ออุปกรณ์เป็นเงิน 15,000,000 บาท

ปีพ.ศ. 2552 ก่อสร้างอาคารเรียน 8 ชั้น แล้วเสร็จสมบูรณ์และใช้ในการเรียนการสอน ปีการศึกษา 2554 โดยใช้งบประมาณในการก่อสร้าง พร้อมค่าสื่อ และอุปกรณ์ตกแต่งรวม 100,000,000 บาท อาคารนี้ประกอบด้วยห้องเรียนทั้งหมด 47 ห้อง

ปีพ.ศ. 2556 ก่อสร้างอาคารอนุบาล แล้วเสร็จสมบูรณ์และใช้ในการเรียนการสอน ปีการศึกษา 2557 เพื่อรองรับเด็กอนุบาลที่มีแนวโน้มมากขึ้นทุกปี และรองรับ อนุบาล แผนการเรียนสามภาษา

ปีพ.ศ. 2559 เริ่มก่อสร้างสนามกีฬาอเนกประสงค์ เพื่อใช้ในการเรียนการสอนวิชาพลศึกษา และใช้รองรับนักเรียนที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกๆปี

ปัจจุบันโรงเรียนสว่างบริบูรณ์วิทยาเปิดสอนระดับชั้นก่อนปฐมวัย ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6[3]

ข้อมูลทั่วไป[แก้]

วันสถาปนาโรงเรียน : ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2544

อัตลักษณ์โรงเรียน : "ภาษาจีนเราเรียนรู้ เพื่อมุ่งสู่สากล"

เอกลักษณ์โรงเรียน : "สืบสานวัฒนธรรมจีน"

ปีการศึกษา 2558

มีนักเรียน ทั้งหมด 4500 คน บุคลากรครูจำนวน 200 คน (คนไทย 165 คน ครูจีน 25 คน และครูต่างชาติ 10 คน)

การจัดการเรียนการสอน[แก้]

การจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนสว่างบริบูรณ์วิทยา แบ่งเป็นทั้งหมด 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ดังนี้
1. ภาษาไทย
2. คณิตศาสตร์
3. วิทยาศาสตร์
3.1) วิทยาศาสตร์
3.2) เทคโนโลยี
4. สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
5. การงานอาชีพ
6. สุขศึกษาและพลศึกษา
7. ศิลปะ
8. ภาษาต่างประเทศ
8.1) ภาษาจีน
8.2) ภาษาอังกฤษ

อ้างอิง[แก้]

  1. โรงเรียนสว่างบริบูรณ์วิทยา
  2. "โรงเรียนสว่างบริบูรณ์วิทยา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-05-30. สืบค้นเมื่อ 2023-05-30.
  3. "โรงเรียนสว่างบริบูรณ์วิทยา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-05-30. สืบค้นเมื่อ 2023-05-30.