โมดูลัสของระยะทาง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โมดูลัสของระยะทาง เป็นหนึ่งในวิธีการบอกระยะทางในทางดาราศาสตร์

การจำกัดความ[แก้]

โมดูลัสของระยะทาง คือ ผลต่างของความส่องสว่างปรากฏ และความส่องสว่างสัมบูรณ์ ของวัตถุทางดาราศาสตร์ มาจากการจำกัดความของแมกนิจูดว่าเป็นลอการิทึมของอัตราส่วนของฟลักซ์ที่ได้จากการสังเกตของวัตถุทางดาราศาสตร์:

ความสว่างที่มองเห็นได้ของแหล่งแสงเกี่ยวข้องกับระยะทางตามกฎกำลังสองผกผัน - แหล่งแสงที่อยู่ห่างออกไปเป็นสองเท่าจะมีความสว่างเหลือเพียงหนึ่งในสี่เท่า สำหรับวัตถุเดี่ยวหรือสองวัตถุที่มีความสว่างเท่ากัน สามารถแทนค่าด้วย เนื่องจาก

แมกนิจูดสัมบูรณ์มีการนิยาม คือ แมกนิจูดปรากฏของวัตถุที่มองเห็นจากระยะห่าง 10 พาร์เซก และสมการแมกนิจูดสามารถเขียนได้ว่า:

จัดเรียงลอการิทึม

แทนค่า โมดูลัสของระยะทาง ระยะทางในหน่วยพาร์เซกสามารถเขียนได้ว่า

ความไม่แน่นอนของระยะทางในหน่วยพาร์เซก (δd) สามารถคำนวณได้จากความไม่แน่นอนในโมดูลัสของระยะทาง (δμ) จาก

ซึ่งมาจากการวิเคราะห์ข้อผิดพลาดมาตรฐาน[1]

อ้างอิง[แก้]

  1. J. R. Taylor (1982). An introduction to Error Analysis. Mill Valley, California: University Science Books. ISBN 0-935702-07-5.