ข้ามไปเนื้อหา

แรทคิง (เต่านินจา)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แรทคิง
แรทคิงเวอร์ชันซีรีส์โทรทัศน์ ค.ศ. 2003
ข้อมูลการจัดพิมพ์
ผู้จัดพิมพ์มิราจสตูดิโอส์
อาร์ชีคอมิกส์
ไอดีดับเบิลยู พับลิชชิง
ปรากฏตัวครั้งแรกเทลส์ออฟเดอะทีนเอจมิวแตนต์นินจาเทอร์เทิลส์ #4 (กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1988)
สร้างสรรค์โดยจิม ลอว์สัน
ข้อมูลในเรื่อง
นามแฝงอสุรกาย, ผี, เดอะแรท, ฮานทาน, นักฆ่า, สุดยอดนักฆ่า, ดร. วิกเตอร์ ฟาลโค
สังกัดทีมเดอะแพนธีอัน
ความสามารถสามารถสื่อสารกับหนูและควบคุมหนูด้วยกระแสจิต
เสริมความแข็งแกร่ง
เพิ่มความเร็วและความคล่องตัว
การอำพรางตัว
การฟื้นตัวจากการบาดเจ็บในอัตราที่เหนือมนุษย์

แรทคิง (อังกฤษ: Rat King) เป็นตัวละครจากแฟรนไชส์เต่านินจาในหลายสื่อ ตัวละครนี้ได้รับการสร้างขึ้นโดยจิม ลอว์สัน และปรากฏตัวครั้งแรกในการ์ตูนเรื่องเทลส์ออฟเดอะทีนเอจมิวแตนต์นินจาเทอร์เทิลส์ #4 ที่เขียนโดยจิม ลอว์สัน และได้ปรากฏตัวหลายครั้งตั้งแต่ในหนังสือการ์ตูน รวมถึงสื่ออื่น ๆ เช่น ซีรีส์แอนิเมชัน และวิดีโอเกม

แรทคิงเกิดและเติบโตในบอสตัน กระทั่งต่อมาได้อพยพมาอยู่ที่นิวยอร์ก เขายังคงเป็นหนึ่งในตัวละครที่ลึกลับยิ่งกว่าในเรื่องราวเต่านินจา ด้วยรูปลักษณ์ที่หลากหลายทำให้เขาเป็นทั้งวายร้าย, ตัวละครที่ไม่เข้าข้างใคร และแม้กระทั่งพันธมิตรของเต่านินจา แรทคิงมีเครื่องแต่งกายที่โดดเด่น ซึ่งประกอบด้วยผ้าขี้ริ้วที่สกปรกและขาดรุ่งริ่ง รวมทั้งที่เด่นที่สุดคือมีผ้าพันแผลหลายแบบปกคลุมร่างกายของเขา นอกจากนี้ แรทคิงมีอิทธิพลทางกระแสจิตอย่างเห็นได้ชัดเหนือเหล่าหนู

การปรากฏตัว[แก้]

มิราจคอมิกส์[แก้]

ในการ์ตูนเรื่องเต่านินจาของมิราจสตูดิโอส์ แรทคิงปรากฏตัวครั้งแรกในเทลส์ออฟเดอะทีนเอจมิวแตนต์นินจาเทอร์เทิลส์ #4 ในฐานะศัตรูหลักของเรื่อง โดยหลังจากอาศัยอยู่ในหนองน้ำเป็นเวลาหลายเดือน แรทคิง (ซึ่งยังไม่มีชื่อจนกว่าจะจบฉบับดังกล่าว) ได้ตัดสินใจเข้าไปในนิคมอุตสาหกรรมร้างที่อยู่ใกล้เคียง และใช้เป็นที่กำบังสำหรับฤดูหนาวที่จะมาถึง ที่นั่นเอง แรทคิงได้พบเต่านินจากับเคซีย์ โจนส์ ที่เป็นเพื่อนของพวกเขาโดยบังเอิญ ซึ่งมาที่นิคมอุตสาหกรรมดังกล่าวเพื่อฝึก และความเชื่อที่ว่าพวกเต่านินจากับเคซีย์เป็น "อสุรกาย" อื่น ๆ ที่ต้องการยึดอาณาเขตของเขา แรทคิงจึงแอบตามพวกเขาไปทั่วทั้งนิคม กระทั่งจับไมเคิลแองเจโลและปล่อยให้เขาถูกหนูกัดกิน (แต่ภายหลังไมเคิลแองเจโลได้หลบหนีไป) ในที่สุด แรทคิงก็พ่ายแพ้ต่อเลโอนาร์โดจากการต่อสู้กันตัวต่อตัว โดยปาดาวกระจายหลายอันมาที่เขา ซึ่งทำให้เขาเสียสมดุล แล้วดิ่งลงไปในไซโล[1]

ภายหลัง แรทคิงได้กลับมาในช่วงโค้งสุดท้ายของซีรีส์มิราจ ในช่วงซิตีแอตวอร์ ซึ่งศพของเขาสื่อสารกับอาจารย์สปลินเตอร์[2]

ขบวนการเต่านินจา (ค.ศ. 1987–1996)[แก้]

แม้จะเป็นตัวละครรองในมิราจคอมิกส์ในตอนที่เริ่มออกอากาศ แต่แรทคิง (ให้เสียงโดยทาวน์เซนด์ โคลแมน) ก็โดดเด่นในฐานะตัวละครประจำในแอนิเมชันซีรีส์ขบวนการเต่านินจา ค.ศ. 1987 โดยเป็นหนึ่งในตัวร้ายไม่กี่ตัวจากมิราจคอมิกส์ที่ทำเป็นการ์ตูนดังกล่าว (ตัวอื่น ๆ ได้แก่ ชเรดเดอร์, ฟุตแคลน, ไทรเซราทอนส์ และ ดร. สต็อกแมน) ตัวการ์ตูนฉบับเทียบของแรทคิงค่อนข้างไม่สอดคล้องกันในบางเรื่องเกี่ยวกับเวอร์ชันคอมิกของเขา โดยแสดงด้วยผมสีบลอนด์หรือสีส้มแทนที่จะเป็นสีดำและมีเครื่องแต่งกายที่เปลี่ยนแปลงเล็กน้อย ซึ่งการปรากฏตัวสองสามครั้งแรกในการปรากฏตัวดังกล่าวได้ทำให้เขาควบคุมหนูด้วยฟลูต (อย่างนักเป่าปี่แห่งฮาเมิลน์) แทนดวงจิตของเขาเหมือนในตอนต่อ ๆ มา ที่แม้แต่สปลินเตอร์ก็ได้รับผลกระทบจากเสียงดนตรี และเกือบจะสังหารพวกเต่านินจาในการต่อสู้ครั้งหนึ่ง[3] แรทคิงในเวอร์ชันการ์ตูนดังกล่าวยังได้รับการพรรณนาว่ามีความฉลาดสูง โดยแสดงให้เห็นว่าสามารถรังสรรค์สิ่งต่าง ๆ เช่น การผสมสารเคมีและระเบิดต่าง ๆ[4][5]

อาร์ชีคอมิกส์[แก้]

ในซีรีส์ทีนเอจมิวแตนต์นินจาเทอร์เทิลส์ของอาร์ชีคอมิกส์ แรทคิงได้รับการขนานนามว่าท่านลอร์ดฮานทาน ซึ่งการปรากฏตัวครั้งแรกของแรทคิงในอาร์ชีคอมิกส์นี้อยู่ในฉบับที่ 11 โดยที่พวกเต่าได้พบเขาขณะค้นหาชเรดเดอร์ในท่อระบายน้ำ แรทคิงยอมให้พวกเต่าผ่านเขาไปโดยไม่มีอะไรขัดขวาง และบอกพวกเขาว่าชเรดเดอร์อยู่ที่ไหน หลังจากที่เลโอนาร์โดพิสูจน์ว่าเขาและพี่น้องหมายถึงเขาและหนูของเขาไม่เป็นอันตราย[6]

แรทคิงมีบทบาทเพิ่มเติมใน "เดอะฟิวเจอร์ชาร์กทริโลจี" ซึ่งเผยให้เห็นว่าเขายังคงมีบทบาทต่อไปอีกหลายทศวรรษในอนาคต (โดยไม่แสดงร่องรอยของการแก่เลย) และหลังจากที่โดนาเตลโลเวอร์ชันอนาคตได้ทำลายล้างประชากรหนูส่วนใหญ่ของโลก ในอนาคตที่น้ำท่วมหลังภาวะโลกร้อนทำให้หนูเข้ามาในบ้านในเมืองต่าง ๆ แรทคิงได้ประกาศสงครามกับเขาและพันธมิตรที่สังหาร "ลูกหลาน" ของเขาไปเป็นจำนวนมาก[7]

อ้างอิง[แก้]

  1. Kevin Eastman and Peter Laird (w), Jim Lawson (p), Ryan Brown (i). "I, Monster" Tales of the Tales of the Teenage Mutant Ninja Turtles 4 (January, 1988), Mirage Studios
  2. Teenage Mutant Ninja Turtles v.1, #55-59
  3. Buzz Dixon (writer) (1989-10-10). "Enter the Rat King". Teenage Mutant Ninja Turtles. ฤดูกาล 3. ตอน 33. Various.
  4. David Wise (writer) (1989-11-29). "Leatherhead Meets the Rat King". Teenage Mutant Ninja Turtles. ฤดูกาล 3. ตอน 55. Various.
  5. David Wise (writer) (1994-09-24). "Wrath of the Rat King". Teenage Mutant Ninja Turtles. ฤดูกาล 8. ตอน 171. Various.
  6. Ryan Brown and Dean Clarrain (w), Jim Lawson (p), Gary Fields (i). "White Light" Teenage Mutant Ninja Turtles Adventures 11 (June, 1990), Archie Comics
  7. Chris Allan and Dean Clarrain (w), Chris Allan (p), Brian Thomas (i). "Past Lives" Teenage Mutant Ninja Turtles Adventures 43 (April, 1993), Archie Comics

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]