เอฟเอคัพ รอบชิงชนะเลิศ 2019

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอฟเอคัพ รอบชิงชนะเลิศ 2019
สนามกีฬาเวมบลีย์
รายการเอฟเอคัพ ฤดูกาล 2018–19
วันที่18 พฤษภาคม ค.ศ. 2019
สนามสนามกีฬาเวมบลีย์, ลอนดอน
ผู้เล่นยอดเยี่ยม
ประจำนัด
เกฟิน เดอ เบรยเนอ (แมนเชสเตอร์ซิตี)
ผู้ตัดสินเควิน เฟรนด์ (เลสเตอร์เชียร์)
ผู้ชม85,854 คน
2018
2020

เอฟเอคัพ รอบชิงชนะเลิศ ปี 2019 เป็นรอบชิงชนะเลิศครั้งที่ 138 ของเอฟเอคัพ, การแข่งขันฟุตบอลถ้วยที่เก่าแก่ที่สุดในโลก. ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 2019 ที่ สนามกีฬาเวมบลีย์ ในกรุงลอนดอน, ประเทศอังกฤษ และเป็นการตัดสินกันระหว่าง แมนเชสเตอร์ซิตี และ วอตฟอร์ด. ทีมชนะเลิศจะได้ผ่านเข้าสู่การแข่งขันฟุตบอล ยูฟ่ายูโรปาลีก ฤดูกาล 2019–20 ที่รอบแบ่งกลุ่ม.[1]

เส้นทางสู่นัดชิงชนะเลิศ[แก้]

แมนเชสเตอร์ซิตี[แก้]

รอบ คู่แข่งขัน ผล
3 รอเทอรัม ยูไนเต็ด (H) 7–0
4 เบิร์นลีย์ (H) 5–0
5 นิวพอร์ต เคาน์ตี (A) 4–1
QF สวอนซี ซิตี (A) 3–2
SF ไบรตัน แอนด์ โฮฟ อัลเบียน (N) 1–0
สัญลักษณ์: (H) = สนามทีมเหย้า; (A) = สนามทีมเยือน; (N) = สนามกลาง.

ในฐานะสโมสรจาก พรีเมียร์ลีก, แมนเชสเตอร์ซิตี เริ่มต้นในรอบที่สามโดยที่พวกเขาถูกจับสลากพบกับทีมจาก แชมเปียนชิป รอเทอรัม ยูไนเต็ด ที่บ้าน. ของพวกเขา สนามกีฬาซิตีออฟแมนเชสเตอร์ แมนเชสเตอร์ซิตี ชนะ 7–0 มาจากการทำประตูของ ราฮีม สเตอร์ลิง, ฟิล โฟเดน, การทำเข้าประตูตัวเองหนึ่งประตูจาก เซมี อาจายี, กาบรีแยล เฌซุส, ริยาฏ มะห์รัซ, นิโกลัส โอตาเมนดิ และ ลีร็อย ซาเน.[2] ในรอบที่สี่, พวกเขาถูกจับสลากพบกับทีมร่วมพรีเมียร์ลีก เบิร์นลีย์ ที่บ้านโดยที่พวกเขาชนะ 5–0 จากการทำประตูของ เฌซุส, บือร์นาร์ดู ซิลวา, เกฟิน เดอ เบรยเนอ, การทำเข้าประตูตัวเองหนึ่งลูกจาก เควิน ลอง และ เซร์ฆิโอ อาเกวโร.[3] ในรอบที่ห้า, พวกเขาลงเล่นกับทีมจาก ฟุตบอลลีกทู นิวพอร์ต เคาน์ตี ในเกมเยือน. ที่สนาม ร็อดนีย์ พาเหรด ในประเทศเวลส์, แมนเชสเตอร์ซิตี ชนะ 4–1 จากประตูของ ซาเน, สองประตูจากโฟเดน และ มะห์เรซ.[4] ในรอบก่อนรองชนะเลิศ, พวกเขาจับสลากพบกับ สวอนซี ซิตี ของฟุตบอลลีกแชมเปียนชิปในเกมเยือน. ที่ประเทศเวลส์ ลิเบอร์ตีสเตเดียม พวกเขาชนะ 3–2 จากประตูของ ซิลวา, การทำเข้าประตูตัวเองหนึ่งประตูของ คริสตอฟเฟอร์ นอร์ดเฟลด์ท และ อาเกวโร.[5] ในรอบรองชนะเลิศที่สนามเป็นกลางสนามกีฬาเวมบลีย์, พวกเขาได้จับสลากพบกับทีมจากพรีเมียร์ลีก ไบรตัน แอนด์ โฮฟ อัลเบียน และได้กรุยทางเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศด้วยชัยชนะ 1–0 จากการทำประตูของ เฌซุส.[6]

วอตฟอร์ด[แก้]

รอบ คู่แข่งขัน ผล
3 โวกกิง (A) 2–0
4 นิวคาสเซิลยูไนเต็ด (A) 2–0
5 ควีนส์พาร์กเรนเจอส์ (A) 1–0
QF คริสตัลพาเลซ (H) 2–1
SF วุลเวอร์แฮมป์ตันวอนเดอเรอส์ (N) 3–2
(ต่อเวลา)
สัญลักษณ์: (H) = สนามทีมเหย้า; (A) = สนามทีมเยือน; (N) = สนามกลาง.

ในฐานะสโมสรจาก พรีเมียร์ลีก เหมือนกัน, วอตฟอร์ดเริ่มต้นในรอบที่สามเหมือนกัน. พวกเขาถูกจับสลากออกไปเยือนที่ฝั่ง เนชันแนลลีกใต้ โวกกิง. ที่ สนามกีฬาคิงฟีลด์ วอตฟอร์ด ชนะ 2–0 กับประตูที่มาจาก วิลล์ ฮิวจ์ส และ ทรอย ดีนีย์.[7] ในรอบต่อไปพวกเขาลงเล่นพบกับทีมร่วมพรีเมียร์ลีก นิวคาสเซิลยูไนเต็ด ในเกมเยือน. ที่ เซนต์เจมส์พาร์ก, วอตฟอร์ดเดินหน้าลุยต่อไปได้ด้วยการเอาชนะไปได้ 2–0 กับประตูที่มาจาก อันเดร เกรย์ และ ไอซัค ซัคเซสส์.[8] ในรอบที่ห้าพวกเขาลงเล่นพบกับทีมจากฟุตบอลลีกแชมเปียนชิป ควีนส์พาร์กเรนเจอส์ ในเกมเยือน. ที่ ลอฟตัสโรด, วอตฟอร์ดชนะ 1–0 จากประตูของ เอเตียนน์ กาปู.[9] ในรอบก่อนรองชนะเลิศพวกเขาลงเล่นพบกับทีมร่วมพรีเมียร์ลีก คริสตัลพาเลซ ในเกมเหย้า. ที่สนามเหย้าของพวกเขา วิคาริจโรด, วอตฟอร์ดชนะ 2–1 มาจากการทำคนละประตูของกาปูและเกรย์.[10] ในรอบรองชนะเลิศที่สนามเป็นกลาง สนามกีฬาเวมบลีย์ พบกับทีมร่วมพรีเมียร์ลีก วุลเวอร์แฮมป์ตันวอนเดอเรอส์, พวกเขากลับมาจากการตามหลังไปก่อน 2–0 และเป็นฝ่ายไล่ยิงแซงเอาชนะไปได้ 3–2 หลังต่อเวลาพิเศษ เพื่อไปถึงรอบชิงชนะเลิศกับสองประตูจาก ฌาราร์ต เด็วลูเฟ็ว และหนึ่งลูกโทษจากดีนีย์.[11]

เหตุการณ์ก่อนการแข่งขัน[แก้]

แมตช์[แก้]

รายละเอียด[แก้]

แมนเชสเตอร์ซิตี
วอตฟอร์ด
GK 31 บราซิล แอแดร์ซง
RB 2 อังกฤษ ไคล์ วอล์กเกอร์
CB 4 เบลเยียม แว็งซ็อง กงปานี (กัปตัน)
CB 14 ฝรั่งเศส แอมริก ลาปอร์ต
LB 35 ยูเครน ออแลกซันดร์ ซินแชนกอ
RM 20 โปรตุเกส บือร์นาร์ดู ซิลวา
CM 8 เยอรมนี อิลไค กึนโดอัน Substituted off in the 73 นาที 73'
LM 21 สเปน ดาบิด ซิลบา โดนใบเหลือง ใน 60 นาที 60' Substituted off in the 79 นาที 79'
RF 26 แอลจีเรีย ริยาฎ มะห์รัซ Substituted off in the 55 นาที 55'
CF 33 บราซิล กาบรีแยล เฌซุส
LF 7 อังกฤษ ราฮีม สเตอร์ลิง
ผู้เล่นสำรอง:
GK 49 คอซอวอ อาริจาเนต มูริช
DF 3 บราซิล ดานีลู
DF 5 อังกฤษ จอห์น สโตนส์ Substituted on in the 79 minute 79'
DF 30 อาร์เจนตินา นิโกลัส โอตาเมนดิ
MF 17 เบลเยียม เกฟิน เดอ เบรยเนอ Substituted on in the 55 minute 55'
MF 19 เยอรมนี ลีร็อย ซาเน Substituted on in the 73 minute 73'
FW 10 อาร์เจนตินา เซร์ฆิโอ อาเกวโร
ผู้จัดการทีม:
สเปน เปป กวาร์ดิโอลา
GK 1 บราซิล เอวเรลยู โกมีส
RB 21 สเปน กิโก เฟเมนิอา โดนใบเหลือง ใน 80 นาที 80'
CB 6 จาเมกา เอเดรียน มาริอัปปา
CB 15 ไอร์แลนด์เหนือ เคร็ก แคธคาร์ท
LB 25 กรีซ โฮเซ โฮเลบัส
RM 19 อังกฤษ วิล ฮิวจ์ส Substituted off in the 73 นาที 73'
CM 16 ฝรั่งเศส อาบดูลาย ดูกูเร โดนใบเหลือง ใน 22 นาที 22'
CM 29 ฝรั่งเศส เอเตียนน์ กาปู
LM 37 อาร์เจนตินา โรแบร์โต เปเรย์รา Substituted off in the 66 นาที 66'
CF 7 สเปน ฌาราร์ต เด็วลูเฟ็ว Substituted off in the 66 นาที 66'
CF 9 อังกฤษ ทรอย ดีนีย์ (กัปตัน)
ผู้เล่นสำรอง:
GK 26 อังกฤษ เบน ฟอสเตอร์
DF 2 เนเธอร์แลนด์ แดรีล ยานแมท์
DF 11 อิตาลี อดัม มาซินา
DF 27 เบลเยียม คริสเตียน คาบาเซเล
MF 8 อังกฤษ ทอม เคลเวอร์ลีย์ Substituted on in the 73 minute 73'
FW 10 ไนจีเรีย ไอแซ็ค ซัคเซสส์ Substituted on in the 66 minute 66'
FW 18 อังกฤษ อันเดร เกรย์ Substituted on in the 66 minute 66'
ผู้จัดการทีม:
สเปน ฆาบิ กราซิอา

ผู้เล่นยอดเยี่ยมประจำนัด:
เกฟิน เดอ เบรยเนอ (แมนเชสเตอร์ซิตี)

ผู้ช่วยผู้ตัดสิน:
Constantine Hatzidakis (Kent)
Matthew Wilkes (Birmingham)
ผู้ตัดสินที่สี่:
Graham Scott (Berks & Bucks)
ผู้ช่วยผู้ตัดสินสำรอง:
Edward Smart (Birmingham)
ผู้ช่วยผู้ตัดสินวิดีโอ:
Andre Marriner (Birmingham)
ผู้ช่วยผู้ตัดสินจากการใช้วีดิโอช่วยตัดสิน:
Harry Lennard (Sussex)

ข้อมูลในแมตช์[12]

  • แข่งขันครบ 90 นาที
  • ต่อเวลา 30 นาที หากเสมอกันในเวลา 90 นาที
  • ยิงจุดโทษตัดสิน หากเสมอกันในเวลา 120 นาที
  • มีตัวสำรอง 7 คน
  • เปลี่ยนตัวสำรองได้ 3 คน, แต่สามารถเปลี่ยนตัวสำรองคนที่ 4 ได้ในช่วงต่อเวลาพิเศษ

อ้างอิง[แก้]

  1. "Access List 2019/20". UEFA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-22. สืบค้นเมื่อ 6 April 2019.
  2. Johnston, Neil (6 January 2019). "Man City 7–0 Rotherham in FA Cup third round: Phil Foden with first Etihad goal – BBC Sport". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 6 April 2019.
  3. Emons, Michael (26 January 2019). "Manchester City 5–0 Burnley". BBC S;ort. สืบค้นเมื่อ 6 April 2019.
  4. Pearlman, Michael (16 February 2019). "Newport 1–4 Man City: Phil Foden double helps City into FA Cup quarter-finals". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 6 April 2019.
  5. Skelton, Jack (16 March 2019). "Swansea City 2–3 Manchester City: Sergio Agüero seals comeback in FA Cup thriller". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 6 April 2019.
  6. McNulty, Phil (1 January 1970). "Manchester City 1–0 Brighton & Hove Albion: Manchester City reach FA Cup final". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 6 April 2019.
  7. Sanders, Emma (6 January 2019). "Woking 0–2 Watford in FA Cup third round". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 7 April 2019.
  8. Mallows, Thomas (26 January 2019). "Newcastle United 0–2 Watford in FA Cup fourth round". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 7 April 2019.
  9. Johnston, Neil (15 February 2019). "Queens Park Rangers 0–1 Watford in the fifth round of the FA Cup". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 7 April 2019.
  10. Bullin, Matt (16 March 2019). "FA Cup: Watford beat Crystal Palace to reach semi-finals with Andre Gray winner". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 7 April 2019.
  11. Rostance, Tom (16 January 2016). "FA Cup semi-final: Watford 3–2 Wolves – Hornets win superb game in extra-time". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 7 April 2019.
  12. "Rules of the FA Challenge Cup competition" (PDF). The Football Association. สืบค้นเมื่อ 29 April 2019.