เสี้ยวชีวิต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สไลซ์ ออฟ ไลฟ์หรือเสี้ยวชีวิต หรืออีกนัยหนึ่งคือชีวิตประจำวัน หมายถึงการสร้างภาพหรือความบันเทิงที่เน้นในประสบการณ์ที่ธรรมดาในศิลปะและความบันเทิง ในการแสดงละคร[1] อาทิการเลียนแบบธรรมชาติ ในภาษาวรรณกรรม เป็นเทคนิคการเล่าเรื่องที่มีลำดับเหตุการณ์ และมักจะมีการจบที่ไม่แน่นอน

อนิเมะและมังงะ[แก้]

ในอนิเมะและมังงะเป็นเรื่องราวที่ไม่มีองค์ประกอบแห่งความน่าจะเป็น ซึ่งเกิดขึ้นในสถานการณ์ที่รู้จัก โดยสถานที่ประจำวันที่บ่งบอก เช่น โรงเรียนมัธยมในชุมชน และเน้นไปที่ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ซึ่งมักเป็นความสัมพันธ์ที่มีลักษณะโรแมนติก[2] ประเภทนี้ให้ความสำคัญกับ การสร้างความผูกพันทางอารมณ์กับตัวละคร[3] ความนิยมของอนิเมะแนวนี้ เริ่มเพิ่มขึ้นในช่วงกลางของทศวรรษ 1980[2] มาซายูกิ นิชิดะ เขียนว่า อนิเมะและมังงะแนว สไลซ์ ออฟ ไลฟ์ ก็ยังสามารถมีส่วนผสมของโลกแฟนตาซี บางครั้งถูกใช้เป็นเครื่องมือเพื่อแสดง ความเป็นจริง ของมนุษย์ภายใต้เงื่อนไขที่เป็นไปได้บางสิ่ง หนังสือ Understanding Manga and Anime ของ Robin E. Brenner ปี ค.ศ. 2007 กล่าวว่า ในอนิเมะและมังงะ สไลซ์ ออฟ ไลฟ์ เป็นประเภทที่มีลักษณะเหมือนกับเป็นประเภทที่คล้ายกับเรื่องประโลมโลกมากกว่าละคร โดยมี เนื้อหาไร้สาระเนื่องจากมีเหตุการณ์ดราม่าและตลกจำนวนมาก ในช่วงเวลาอันสั้นมาก ผู้เขียนเปรียบเทียบกับละครวัยรุ่นเช่น Dawson's Creek หรือ The OC ประเภทนี้ครองตลาดมังงะญี่ปุ่นเป็นส่วนใหญ่ และมักจะเน้นไปที่ความสัมพันธ์ในโรงเรียนและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล [4]

หนึ่งในประเภทย่อยของ สไลซ์ ออฟ ไลฟ์ ในอนิเมะและมังงะคือ kūki-kei (空気系,"air type") หรือ nichijō-kei (日常系, "everyday type") ในประเภทนี้ รายละเอียดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งหรือความสัมพันธ์โรแมนติกที่เต็มรูปแบบถูกลบทิ้งอย่างตั้งใจจากเรื่อง เพื่อเล่าเรื่อมีน้ำหนักเบาและไม่จริงจัง โดยเน้นไปที่ชีวิตประจำวันและการสนทนาของตัวละครสาวสวย[5] ขึ้นอยู่กับ ความเฉพาะเจาะจงของสถานที่ และความรู้สึกอบอุ่นและสุขสบายของชีวิตประจำวัน[5] ประเภท นิจิโจ-เคอิ เกิดขึ้นจากมังงะประเภท ยอนโคมะ เช่น โรงเรียนป่วนนักเรียนเป๋อ, เค-อง! ก๊วนดนตรีแป๋วแหวว และ หอป่วนก๊วนตัวแสบ [6] Yamamura อ้างว่า การเพิ่มความนิยมของประเภทย่อยนี้ในช่วงครึ่งคนึงของทศวรรษ 2000 ทำให้การท่องเที่ยวมีความนิยมมากขึ้นไปยังสถานที่ท่องเที่ยวที่ปรากฏในอนิเมะ[7]

อ้างอิง[แก้]

  1. Jewell, Elizabeth J.; Abate, Frank R., บ.ก. (September 2001). "Slice of Life". The New Oxford American Dictionary (First ed.). Oxford University Press. ISBN 0-19-511227-X.
  2. 2.0 2.1 Pasfield-Neofitou, Sarah; Sell, Cathy, บ.ก. (2016-06-01). Manga Vision: Cultural and Communicative Perspectives (ภาษาEnglish). Monash University Publishing.{{cite book}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  3. Hernández‐Pérez, Manuel (2019-12). "Otaku Tourists Out of Japan: Fictionality , Shared Memories, and the Role of National Branding in the Japanese Pilgrimages of Anime Fans in the United Kingdom". The Journal of Popular Culture (ภาษาอังกฤษ). 52 (6): 1512–1535. doi:10.1111/jpcu.12871. ISSN 0022-3840. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  4. Brenner, Robin (2007). Understanding Manga and Anime. Westport, CT: Greenwood Publishing Group. p. 112. ISBN 978-1-59158-332-5.
  5. 5.0 5.1 Yamamura, Takayoshi (2015-01-02). "Contents tourism and local community response: Lucky star and collaborative anime-induced tourism in Washimiya". Japan Forum. 27 (1): 60–61. doi:10.1080/09555803.2014.962567. ISSN 0955-5803. S2CID 143690685.
  6. Clyde, Deirdre (2020-01-02). "Pilgrimage and prestige: American anime fans and their travels to Japan". Journal of Tourism and Cultural Change (ภาษาอังกฤษ). 18 (1): 63. doi:10.1080/14766825.2020.1707464. ISSN 1476-6825. S2CID 213737486.
  7. Suan, Stevie (2013). The anime paradox : patterns and practices through the lens of traditional Japanese theater. Leiden: Global Oriental. p. 252. ISBN 978-90-04-22215-1. OCLC 844939529.