เรือสาครวิสัย

พิกัด: 13°34′02″N 100°40′56″E / 13.5673071°N 100.6821365°E / 13.5673071; 100.6821365
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

13°34′02″N 100°40′56″E / 13.5673071°N 100.6821365°E / 13.5673071; 100.6821365

M/V Sakhon Wisai at Saigon Port, Vietnam.
เรือสาครวิสัย
ประวัติ
ประเทศไทยไทย
ชื่อlist error: <br /> list (help)
ไทย: เรือสาครวิสัย
อังกฤษ: M/V Sakhon Wisai
ตั้งชื่อตาม"พระยาสาครวิสัย" (ม.ล.เป้า อิศรางกูร) อดีตเจ้ากรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวี
เจ้าของกรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม
ผู้ให้บริการศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี
ท่าเรือจดทะเบียนBangkok Thailand
Ordered30 กันยายน พ.ศ. 2548
อู่เรือlist error: <br /> list (help)
ออกแบบโดย IHI Marine Engineering Singapore
ต่อโดย Italthai Marine CO.,LTD (Thailand)
มูลค่าสร้าง1,200 ล้านบาท
ปล่อยเรือ17 มีนาคม พ.ศ. 2549
เดินเรือแรก14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
สร้างเสร็จ13 ตุลาคม พ.ศ. 2551
ท่าจอดศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี , สมุทรปราการ, ประเทศไทย
รหัสระบุlist error: <br /> list (help)
• IMO: 9463968
• MMSI: 567348000
• Callsign: HSB3901
สถานะIn active service
ลักษณะเฉพาะ
ชั้น: Nippon Kaiji Kyokai
ประเภท: เรือฝึก
ขนาด (ตัน): 4,200 Gross tonnage
1,500 Deadwieght tons
ความยาว: 90.00 เมตร (ตลอดลำ)
82.00 เมตร (แนวน้ำ)
ความกว้าง: 16.80 เมตร
กินน้ำลึก: 6.2 เมตร
ระบบพลังงาน: •เครื่องจักรใหญ่ MAN B&W 7L32/40 กำลัง 3,500 kW @ 750 rpm
• เครื่องจักรช่วย 3 x Daihatsu 6DC-17 480 kW @ 1000 rpm
•เครื่องกำเหนิดไฟฟ้า 3 x Nishishiba 380 V 3-Phase, 50 Hz, 450 kW
ระบบขับเคลื่อน: •1 x CPP Conventional package MAN Alpha Propulsion Germany
•1 x 8 tonnes, 800 kW CPP Tunnel Thruster Kamome TCB-90MA
ความเร็ว: • 15.5 Knots
พิสัยเชื้อเพลิง: • 6,000 ไมล์ทะเล
ลูกเรือ: •Cadet 200 persons
•Teacher 20 persons
•Crew 32 persons

เรือสาครวิสัย (M.V.SAKHON WISAI) เรือฝึกลำที่ 3 ของศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี ใช้วงเงิน 1,112 ล้านบาท ใช้เวลาก่อสร้าง 700 วัน สิ้นสุดสัญญาเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2551 ออกแบบโดย IHI Marine Engineering Singapore ต่อโดยบริษัท Italthai Marine (Thailand) ขนาด 4200 ตันกรอส 1500 เดทเวทตัน ระยะทำการ 6,000 ไมล์ทะเล มีความยาว 92 เมตร กว้าง 16.80 เมตร สูง 9.30 เมตร กินน้ำลึก 6 เมตร เครื่องยนต์ขับ สามารถรับนักเรียนฝึกได้ 200 คน ครูฝึก 20 คน นายประจำเรือ 32 คน ภายในเรือประกอบด้วย ห้องเรียน ห้องจำลองการเดินเรือ และอุปกรณ์ที่ใช้ทำการฝึก

ประวัติ[แก้]

ภายหลังที่กรมเจ้าท่า ว่าจ้างบริษัท อิตัลไทย มารีน จำกัด เพื่อต่อสร้างเรือฝึกนักเรียนเดินเรือพาณิชย์นาวี ตามสัญญา ระบุว่าทางบริษัทได้เริ่มเซ็นสัญญารับจ้างตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2548 ที่ผ่านมา แต่เริ่มดำเนินงานต่อสร้างตั้งแต่ 17 มีนาคม 2549 โดยมีระยะเวลา 700 วัน หมดสัญญา 14 กุมภาพันธ์ 2551 และได้ขยายอายุสัญญาออกไปอีก 180 วันตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่ให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากเหตุน้ำท่วม ดังนั้น จึงหมดอายุสัญญา 12 สิงหาคม 2551 แต่ต่อสร้างแล้วเสร็จในวันที่ 13 ตุลาคม 2551 ที่ผ่านมา และได้จอดเรือทิ้งไว้ประมาณเกือบ 2 ปี เนื่องจากกรมเจ้าท่าไม่ยอมรับ เนื่องจากพบว่าเกิดการผิดเงื่อนไขของวัสดุที่ใช้ในการประกอบเรือลำ ดังกล่าว

นายชลอ คชรัตน์ อธิบดีกรมเจ้าท่า ระบุเกี่ยวกับสาเหตุที่กรมเจ้าท่าไม่สามารถจ่ายเงินค่างวดที่เหลือให้กับผู้รับจ้างได้นั้น เนื่องจากคณะกรรมการตรวจการจ้างได้พบข้อบกพร่องที่ไม่เป็นไปตามสัญญาบางประการ โดยเฉพาะวัสดุที่นำมาประกอบเรือ ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้สั่งการให้ผู้รับจ้างแก้ไขแล้ว แต่ผู้รับจ้างไม่ได้ดำเนินการ ประกอบกับที่ผ่านมาผู้รับจ้างได้ฟ้องต่อศาลปกครอง ดังนั้นกรมฯ จึงให้ระงับการจ่ายเงินทั้งหมด โดยเมื่อต้นเดือนมกราคม 2552 ที่ผ่านมา อิตัลไทย มารีน ได้ไปฟ้องศาลปกครอง เพื่อให้เราจ่ายเงินค่างวด

ซึ่งที่ผ่านมาเจ้าท่าก็ได้หารือไปยังฝ่ายกฎหมาย และฝ่ายกฎหมายได้ขอให้รอคำสั่งศาลออกมาก่อนว่าจะทำอย่างไรต่อไป แต่เพื่อไม่ให้เกิดวามล่าช้า เราเลยตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง เพื่อทำงานในส่วนของเรา ตามที่กรมบัญชีกลางมอบอำนาจให้เราสามารถตัดสินใจได้ โดยคณะทำงานที่ตั้งมานั้น จะเข้าไปดูวัสดุก่อนว่าวัสดุใดที่ไม่ตรงตามสเปก หรือเป็นของจากประเทศจีน ไม่ใช่ของสิงคโปร์ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ สำหรับอุปกรณ์ที่ไม่ตรงตามสเปก อาทิ สายไฟ ชุดเกียร์ทด ขนาดใบจักร ระบบดับเพลิง และระบบตรวจควันและความร้อน

และเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2553 ที่ผ่านมา บริษัท อิตัลไทย มารีน จำกัด ผู้รับจ้างต่อสร้างเรือฝึกนักเรียนเดินเรือพาณิชย์และอาคารเครื่องมือฝึกจำลอง ให้กับกรมเจ้าท่า ในวงเงิน 1,135 ล้านบาท ได้นำผู้แทนผู้ประกอบการเรือไทย ตัวแทนสมาคมอู่ต่อเรือไทย สมาคมต่อเรือและซ่อมเรือไทย ผู้แทนสถาบันการศึกษาเกี่ยวกับพาณิชย์นาวี สมาชิกวุฒิสภา ผู้แทนกองทัพเรือ กรมเจ้าท่าและสื่อมวลชน เพื่อพิสูจน์ประสิทธิภาพของเรือ เพื่อประกอบการใช้ดุลพินิจในการรับมอบเรือของกรมเจ้าท่า ทั้งนี้ ภายหลังการทดสอบ นายชลอกล่าวข้อสรุปของกรณีดังกล่าวจะต้องมีการตั้งคณะกรรมการเพื่อเจรจาร่วมกับบริษัท อิตัลไทย มารีน เพื่อเจรจาขอปรับลดราคาเรือ

"ข้อสรุปตอนนี้ จะต้องมีการเจรจากับอิตัลไทย มารีน เพื่อจะขอปรับลดราคาเรือจึงตั้งคณะกรรมการเพื่อเจรจาต่อรองราคา โดยมี เรือตรีปรีชา เพ็ชรวงศ์ รองอธิบดีกรมเจ้าท่าเป็นประธาน เพื่อตรวจสอบและเจรจากับทางบริษัท อิตัลไทย มารีน เพื่อขอให้ปรับลดค่าจ้างในการต่อเรือลง ซึ่งจะใช้เวลา 10 วัน ก็จะสามารถสรุปและตกลงกับทางบริษัทได้ก็จะสามารถนำเรือดังกล่าวมาใช้สำหรับฝึกอบรมนักเรียนพาณิชย์นาวีได้ภายในต้นปี 2554 แต่ถ้าไม่สามารถที่จะตกลงกันได้ก็ต้องมีการฟ้องร้องค่าเสียหายต่อไป" นายชลอ กล่าว

สำหรับโครงการเรือฝึกสาครวิสัย ของศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี วงเงิน 1,135 ล้านบาท รวมอาคาร 6 ชั้น พร้อมห้องฝึกจำลองและห้องประชุมขนาด 2,250 ตารางเมตร ใช้เวลาก่อสร้าง 700 วัน สิ้นสุดสัญญาเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2551 โดยอาคารเรียนหลังใหม่จะสร้างเสร็จเดือนมิถุนายน 2553 เรือฝึกจะใช้ในการฝึกฝนบุคลากร เพื่อให้มีความรู้ความชำนาญในการเดินเรือ โดยจะมีการจำลองสถานการณ์เสมือนจริง ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่คาดฝัน ขณะเดินเรือ ถือว่าเป็นการฝึกทักษะให้กับบุคลากรที่เข้ารับการฝึกอบรมในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า โดยสามารถใช้ความเร็วในการเดินทางได้ประมาณ 15.5 นอต หรือเทียบเป็น 1 นอต เท่ากับ 1.8 กิโลเมตร

ที่ผ่านมากรมเจ้าท่า มีเรือฝึกจำลอง 1 ลำ เป็นเรือเล็กขนาด 1,000 ตัน ไม่เพียงพอต่อการผลิตและฝึกอบรมบุคลากร เพราะสามารถรองรับบุคลากรได้ประมาณ 60 คนเท่านั้น ในขณะที่เรือฝึกจำลองลำใหม่ จะรองรับได้ประมาณ 250 คน ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรประจำเรือได้ในระดับหนึ่ง และในอนาคตจะขยายขีดความสามารถ โดยการรับฝึกอบรมบุคลากรต่างชาติด้วย ทั้งนี้ เนื่องจากขณะนี้ทั้งประเทศไทยและต่างชาติต้องการที่จะขยายตลาดสายทางการเดินเรือระหว่างประเทศในส่วนของภาคการขนส่งสินค้าเป็นจำนวนมาก ซึ่งหลายประเทศให้ความสนใจเรื่องนี้ จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่เราจะต้องผลักดันการผลิตบุคลากรด้านนี้ และคาดว่าศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวีจะรับนักเรียนได้ปีละ 600 คน จากปัจจุบันรับนักเรียนพาณิชย์นาวีได้ปีละ 150 คน ซึ่งหลักสูตรในการฝึกใช้เวลา 5 ปี

ส่วนอายุการใช้งานของเรือลำดังกล่าว จะมีอายุการใช้งานกว่า 30 ปี โดยจะมีการซ่อมบำรุงทุกปี ปีละ 1 ครั้ง โดยเป็นลักษณะการตรวจเช็คสภาพและความพร้อม และจะมีการซ่อมบำรุงใหญ่ 2 ปีต่อครั้ง ทั้งนี้ เพื่อเป็นการตรวจถึงสภาพท้องเรือที่มีการใช้งานมาเป็นระยะเวลานานให้คงสภาพการใช้งานต่อไป