เรือนจำอีซอเลียตซียา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ที่ตั้งของอดีตหอศิลป์และโรงงาน อีซอเลียตซียา (ยูเครน: Ізоля́ція, อักษรโรมัน: Izoliátsiia นิยมถอดเป็นอักษรโรมันว่า Izolyatsia) ถูกนำมาใช้เป็นเรือนจำในดอแนตสก์ ประเทศยูเครน ตั้งขึ้นหลังเมืองถูกกองทัพรัสเซียเข้ายึดครองในปี 2014 เรือนจำตั้งขึ้นหลังตัวแทนของสาธารณรัฐประชาชนดอแนตสก์เข้ายึดครองพื้นที่ของมูลนิธิศิลปะอีซอเลียตซียา (Izolyatsia Arts Foundation) และเปลี่ยนมาใช้เป็นพื้นที่ปิดสำหรับกระทรวงความมั่นคงของรัฐ (State Security Ministry)[1][2] ที่ซึ่งถูกนำมาใช้งานสำหรับเป็นลานฝึกนักรบของสาธารณรัฐฯ และเป็นโรงเก็บอาวุธยุทโธปกรณ์และยานพาหนะ[3][4] สถานะของเรือนจำนั้นเป็นความลับ[5] เนื่องจากผู้ถูกคุมขังมาจากการตัดสินที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายโดยศาลของสาธารณรัฐฯ และปราศจากการตรวจสอบอย่างถี่ถ้วน[6][7] มีหลายกรณีที่เป็นที่ประจักษ์ว่าผู้ถูกคุมขังที่นี่ถูกทรมานให้สารภาพ[8][9][10]

ประวัติศาสตร์[แก้]

อาคารสร้างขึ้นในปี 1955 เพื่อเป็นโรงงาน ก่อนจะปิดตัวลงในปี 1990[11] ในปี 2010 ถึง 2014 มูลนิธิอิโซลียัตซีอาเข้าใช้งานพื้นที่[12] ชื่อนี้มาจากชื่อเดิมของโรงงานซึ่งแปลว่า "ฉนวน" อันมาจากผลิตภัณฑ์พวกฉนวนที่โรงงานเคยผลิต ในอีกแง่หนึ่ง คำนี้ยังอาจหมายถึง "การแยกอยู่โดดเดี่ยว" (isolation) ก็ได้

นักโทษที่มีชื่อเสียง[แก้]

ข้อมูลจากปี 2014 พบว่าเรือนจำมีนักโทษมากกว่า 100 คน[13] นักโทษที่มีชื่อเสียงที่ถูกคุมขังที่นี่เช่น Valentina Buchok, Galina Gaeva,[7] Stanislav Aseyev เป็นต้น[14]

สื่อสร้างสรรค์[แก้]

  • 2018: รวมเรียงความโดย Stanislav Aseyev, V іzolyatsiï (In isolation).[15]
  • 2020: ภาพยนตร์สารคดี Kontstabir "Izoliatsiia" (ค่ายกักกันอีซอเลียตซียา) ผลงานกำกับโดย Sergii Ivanov[10]
  • Stanislav Aseyev (2021), The Torture Camp on Paradise Street, ลวิว: The Old LionWikidata Q107392497

อ้างอิง[แก้]

  1. "Боевики ДНР захватили донецкую "Изоляцию"". Украинская правда (ภาษารัสเซีย). สืบค้นเมื่อ 8 October 2020.
  2. "Prisons and torture houses of Donetsk: Izolyatsiya factory". jfp.org.ua (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-26. สืบค้นเมื่อ 8 October 2020.
  3. ""Там исчезают люди". Как арт-объект "Изоляция" превратился в пыточную". Украинская правда (ภาษารัสเซีย). สืบค้นเมื่อ 8 October 2020.
  4. "На заводе "Изоляция" в Донецке оккупанты устроили концлагерь, – СМИ – новости Еспресо TV | Украина". ru.espreso.tv. สืบค้นเมื่อ 8 October 2020.
  5. "Ті, хто досі в неволі". tyzhden.ua (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 8 October 2020.
  6. "Украина требует включить вопрос донецкой "Изоляции" в повестку дня ТКГ". РБК-Украина (ภาษารัสเซีย). สืบค้นเมื่อ 8 October 2020.
  7. 7.0 7.1 ""DPR" secret prisons employ torture experts, not random people: ex-captives". www.unian.info (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 8 October 2020.
  8. Kazanskyi, Denis (19 November 2019). "Узники "Изоляции". Свидетельства людей, прошедших через пыточную ДНР". www.youtube.com.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. "Стас Асеев. Первое интервью после плена". www.youtube.com. 10 January 2020.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  10. 10.0 10.1 Ivanov, Sergii (10 June 2020). "Концтабір "ІЗОЛЯЦІЯ" | Документальний фільм". www.youtube.com.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  11. "What is 'Izolyatsia' and IZONE? • Ukraїner". Ukraїner. 15 July 2020. สืบค้นเมื่อ 8 October 2020.
  12. "Де і як утримують людей бойовики угруповань "ЛНР" і "ДНР" (рос.)". Радіо Свобода (ภาษายูเครน). สืบค้นเมื่อ 8 October 2020.
  13. "У Донецьку в підвалах арт-центру "Ізоляція" сепаратисти утримують заручників – засновник фонду". Радіо Свобода (ภาษายูเครน). สืบค้นเมื่อ 8 October 2020.
  14. ""In Isolation", or why the book of "DPR" detainee and journalist Aseev should be read by human rights activists". jfp.org.ua (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-05. สืบค้นเมื่อ 8 October 2020.
  15. "Станіслав Асєєв. "В ізоляції"". Радіо Свобода (ภาษายูเครน). สืบค้นเมื่อ 8 October 2020.