เรอโน อูว์เออ เชอนีแย็ต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เรอโน อูว์เออ เชอนีแย็ต
อูว์เออ 2 ที่ได้รับการอนุรักษ์ ณ พิพิธภัณฑ์ยานเกราะ
ชนิดรถหัวลาก
แหล่งกำเนิดประเทศฝรั่งเศส
บทบาท
ผู้ใช้งานฝรั่งเศส ประเทศฝรั่งเศส
นาซีเยอรมนี นาซีเยอรมนี
ไทย ประเทศไทย
โรมาเนีย ประเทศโรมาเนีย
ไต้หวัน สาธารณรัฐจีน
ผู้พิทักษ์เหล็ก
ประวัติการผลิต
ผู้ออกแบบเรอโน
บริษัทผู้ผลิตเรอโน, อาแอมอิกซ์, แบร์ลีแย, ฟูกา, มาลักซา
ช่วงการผลิตค.ศ. 1932 – มีนาคม ค.ศ. 1941
จำนวนที่ผลิตฝรั่งเศส 5,168 คัน, โรมาเนีย 126 คัน
แบบอื่นอูว์เออ 2, เชนีเลตามาลักซาติป อูเอ
ข้อมูลจำเพาะ
มวล2.64 ตัน (5,800 ปอนด์)
ความยาว2.80 m (9 ft 2 in)
ความกว้าง1.74 m (5 ft 9 in)
ความสูง1.25 m (4 ft 1 in)
ลูกเรือสองนาย

เกราะ9 mm (0.35 in)
อาวุธหลัก
มากค์ 7.5 มม. สำหรับการผลิตอูว์เออ 2 ครั้งล่าสุด
เครื่องยนต์เรอโน 85
38 แรงม้า (28 กิโลวัตต์)
ความจุน้ำหนักบรรทุก350 kg (770 lb) ในถังของบรรทุก;
950 kg (2,090 lb) กับเทรลเลอร์
กันสะเทือนแหนบ
ความสูงจากพื้นรถ30 ซm (12 in)
ความจุเชื้อเพลิง56 ลิตร (12 แกลลอนอังกฤษ)
พิสัยปฏิบัติการ
100 km (62 mi)
ความเร็ว30 km/h (19 mph)

เรอโน อูว์เออ เชอนีแย็ต (ฝรั่งเศส: Renault UE Chenillette) เป็นทั้งรถลำเลียงหุ้มเกราะสายพานเบาและรถหัวลาก ที่ผลิตโดยประเทศฝรั่งเศสระหว่างปี ค.ศ. 1932 ถึง 1940

ในปี ค.ศ. 1930 ทหารราบชาวฝรั่งเศสได้ตัดสินใจที่จะพัฒนายานเกราะเบาที่สามารถลาก และจัดส่งปืนใหญ่ รวมถึงปืนครกขนาดเล็ก ซึ่งในปี ค.ศ. 1931 บริษัทเรอโนได้รับสัญญาจ้างของเรอโน อูว์เออ รวมกับเทรลเลอร์เรอโน อูว์กา และในปี ค.ศ. 1937 จากคู่แข่งจำนวนมาก เรอโน อูว์เออ 2 ได้รับเลือกให้เป็นรุ่นปรับปรุงสำหรับการผลิตขนาดใหญ่ ทั้งสองประเภทรวมกันกว่าห้าพันคันได้รับการสร้างขึ้น รวมถึงการผลิตที่ได้รับการอนุญาตในประเทศโรมาเนีย และพวกมันเป็นส่วนหนึ่งของอุปกรณ์มาตรฐานของกองพลทหารราบฝรั่งเศสทั้งหมด ยานพาหนะเรอโน อูว์เออ ส่วนใหญ่ในประจำการฝรั่งเศสไม่ได้ติดอาวุธ รถเหล่านั้นถูกเยอรมนีเข้ายึดครองในปี ค.ศ. 1940 ซึ่งนำมาใช้เพื่อจุดประสงค์ที่หลากหลาย รวมถึงการติดอาวุธด้วยปืนกล, ปืนต่อสู้รถถัง และจรวดหลายลำกล้อง

เชนีเลตามาลักซาตีปูล อูเอ[แก้]

เชนีเลตามาลักซาตีปูล อูเอ
รถลำเลียงมาลักซา อูเอ ที่โรมาเนียสร้างขึ้น ณ พิพิธภัณฑ์ทหารแห่งชาติในบูคาเรสต์
ชนิดรถหัวลาก
แหล่งกำเนิดโรมาเนีย โรมาเนีย
บทบาท
ผู้ใช้งานโรมาเนีย โรมาเนีย
ผู้พิทักษ์เหล็ก
ประวัติการผลิต
ผู้ออกแบบเรอโน
มาลักซา (การปรับเปลี่ยนหลายอย่าง)
บริษัทผู้ผลิตมาลักซา
ช่วงการผลิตปลาย ค.ศ. 1939 – มีนาคม ค.ศ. 1941
จำนวนที่ผลิต126 คัน
ข้อมูลจำเพาะ (ข้อมูลจาก[1])
มวล2.74 ตัน (6,000 ปอนด์)
ความยาว2.85 m (9 ft 4 in)
ความกว้าง1.8 m (5 ft 11 in)
ความสูง1.26 m (4 ft 2 in)
ลูกเรือ2 นาย

เกราะ9 mm (0.35 in)
เครื่องยนต์เรอโน, 4 สูบ, ระบายความร้อนด้วยน้ำ
35 แรงม้า (26 กิโลวัตต์)
ความจุน้ำหนักบรรทุก500 kg (1,100 lb) ในถังของบรรทุก
กันสะเทือนแหนบ
ความสูงจากพื้นรถ30 ซm (12 in)
พิสัยปฏิบัติการ
100 km (62 mi)
ความเร็ว30 km/h (19 mph)

ในปี ค.ศ. 1937 ประเทศโรมาเนียยังคงเป็นพันธมิตรประเทศฝรั่งเศส โดยซื้ออูเอประมาณสิบคัน ในฐานะขั้นตอนแรกในการสร้างอุตสาหกรรมยานรบหุ้มเกราะท้องถิ่น รัฐมนตรีกลาโหมของโรมาเนียได้ซื้อสิทธิในปี ค.ศ. 1937 สำหรับผลิตเรอโน อูว์เออ เชอนีแย็ต 300 คัน ยานพาหนะตั้งใจพ่วงปืนต่อต้านรถถังชไนเดอร์ขนาด 47 มม. ใบอนุญาตได้มาโดยโรงงานมาลักซาในบูคาเรสต์ ในภายหลังยานพาหนะนี้ได้รับการตั้งชื่อเชนีเลตามาลักซาตีปูล อูเอ ทุกส่วนของยานพาหนะยกเว้นเครื่องยนต์, กระปุกเกียร์ และแผงหน้าปัดผลิตในประเทศโดยมาลักซา อดีตรถสามคันได้รับการส่งมอบจากโรงงานอาแอมอิกซ์ของฝรั่งเศส การผลิตดำเนินไปตั้งแต่ครึ่งหลังของปี ค.ศ. 1939 ถึงมีนาคม ค.ศ. 1941 ในช่วงที่รถลำเลียง 126 คันได้รับการผลิต การผลิตถูกตัดบทเมื่ออุปทานชิ้นส่วนเรอโนถูกขัดจังหวะเนื่องจากการล่มสลายของฝรั่งเศส จากนั้น เยอรมนีได้ส่งเรอโน อูว์เออ ที่เข้ายึดประมาณห้าสิบคันไปยังโรมาเนีย มีมาลักซาเชอนีแย็ต 126 คันคิดเป็นสาวนใหญ่ของยานพาหนะดังกล่าว (รวมทั้งสิ้น 178 คัน) ในการปฏิบัติการโดยกองทัพบกโรมาเนียในช่วงเริ่มต้นของปฏิบัติการบาร์บาร็อสซา มีการพบเชอนีแย็ตในประจำการรบในช่วงกบฏผู้พิทักษ์เหล็ก เมื่อถูกใช้โดยผู้พิทักษ์เหล็กสองคัน มาลักซาเชอนีแย็ตไม่ใช่ลอกแบบที่เหมือนกันทั้งหมดของเรอโน อูว์เออ มันหนักกว่า 0.1 ตันและสามารถบรรทุกในถังของบรรทุกได้ 0.15 ตันซึ่งมากกว่าของฝรั่งเศส ความยาว, ความกว้าง และความสูงทั้งหมด เพิ่มขึ้นเล็กน้อยห้าเซนติเมตร, หกเซนติเมตร และหนึ่งเซนติเมตรตามลำดับ เครื่องยนต์ของมันลดลงเล็กน้อยใกล้ ๆ 3 แรงม้า แต่ก็ยังสามารถบรรลุความเร็วสูงสุดและมีระยะเดียวกันกับของฝรั่งเศส[2]

ในกองทัพโรมาเนีย รถลำเลียงแบบนี้ได้รับการนำไปใช้ในกองร้อยต่อต้านรถถัง ในการลากจูงชไนเดอร์ 47 มม. แบบ 1936 — โดยเป็นปืนที่หนักกว่าในกองทัพฝรั่งเศส ซึ่งถือว่าเรอโน อูว์เออ มีน้ำหนักเบาเกินกว่าจะเคลื่อนย้ายปืนที่มีลำกล้องปืนขนาดนี้ — และในฐานะที่เป็นรถลำเลียงอาวุธยุทโธปกรณ์และเชื้อเพลิงในกรมทหารม้ายานยนต์ ครั้นภายหลัง ค.ศ. 1943 ยานพาหนะ 33 ค้นจากห้าสิบคันที่อยู่รอดได้รับการนำมาใช้เพื่อการฝึก มีสิบเจ็ดคันตั้งแต่มกราคม ค.ศ. 1944 จนถึงเดือนมีนาคมสร้างใหม่โดยโรงงานมาลักซา ซึ่งเสริมกำลังพวกมันลากของเยอรมันที่หนักกว่าปืนต่อต้านรถถัง 50 มม. แอล/60 ยานพาหนะของโรมาเนีย รวมถึงรถที่นำเข้าสิบคัน ได้นำการผลิตเรอโน อูว์เออ ทั้งหมดมาถึงประมาณ 5,294 คัน

การใช้[แก้]

เรอโน อูว์เออถูกใช้งานมาตั้งแต่เริ่มต้นสงครามโลกครั้งที่สองโดยกองทัพฝรั่งเศส และต่อมาก็ถูกกดดันเข้าสู่การรับใช้กองทัพเยอรมัน เช่นเดียวกับการใช้ในจำนวนจำกัดโดยฝรั่งเศสเสรีและกองกำลังโรมาเนีย

การใช้ของฝรั่งเศส[แก้]

การสวนสนามทางทหารของเรอโน อูว์เออ ในปารีสเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1936
เรอโน อูว์เออ ในพิพิธภัณฑ์กองทัพบกบรัสเซลส์

เชอนีแย็ตส่วนใหญ่ได้รับการจัดสรรให้แก่กรมทหารราบเป็นมาตรฐานหลัก ครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 กันยายน ค.ศ. 1932 มีเชอนีแย็ตหกคันอยู่ในกองร้อยนอกแถว (กองร้อยนี้ไม่ได้อยู่ใต้บังคับบัญชาของกองพันใด ๆ และทำหน้าที่ในฐานะพลาธิการประจำกรมทหาร, การบำรุงรักษา และหน่วยทดแทน) และอีกสามคันในกองร้อยเครื่องกลประจำกรมทหาร ซึ่งเป็นกองร้อยสนับสนุนอาวุธหนัก หน้าที่หลักอย่างเป็นทางการของพวกมันคือยานพาหนะจัดส่ง เพื่อเอื้ออำนวยตำแหน่งแนวหน้าพร้อมอมภัณฑ์และสิ่งจำเป็นอื่น ๆ ขณะอยู่ภายใต้การยิงปืนใหญ่ เกราะเบาเพียงพอที่จะหยุดเศษกระสุนขนาดเล็กและปืนไรเฟิลหรือปืนกลในระยะที่มากกว่า 300 เมตร เรอโน อูว์เออ สามารถบรรทุกหรือลากเสบียงได้ประมาณ 1,000 กิโลกรัม สิ่งนี้รวม 350 กก. ในถังของบรรทุก และ 600 กก. ในเทรลเลอร์ ของบรรทุกทั่วไปรวมลูกปืนครกบรองท์ 81 มม., กระสุนสำหรับปืนต่อสู้รถถังฮอตช์คิส 25 มม. หรือกระสุนปืนไรเฟิลและกระสุนปืนกล เพื่อระบุว่าพวกมันกำลังลาก หัวลากจะสร้างแผ่นเหล็กรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดเล็กบนหลังคาซึ่งแสดงรูปสามเหลี่ยมสีเหลืองบนพื้นสีน้ำเงินที่ตัดกัน ส่วนที่เหลือของรถปกติจะทาสีเขียวบรอนซ์ทึม ๆ โดยรวม ไม่ได้ใช้โทนสามสีหรือสี่สีที่สลับซับซ้อนตามแบบฉบับของชุดเกราะฝรั่งเศสในยุคนั้น ตำแหน่งส่วนหน้าที่เปิดเผยมากขึ้นจะได้รับการจัดส่งโดยหัวลากเท่านั้น ถังของพวกมันแม้ว่าจะมีขนาดเล็ก แต่ก็ยังสามารถบรรทุกกระสุนปืนต่อสู้รถถัง 25 มม. 150 นัด หรือกระสุนปืนกล 2,688 นัด ทีมปืนครกและปืนคาดว่าจะเคลื่อนย้ายอาวุธของตัวเองได้หากการเคลื่อนที่น้อยกว่า 1,000 เมตร มิฉะนั้น พวกเขาจะบรรจุสองนายในอูว์เออ สำหรับการเคลื่อนที่ที่ยาวนานขึ้น ในทำนองเดียวกัน ปืนกลสี่กระบอกจะได้รับการบรรจุ รถสามารถลากปืนต่อสู้รถถัง 25 มม. เนื่องจากหัวลากมีขนาดเล็กเกินไปที่จะรองรับลูกเรือประจำอาวุธ พวกเขาจึงต้องเดินตามยานพาหนะด้วยเท้า; ผู้ควบคุมชิ้นส่วนในระหว่างขั้นตอนนี้นั่งถัดจากคนขับเชอนีแย็ต เพื่อระบุตำแหน่งใหม่ที่ต้องการของปืนครกหรือปืนของเขา ซึ่งในความเป็นจริง นี่เป็นเพียงโอกาสเดียวที่ภายในกรมทหารราบจะมีลูกเรือคนที่สองปรากฏตัวขึ้นจริง ๆ: พลขับมักจะก่อตัวลูกเรือทั้งหมด แม้ว่าจะมีการแบ่งหน้าที่ผู้ช่วยพลขับ ดังนั้น เชอนีแย็ต จึงไม่เคยติดอยู่กับระบบอาวุธรายบุคคลอย่างถาวร; ยกตัวอย่างเช่น ปืนต่อสู้รถถัง 25 มม. แต่ละกระบอก มีทีมม้าของตัวเองเพื่อลากมันสำหรับการขนส่งตามปกติ สำหรับการเคลื่อนที่ในระยะทางไกลขึ้น โดยปกติแล้ว เชอนีแย็ต จะได้รับการบรรทุกบนรถบรรทุก โดยมีเทรลเลอร์เรอโน อูว์กา และอาจจะมีปืนครกหรือปืนลาก (บนถนนที่ดี) อยู่ข้างหลัง เทรลเลอร์ขนาดใหญ่ไม่เคยเป็นส่วนหนึ่งของการลากจูงอย่างเป็นทางการ; มันขาดตลาด โดยมีเพียงหนึ่งคันสำหรับสี่หัวลากต่อคัน (สองคันในแต่ละกรมทหาร) และใช้เพื่อโยกย้ายสิ่งเหล่านี้หากพวกมันพัง ในทางปฏิบัติไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะขนส่งเทรลเลอร์ขนาดเล็กขึ้นบนรถบรรทุก ในขณะที่ใช้ขนาดใหญ่กว่าเพื่อเคลื่อนย้ายหัวลาก เนื่องจากขั้นตอนที่กำหนดได้ลดความเร็วขบวนรถลงเหลือ 15 กม./ชม.

กรมทหารราบแต่ละแห่งมีเรอโน อูว์เออ รวมเก้าคัน ส่วนคมปานีดีวีซิโอแนร์อองทีชา (CDAC) ซึ่งเป็นกองร้อยต่อต้านรถถังกองพลยังมีเชอนีแย็ตสามคัน ทำให้มีเรอโน อูว์เออ ทั้งหมดสามสิบตัวในกองพลทหารราบปกติ

การใช้ของอิตาลี[แก้]

เยอรมนีได้ส่งมอบอูเออจำนวนมากให้แก่ฝ่ายพันธมิตรของตนในภายหลัง เช่น อิตาลี กองทัพบกอิตาลีได้รับอูว์เออ และอูว์เออ 2 จำนวน 64 คัน ในปี ค.ศ. 1941 และใช้พวกมันในฐานะรถลำเลียงอมภัณฑ์ บางคันใช้ในซิซิลี ที่ซึ่งการบุกครองเกาะซิซิลีของฝ่ายสัมพันธมิตร ค.ศ. 1943 รถหลายคันถูกเข้ายึดและใช้โดยกองทัพบกสหรัฐ[3]

การใช้ของโปแลนด์[แก้]

กองพลทหารราบแกรนาเดียร์ที่ 1 และ 2 ของกองทัพบกโปแลนด์ซึ่งจัดตั้งขึ้นในประเทศฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1939–1940 ที่ซึ่งแจกจ่ายอูว์เออ 2 นอกจากนี้ กองพลน้อยที่ราบสูงอิสระโปแลนด์ยังได้รับการแจกจ่ายอูว์เออ 2 สิบเจ็ดหน่วยที่เหลือจากการยกเลิกภารกิจของกองพลน้อยที่ราบสูงอิสระโปแลนด์ไปยังฟินแลนด์สิ้นสุดด้วยสหราชอาณาจักร ที่ซึ่งพวกเขาใช้งานโดยกองพันลาดตระเวนเพิร์ท และต่อมาสำหรับการฝึกขับรถโดยกองพลน้อยรถถังที่ 3/16 โปแลนด์[4]

การใช้ของไทย[แก้]

กองทัพบกไทยเข้ายึดเรอโน อูว์เออ ได้จำนวนหนึ่งในช่วงสงครามฝรั่งเศส-ไทย[5][6]

การใช้ของจีน[แก้]

กองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีนใช้เรอโน อูว์เออ บางคันในช่วงสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. Mark Axworthy, London: Arms and Armour, 1995, Third Axis, Fourth Ally: Romanian Armed Forces in the European War, 1941–1945, p. 33
  2. Mark Axworthy, London: Arms and Armour, 1995, Third Axis, Fourth Ally: Romanian Armed Forces in the European War, 1941–1945, p. 33
  3. Zaloga, Steve, "Tiny Tractor", Military Modelling, September 2007, Page 54.
  4. Zaloga, Steve, "Tiny Tractor", Military Modelling, September 2007, Page 50.
  5. รถถังเรย์โนลด์ - OoCities (ไทย)
  6. พิพิธภัณฑ์ทหารสรรพาวุธ กรมสรรพาวุธทหารบก (ไทย)

บรรณานุกรม[แก้]

  • Pierre Touzin, Les Engins Blindés Français, 1920–1945, Volume 1, Paris 1976.
  • Pierre Touzin, Les véhicules blindés français, 1900–1944. EPA, 1979.
  • François Vauvillier, Les Matériels de l'Armée Française 1: Les Automitrailleuses de Reconnaissance tome 1: L'AMR Renault modèle 1933 type VM — ses précurseurs, ses concurrentes et ses dérivées Histoire & Collections Paris 2005.
  • Leland Ness, Jane's World War II Tanks and Fighting Vehicles — the complete guide, London 2002.
  • Peter Chamberlain and Hilary L. Doyle, Encyclopedia of German Tanks of World War Two, New York 1978.
  • Pascal Danjou, Focus N°1: Renault UE, Editions du Barbotin 2007.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]