เตียวจี๋

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เตียวจี๋ (เจ้า จือ)
趙咨
ฉีตูเว่ย์
(騎都尉)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์ซุนกวน
จงต้าฟู
(中大夫)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 221 (221) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์ซุนกวน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดไม่ปรากฏ
เสียชีวิตไม่ปรากฏ
อาชีพขุนนาง

เตียวจี๋ หรือชื่อในภาษาจีนกลางว่า เจ้า จือ (จีนตัวย่อ: 赵咨; จีนตัวเต็ม: 趙咨; พินอิน: Zhào Zī) ชื่อรอง เต๋อตู้ (德度) เป็นขุนนางของง่อก๊กในยุคสามก๊ก

ประวัติ[แก้]

เตียวจี๋เป็นชาวเมืองลำหยง (ปัจจุบันคือเมืองหนานหยาง มณฑลเหอหนาน) เป็นมีผู้ความรู้และมีไหวพริบปฏิภาณ

ในปี ค.ศ. 221 เมื่อซุนกวนขึ้นเป็นเงาอ๋อง (吳王 อู๋หวัง) ได้แต่งตั้งให้เตียวจี๋เป็นจงต้าฟู (中大夫) และส่งไปเป็นทูตไปยังวุยก๊ก จักรพรรดิโจผีแห่งวุยก๊กปฏิบัติต่อเตียวจี๋อย่างให้เกียรติและตรัสถามเตียวจี๋ว่า "เงาอ๋องมีความรู้สิ่งใดบ้าง" เตียวจี๋ทูลตอบว่า "เงาอ๋องมีเรือรบในแม่น้ำนับหมื่นลำ ทหารสวมเกราะร้อยหมื่น ช่วงใช้ผู้มีคุณธรรมและความสามารถ มีปณิธานและกลยุทธ์ เมื่อมีเวลาว่างจะอ่านตำราศึกษาประวัติศาสตร์ เลือกใช้แนวคิดหลัก ไม่เหมือนเหล่าบัณฑิตที่พลิกตำราหาข้อความมาใช้พูดเท่านั้น" โจผีตรัสถามว่า "สามารถพิชิตง่อก๊กได้หรือไม่" เตียวจี๋ทูลตอบว่า: "รัฐใหญ่มีทหารที่จะพิชิต และรัฐเล็กมีการป้องกันที่มั่นคง" โจผีตรัสถามอีก "ง่อก๊กกลัววุยก๊กหรือไม่" เตียวจี๋ทูลตอบว่า "มีทหารสวมเกราะร้อยหมื่น แม่น้ำแยงซีและฮั่นซุย (漢水 ฮั่นสุ่ย) เป็นคูเมือง มีอะไรต้องกลัว" โจผีตรัสถามว่า "ในง่อก๊กมีคนเช่นท่านกี่คน" เตียวจี๋ทูลตอบว่า "คนที่ฉลาดและความสามารถเป็นพิเศษมีแปดสิบถึงเก้าสิบคน คนที่มีความสามารถเทียบเท่ากระหม่อมมีจำนวนนับไม่ถ้วน"

เตียวจี๋เดินทางขึ้นเหนือหลายครั้ง และทางวุยก๊กก็นับถือเตียวจี๋อย่างมาก เมื่อซุนกวนทราบเรื่องนี้ จึงให้รางวัลแก่เตียวจี๋และตั้งให้เป็นฉีตูเว่ย์ (騎都尉) เตียวจี๋เสนอว่า "พิจารณาแล้วเห็นว่าวุยก๊กทางตอนเหนือท้ายที่สุดคงไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาพันธมิตรได้ ในแผนการของขณะนี้ก็คือสำนักของต๋องง่อเราสืบทอดอำนาจสี่ร้อยปีของราชวงศ์ฮั่น เพื่อสนองต่อชะตาของภาคอาคเนย์ เราควรเปลี่ยนชื่อศักราช สนองตอบฟ้าคล้อยตามราษฎร"[1] ซุนกวนทำตามข้อเสนอของเตียวจี๋และเปลี่ยนชื่อศักราชเป็นหฺวางหวู่

คำวิจารณ์[แก้]

เปี้ยนหวังลุ่น ของลู่ จี : "ยอดนักการทูตคือเตียวจี๋และเฉิ่น เหิง ใช้ความฉลาดสู่การมีชื่อเสียงยืนยาว"

อ้างอิง[แก้]

  1. 三國志·卷四十七·吴书二·吴主传第二》引吴书