เจ้าพระยามุขมนตรี (อวบ เปาโรหิตย์)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหาอำมาตย์โท

เจ้าพระยามุขมนตรี
(อวบ เปาโรหิตย์)
เกิด16 มิถุนายน พ.ศ. 2419
เสียชีวิต27 มีนาคม พ.ศ. 2476 (58 ปี)
บิดามารดา
  • ขุนศรีธรรมราช (สมบุญ) (บิดา)
  • ท่านน้อย (มารดา)

มหาอำมาตย์โท เจ้าพระยามุขมนตรี (อวบ เปาโรหิตย์) เป็นขุนนางชาวสยาม ได้ดำรงตำแหน่งสำคัญ เช่น ปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทย สมุหพระนครบาล องคมนตรี ผู้ได้รับพระราชทานนามสกุล "เปาโรหิตย์" (Paurohitya)[1]

ประวัติ[แก้]

เจ้าพระยามุขมนตรี มีนามเดิมว่าอวบ เป็นบุตรขุนศรีธรรมราช (สมบุญ) กับท่านน้อย ซึ่งเป็นเชื้อสายของพระมหาราชครูปุโรหิตาจารย์ (บุญรอด) เกิดเมื่อวันศุกร์ แรม 10 ค่ำ เดือน 7 ปีชวด ตรงกับวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2419[2] ได้เข้าเรียนหนังสือที่วัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหารและที่พระตำหนักสวนกุหลาบ จนจบประโยค 2 โดยสอบไล่ได้รับรางวัลที่ 1 และได้รับประกาศนียบัตรชั้นเปรียญพิเศษของคณะศึกษาการปกครอง มณฑลอยุธยาและปราจีน ในปี พ.ศ. 2450[3]

พ.ศ. 2435 เริ่มเข้ารับราชการเป็นเสมียนในกระทรวงยุติธรรม แล้วย้ายไปอยู่กระทรวงมหาดไทย วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2440 ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงพัฒนกิจวิจารณ์ ตำแหน่ง ผู้ตรวจการกองเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า ถือศักดินา 400[4]แล้วเลื่อนเป็น พระวิเศษไชยชาญ ผู้ว่าราชการเมืองอ่างทอง ถือศักดินา 3000 เมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2443[5]และ พระยาอินทรวิชิต เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2444[6] ต่อมาในวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2447 ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระยาจ่าแสนบดีศรีบริบาล เจ้ากรมมหาดไทยฝ่ายพลำพัง คงถือศักดินา 3,000[7]

วันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าพระราชทานสัญญาบัตรให้เป็น พระยากำแหงสงคราม รามราชภักดีพิริยพาห ตำแหน่งข้าหลวงเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลนครราชสีมา ถือศักดินา 10,000[8] ถึงวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2456 ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระยาราชนกูล วิบูลยภักดีพิริยพาห ปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทย คงถือศักดินา 10,000[9]และยังได้ทำหน้าที่เป็นพระยายืนชิงช้า ในพระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวาย(พระราชพิธีโล้เสาชิงช้า)ในปี พ.ศ. 2458[10][11]

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงตั้งท่านเป็นผู้แทนรัฐบาลสยาม ณ คณะข้าหลวงใหญ่ฝรั่งเศส-สยามประจำแม่น้ำโขงตั้งแต่วันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2470[12] ท่านก็ได้ปฏิบัติราชการได้โดยเรียบร้อยตามพระราชประสงค์ วันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472 จึงทรงโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นเจ้าพระยา มีราชทินนามว่าเจ้าพระยามุขมนตรี ศรีสมุหนครบาล ราชบทมาลยมหาสวามิภักดิ์ บริรักษ์เทพธานีนิกรเกษม เปรมเปาโรหิตยาภิชาต ไตรโลกยนาถสรณธาดา มหามาตยาธิบดี อภัยพีริยบรากรมพาหุ ถือศักดินา 10,000[13]

เจ้าพระยามุขมนตรี ปฏิบัติราชการจนกระทั่งเกษียณอายุและรับพระราชทานบำนาญในปี พ.ศ. 2475[14]

เจ้าพระยามุขมนตรี ป่วยเป็นฝีผักบัวและปอดบวม ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2476 สิริอายุได้ 58 ปี ได้รับพระราชทานโกศแปดเหลี่ยม ชั้นรอง 2 ชั้น ฉัตรเบญจา 4 คัน ผ้าไตร 3 ไตร เป็นเกียรติยศ[15]

ครอบครัว[แก้]

เจ้าพระยามุขมนตรี สมรสกับคุณหญิงล้วน ธิดาหลวงวารีราชายุกติ (เจ้าสัวโป๊) กับนางเสงี่ยมโปษยานนท์ มีบุตรหลายคน เช่น นายศรีศุกร์ เปาโรหิตย์ นายประโพธ เปาโรหิตย์ เป็นต้น[14]

ยศ[แก้]

ยศพลเรือน[แก้]

  • มหาอำมาตย์ตรี
  • 11 กันยายน พ.ศ. 2458 มหาอำมาตย์โท[16]

ยศเสือป่า[แก้]

  • – นายหมู่ใหญ่
  • 3 มกราคม 2456 – นายกองตรี[17]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

เชิงอรรถ
  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมุรธาธร เรื่อง ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ 4, เล่ม 30, ตอน ง, 7 กันยายน 2456, หน้า 1167
  2. เรื่องตั้งเจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์, หน้า 254
  3. "ประวัติบุคคลสำคัญด้านกฎหมาย : เจ้าพระยามุขมนตรี (อวบ เปาโรหิตย์)". พิพิธภัณฑ์ศาลไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-11. สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. พระราชทานสัญญาบัตร (ลำดับที่ 11)
  5. พระราชทานสัญญาบัตร์ขุนนาง
  6. พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง
  7. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง, เล่ม 21, ตอน 39, 25 ธันวาคม ร.ศ. 123, หน้า 147
  8. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์, เล่ม 28, ตอน 0 ง, 29 ตุลาคม ร.ศ. 130, หน้า 1647
  9. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์, เล่ม 30, ตอน ง, 20 เมษายน 2456, หน้า 147
  10. รายการ Lineกนก (สถานีโทรทัศน์เนชั่นทีวี) วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม 2561
  11. รายนามพระยาผู้ยืนชิงช้า ตั้งแต่สมัย ร.5-ร.7 มีใครบ้าง ? สยามบรรณาคม
  12. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งผู้แทนฝ่ายสยาม ณ คณะข้าหลวงใหญ่ฝรั่งเศส - สยามประจำแม่น้ำโขง, เล่ม 44, ตอน 0 ก, 14 สิงหาคม พ.ศ. 2470, หน้า 151-2
  13. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งกรม ตั้งพระองค์เจ้าและเจ้าพระยา เก็บถาวร 2015-10-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 46, ตอน 0 ก, 10 พฤศจิกายน 2472, หน้า 195-7
  14. 14.0 14.1 เรื่องตั้งเจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์, หน้า 256
  15. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวตาย, เล่ม 51, ตอน 0 ง, 1 เมษายน 2477, หน้า 75
  16. พระราชทานยศและเลื่อนยศ
  17. เลื่อนและตั้งยศนายกองนายหมู่เสือป่า
  18. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๓๐๙, ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๐
  19. ราชกิจจานุเบกษา, รายพระนามแลนามผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2021-10-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๒๗๔, ๔ มกราคม ๒๔๕๖
  20. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๖๕, ๓๐ พฤศจิกายน ๒๔๕๖
  21. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๓๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๕๔, ๙ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๑
  22. ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๗๘, ๒ พฤษภาคม ๒๔๖๙
  23. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลปัจจุบัน ฝ่ายหน้า เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๑๓, ๑๑ มกราคม ๑๒๙
  24. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญฝ่ายหน้า, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๙๙๕, ๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๙
  25. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเข็มพระชนมายุสมมงคล, เล่ม ๒๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๖๓๙, ๖ มีนาคม ๒๔๕๒
  26. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๕๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๘๑๒, ๑๖ มิถุนายน ๒๔๗๒
บรรณานุกรม
  • สมมตอมรพันธุ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. เรื่องตั้งเจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 404 หน้า. หน้า 154-156. ISBN 974-417-534-6