เขตอินาเงะ

พิกัด: 35°38′11″N 140°06′26″E / 35.63639°N 140.10722°E / 35.63639; 140.10722
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เขตอินาเงะ

稲毛区
สำนักงานเขตอินาเงะ
สำนักงานเขตอินาเงะ
ตราอย่างเป็นทางการของเขตอินาเงะ
ตรา
ที่ตั้งของเขตอินาเงะในนครชิบะ
ที่ตั้งของเขตอินาเงะในนครชิบะ
แผนที่
เขตอินาเงะตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
เขตอินาเงะ
เขตอินาเงะ
ที่ตั้งในประเทศญี่ปุ่น
พิกัด: 35°38′11″N 140°06′26″E / 35.63639°N 140.10722°E / 35.63639; 140.10722
ประเทศธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
ภูมิภาคคันโต
จังหวัด ชิบะ
นคร ชิบะ
พื้นที่
 • ทั้งหมด21.22 ตร.กม. (8.19 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (1 เมษายน ค.ศ. 2024)[1]
 • ทั้งหมด160,008 คน
 • ความหนาแน่น7,540 คน/ตร.กม. (19,500 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น)
ที่อยู่สำนักงาน4-12-1 อานางาวะ เขตอินาเงะ นครชิบะ จังหวัดชิบะ
263-8733
4-12-1 Anagawa, Inage-ku Chiba-shi, Chiba-ken
263-8733
รหัสท้องถิ่น12103-7
เว็บไซต์www.city.chiba.jp/inage/

เขตอินาเงะ (ญี่ปุ่น: 稲毛区โรมาจิInage-ku) เป็นหนึ่งในหกเขตของนครชิบะในจังหวัดชิบะ ประเทศญี่ปุ่น ณ วันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 2024 เขตนี้มีจำนวนประชากรประมาณ 160,008 คน[1] มีความหนาแน่นของประชากร 7,540 คนต่อตารางกิโลเมตร มีขนาดพื้นที่ทั้งสิ้น 21.22 ตารางกิโลเมตร (8.19 ตารางไมล์)[2][3]

ภูมิศาสตร์[แก้]

เขตอินาเงะตั้งอยู่บนพื้นที่ตอนใน ทางตะวันตกเฉียงเหนือของนครชิบะ มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบและมีความเป็นเมืองสูง ประกอบด้วยเขตที่อยู่อาศัยผสมกับเขตอุตสาหกรรม

เทศบาล/เขตที่อยู่ติดกัน[แก้]

ประวัติศาสตร์[แก้]

พื้นที่ของเขตอินาเงะในปัจจุบันมีการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยมีศาลเจ้าอินาเงะเซ็งเง็ง (ญี่ปุ่น: 稲毛浅間神社โรมาจิInage Sengen Jinja) ซึ่งมีอายุมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 9

ในสมัยใหม่ เมื่อ ค.ศ. 1889 พื้นที่ที่เป็นเขตอินาเงะ ขณะนั้นประกอบด้วยหมู่บ้านสึงะ, เคมิงาวะ, โคเตงาวะ และบางส่วนของเมืองชิบะ หมู่บ้านเคมิงาวะได้รับการยกฐานะเป็นเมืองเมื่อ ค.ศ. 1891 ต่อมาเมืองชิบะได้รับการยกฐานะเป็นนครเมื่อ ค.ศ. 1921 นครชิบะผนวกรวมหมู่บ้านสึงะและเมืองเคมิงาวะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งเมื่อ ค.ศ. 1937 และผนวกหมู่บ้านโคเตงาวะเมื่อ ค.ศ. 1954[2]

อินาเงะเดิมมีพื้นที่ติดกับอ่าวโตเกียว และเนื่องจากตั้งอยู่ใกล้กับโตเกียว จึงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมในการว่ายน้ำและขุดหอย มีการสร้างกระท่อมชายหาดจำนวนมากตามแนวชายฝั่งอ่าวโตเกียว[2] เขตนี้กลายเป็นพื้นที่ที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลนับตั้งแต่ ค.ศ. 1961 หลังจากโครงการถมทะเลตามแนวชายฝั่งอ่าวโตเกียวในจังหวัดชิบะแล้วเสร็จ[4] ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเมืองชิบะ เขตที่อยู่อาศัยที่วางแผนไว้หลายแห่งได้ถูกสร้างขึ้นในอินาเงะหลังสงครามโลกครั้งที่สอง อันเนื่องมาจากการพัฒนาเส้นทางรถไฟสายโซบุของบริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันออก และรถไฟฟ้าเคเซ สายชิบะ และหลังจากนั้นเขตที่อยู่อาศัยก็ถูกพัฒนาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ[5]

ด้วยการที่นครชิบะได้รับการยกฐานะเป็นนครใหญ่ที่รัฐกำหนด ทำให้นครชิบะมีอำนาจในการบริหารมากขึ้นซึ่งได้รับจากจังหวัดชิบะและรัฐบาลกลาง เขตอินาเงะจึงจัดตั้งขึ้นในวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1992 ในฐานะเขตหนึ่งของนครชิบะ[2][4]

เศรษฐกิจ[แก้]

เขตอินาเงะโดยส่วนใหญ่เป็นศูนย์กลางการค้าของภูมิภาคและชุมชนที่อยู่อาศัยของผู้ที่ทำงานในใจกลางเมืองชิบะและโตเกียว ทางตอนเหนือของเขตเป็นที่ตั้งของสวนอุตสาหกรรมไนริกุ (ญี่ปุ่น: 内陸工業団地โรมาจิNairiku kōgyōdanchi)

การขนส่ง[แก้]

รถไฟ[แก้]

ทางหลวง[แก้]

รถโดยสารประจำทาง[แก้]

มีรถโดยสารสาธารณะต่อไปนี้ให้บริการในเขตอินาเงะ

  • เคเซบัส (京成バス)
  • ชิบะไนริกุบัส (千葉内陸バス)
  • ชิบะซิตีบัส (ちばシティバス)
  • ชิบะไคฮิงโคตซือ (千葉海浜交通)
  • อาซูกะโคตซือ (あすか交通)
  • เฮวะโคตซือ (平和交通)

การศึกษา[แก้]

เขตอินาเงะเป็นที่ตั้งของวิทยาเขตหลักของมหาวิทยาลัยชิบะ นอกจากนี้มหาวิทยาลัยเคไอและมหาวิทยาลัยชิบะเคไซก็ตั้งอยู่ในเขตนี้เช่นกัน[4]

โรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้นอยู่ในสังกัดคณะกรรมการการศึกษาเทศบาลนครชิบะ (千葉市教育委員会)

โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นของเทศบาลนครชิบะ[6]

  • ชิงูซาได (千草台中学校)
  • อินาเงะ (稲毛中学校)
  • โคนากาได (小中台中学校)
  • คูซาโนะ (草野中学校)
  • มิโดริมาจิ (緑町中学校)
  • โทโดโรกิโจ (轟町中学校)
  • สึงะ (都賀中学校)

โรงเรียนประถมศึกษาของเทศบาลนครชิบะ[7]

  • อายาเมได (あやめ台小学校)
  • ชิงูซาได (千草台小学校)
  • ชิงูซาไดฮิงาชิ (千草台東小学校)
  • อินางาโอกะ (稲丘小学校)
  • อินาเงะ (稲毛小学校)
  • คาชิวาได (柏台小学校)
  • โคนากาได (小中台小学校)
  • โคนากาไดมินามิ (小中台南小学校)
  • คูซาโนะ (草野小学校)
  • มิโดริมาจิ (緑町小学校)
  • มิยาโนงิ (宮野木小学校)
  • ซันโน (山王小学校)
  • ซนโน (園生小学校)
  • โทโดโรกิโจ (轟町小学校)
  • สึงะ (都賀小学校)
  • ยาโยอิ (弥生小学校)

เทศกาล[แก้]

เทศกาลของศาลเจ้าอินาเงะเซ็งเง็งจัดขึ้นในวันที่ 15 กรกฎาคมของทุกปี จะมีการเต้นรำแบบชินโตที่เรียกว่า คางูระ ซึ่งได้รับการกำหนดให้เป็นสมบัติที่จับต้องไม่ได้ของจังหวัดชิบะ[2]

บุคคลที่มีชื่อเสียง[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "千葉県毎月常住人口調査" [การสำรวจประชากรอาศัยถาวรรายเดือนในจังหวัดชิบะ]. เว็บไซต์จังหวัดชิบะ (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 16 พฤษภาคม 2024.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 "稲毛" [Inage]. Nihon Daihyakka Zensho (Nipponika) (ภาษาญี่ปุ่น). Tokyo: Shogakukan. 2012. OCLC 153301537. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-25. สืบค้นเมื่อ 2012-07-03.
  3. "稲毛" [Inage]. Nihon Rekishi Chimei Taikei (ภาษาญี่ปุ่น). Tokyo: Shogakukan. 2012. OCLC 173191044. dlc 2009238904. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-25. สืบค้นเมื่อ 2012-07-01.
  4. 4.0 4.1 4.2 "稲毛" [Inage]. Nihon Kokugo Daijiten (ภาษาญี่ปุ่น). Tokyo: Shogakukan. 2012. OCLC 56431036. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-25. สืบค้นเมื่อ 2012-08-03.
  5. "稲毛" [Inage]. Dijitaru daijisen (ภาษาญี่ปุ่น). Tokyo: Shogakukan. 2012. OCLC 56431036. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-25. สืบค้นเมื่อ 2012-07-03.
  6. "千葉市立の中学校一覧". Chiba City. สืบค้นเมื่อ 2022-12-26.
  7. "千葉市立の小学校一覧". Chiba City. สืบค้นเมื่อ 2022-12-26.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]