เกา ก๋ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เกา ก๋ง (高拱)
โฉวฝู่แห่งจักรวรรรดิหมิง
อำมาตย์นายก
{{{alt}}}
(内阁首辅)
เน่ย์เก๋อโฉวฝู่ลำดับที่ 46
จักรพรรดิมู่จงหวงตี้ จูไจ้ชี่
ระยะเวลาค.ศ.1571-ค.ศ.1572
ก่อนหน้าหลี่ ชุนฟาง
ถัดไปจาง จฺวีเจิ้ง
ลี่ปู้ซ่างซู
(吏部尚書)
เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยลำดับที่ 66
ระยะเวลาธันวาคม รัชศกหลงชิ่งปีที่ 3 (ค.ศ.1569) - มิถุนายน รัชศกหลงชิ่งปีที่ 6 (ค.ศ.1572)
ก่อนหน้าหยาง ปั่ว
ถัดไปหยาง ปั่ว (ครั้งที่ 2)
(中極殿大學士)
มหาอำมาตย์พระที่นั่งจงจี้
ก่อนหน้าหลี่ ชุนฟาง
ถัดไปจาง จฺวีเจิ้ง
(文渊阁大学士)
มหาอำมาตย์ศาลาเหวินหยวน
ก่อนหน้าหลี่ เปิ่น
ถัดไปเฉิน อี้ชิ่น
ข้อมูลส่วนบุคคล
ชื่อทั้งหมด
เชื้อชาติ
ฮั่น
สมัญญานาม
เหวินเซียง (文襄)
เกิด13 ธันวาคม รัชศกเจิ้งเต๋อปีที่เจ็ด (1512)
(19 มกราคม ค.ศ.1513)
พิราลัย2 กรกฎาคม รัชศกว่านลี่ปีที่หก
(4 สิงหาคม ค.ศ. 1578)
บิดาเกา ซ่างเซียน (高尚賢)
คู่สมรสท่านหญิงจาง (張氏)
ญาติปู่ : เกาคุ่ย (高魁)
ตระกูลเกา (高)

เกา ก๋ง (จีน: 高拱; พินอิน: Gāo gǒng) มีชื่อรองว่าซูชิง (肃卿) เกิดที่เมืองซินเจิ้งในมณฑลเหอหนาน เป็นขุนนางในสมัยราชวงศ์หมิง ได้ดำรงตำแหน่งที่สำคัญมากมาย[1]

ชีวประวัติ[แก้]

บรรพบุรุษของเกา ก๋งหนีจากความวุ่นวายในช่วงปลายราชวงศ์หยวน ย้ายไปที่เมืองซินเจิ้ง (新郑市) ในมณฑลเหอหนาน

เกา ก๋งเกิดในตระกูลข้าราชการ ได้รับการอบรมสั่งสอนอย่างเข้มงวดตั้งแต่ยังเป็นเด็ก

ในรัชศกเจียจิ้งปีที่ 7 (ค.ศ. 1528) เกา ก๋งได้อันดับที่ห้าในการสอบมณฑลเหอหนาน

ในรัชศกเจียจิ้งปีที่ 20 (ค.ศ. 1541) เกา ก๋งสอบผ่านระดับจิ้นซื่อ (进士) และได้รับเลือกให้เป็น ซูจี่ซื่อ (庶吉士)

ในรัชศกเจียจิ้งปีที่ 21 (ค.ศ. 1542) เกา ก๋งได้เป็น เปียนชวิน (编修) ประจำสำนักฮั่นหลิน

ในรัชศกเจียจิ้งปีที่ 39 (ค.ศ. 1560) เกา ก๋งได้เป็นสมุหไท่ฉ่างซื้อ (太常寺卿 "ไท่ฉ่างซื้อชิง")

ในเดือนมีนาคม รัชศกเจียจิ้งปีที่ 45 (ค.ศ.1566) เกา ก๋งได้ถูกเลือกโดยโฉวฝู่ซู่เจี๋ย (徐阶) ให้ดำรงตำแหน่งมหาอำมาตย์ศาลาเหวินหยวน (文渊阁大学士)

ในเดือนธันวาคม รัชศกหลงชิ่งปีที่ 3 (ค.ศ.1569) เกา ก๋งได้เป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย (吏部尚書)

เกา ก๋งเป็นผู้ส่งเสริมให้อิน เจิ้งเหม่า (殷正茂) ได้เป็นอุปราช (总督) ประจำมณฑลยูนนาน และยังแนะนำให้พาน จี่ซุ่น(潘季驯) ดูแลแม่น้ำเหลือง นอกจากนี้เกา ก๋งได้เปลี่ยนโครงสร้างกระทรวงกลาโหม (兵部 "ปิงปู้") จาก หนึ่งเสนาบดีว่าการ สองเสนาบดีช่วย เป็นหนึ่งเสนาบดีว่าการ สี่เสนาบดีช่วย


เกา ก๋ง และจาง จฺวีเจิ้งพบกันครั้งแรกเมื่อพวกเขารับราชการในราชวิทยาลัย (国子监 "กั่วจือเจียน") เมื่อหมิงซื่อจงสวรรคต โฉวฝู่ซู่เจี๋ยได้เรียกลูกศิษย์จาง จฺวีเจิ้งมาร่วมเขียนพระราชโองการหลังสวรรคตของหมิงซื่อจง โดยไม่ได้เรียกเกา ก๋งมาร่วมเขียนด้วย หลังจากนั่นทั้งสองก็เริ่มขัดแย้งกัน รัชศกหลงชิ่งปีที่ 5 เกา ก๋งถูกเป่าหูโดยพรรคพวกว่าจาง จฺวีเจิ้ง รับสินบน 30,000 ตำลึงจากโฉวฝู่ซู่เจี๋ย จึงทำให้ความบาดหมางมากขึ้นไปอีก

เมื่อจูอี้จุนขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิ จาง จฺวีเจิ้งได้วางแผนให้เฟิ่ง เป่าอินเป็นผู้ทูลต่อหลี่หวงกุ้ยเฟย และเฉินหวงโฮ่ว กล่าวหาว่าเกา ก๋งใช้อำนาจโดยมิชอบและผูกขาดอำนาจ คิดจะตั้งตนเป็นใหญ่[2] ในช่วงเช้าของวันที่ 16 มิถุนายน มีการเรียกประชุมขุนนาง เมื่อเกา ก๋งเดินมาถึงประตูฮุ่นจี่ (会极门) ขันทีหวัง เจิน (王榛) ได้อ่านประกาศประณามว่ามหาอำมาตย์เกากงเผด็จการปกครอง เขาได้ยึดอำนาจเกียรติยศทั้งหมดของราชสำนักไว้ที่ตัวเอง และไม่ยอมรับอำนาจของจักรพรรดิ เมื่อเกา ก๋งได้ฟังจบก็หน้าซีดเผือด เหงื่อตกราวกับสายฝน และไม่สามารถลุกขึ้นยืนได้ จาง จฺวีเจิ้งได้เดินมาประคองให้ลุกขึ้น ทั้งนี้เกา ก๋งเกือบได้รับโทษประหารโชคดีที่ หยาง ปั่ว (杨博) เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย และขุนนางคนอื่นๆ ได้ช่วยเขาไว้จึงรอดตาย เกา ก๋งออกจากตำแหน่งกลับบ้านเกิด[3]

ก่อนที่เกา ก๋งจะเสียชีวิต ได้เขียน (病榻遗言) สี่เล่มโดยบรรยายถึงการสมรู้ร่วมคิดของจาง จฺวีเจิ้ง กับเฟิ่ง เป่าอิน (冯保阴) เพื่อชิงตำแหน่งโฉวฝู่ เขาอธิบายว่าจาง จฺวีเจิ้งเป็นคนที่หน้าเนื้อใจเสือและชั่วร้าย[4] ภายหลังที่จาง จฺวีเจิ้งถึงแก่กรรมงานเขียนนี้ถูกตีพิมพ์อย่างแพร่หลายกระตุกให้จักรพรรดิว่านลี่ยกเลิกนโยบายของจาง จฺวีเจิ้ง [5]

ในรัชศกว่านลี่ปีที่ 5 (ค.ศ. 1577) จาง จฺวีเจิ้งเดินทางกลับไปยังบ้านเกิดของเขาที่เทศมณฑลเจียงหลิง ในมณฑลหูเป่ย์เพื่อฝังศพของบิดา ด้วยเหตุที่ต้องเดินทางผ่านบ้านเกิดของเกา ก๋ง จาง จฺวีเจิ้งจึงถือโอกาสไปเยี่ยมเกา ก๋งด้วย และเมื่อทั้งสองพบกันก็ได้ร้องไห้

ในวันที่ 2 กรกฎาคม รัชศกว่านลี่ปีที่ 6 (ค.ศ. 1578) เกา ก๋งถึงแก่กรรมที่บ้านเกิดเมืองซินเจิ้งในมณฑลเหอหนาน เมื่ออายุได้ 67 ปี[6]

ภายหลังจากที่เกา ก๋งถึงแก่กรรมในรัชศกว่านหลี่ปีที่ 30 (ค.ศ. 1602) จักรพรรดิว่านลี่ได้มอบตำแหน่งไท่ซือ (太师) ให้กับเกา ก๋ง และพระราชทานสมัญญานามว่า เหวินเซียง (文襄) [7][8]

อ้างอิง[แก้]

  1. 《明史》:高拱,字肃卿,新郑人。嘉靖二十年进士。选庶吉士。逾年,授编修。穆宗居裕邸,出阁请读,拱与检讨陈以勤并为侍讲。世宗讳言立太子,而景王未之国,中外危疑。拱侍裕邸九年,启王益敦孝谨,敷陈剀切。王甚重之,手书“怀贤忠贞”字赐焉。累迁侍讲学士。
  2. 《明史》卷305 列传第一百九十三 宦官二
  3. 文秉:《定陵注略》第1册,第10页。
  4. 高拱:《病榻遗言》第72页。
  5. 赵毅:《<病榻遗言>与高新郑政治权谋》,《古代文明》2009年第1期。赵文宣称:“一般认为,冯保、张居正是被万历帝打倒的。这种认识不错,但不够全面,冯保、张居正、戚继光的倒台原因中包含着高新郑政治权谋的因素。”朱国桢《皇明史概》卷36《大政记》中,以《纪事》为小标题,抄錄有《病榻遗言》前3卷。夏燮的《明通鉴》首先對《病榻遗言》叙述诸事提出质疑:“传中所记执拱手及不顾居正等语,又似大渐之前数日间事,亦与高拱所记不合。后修明史悉删之,盖知《病榻遗言》之不足据也。”。《病榻遗言》确有錯誤之處。例如《病榻遗言》载“冯保粗识三二字,言不能成文。”事實上冯保出身内书堂,有六科廊、文书房等历练,说他“粗识三二字”是不实之词。
  6. 《大明神宗显皇帝实录》卷84:万历七年二月……复前任少师兼太子太师、吏部尚书、中极殿大学士高拱原官,葬祭半给,不差官。
  7. 夏征农.大辞海 中国古代史卷.上海辞书出版社。
  8. 白寿彝 总主编;王毓铨 主编.中国通史 第9卷 中古时代明时期 下 第2版.上海人民出版社。