ฮิเดซาบูโร อูเอโนะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฮิเดซาบูโร อูเอโนะ
上野 英三郎
ฮิเดซาบูโร อูเอโนะ ภาพถ่าย ป. ค.ศ. 1923
เกิด19 มกราคม ค.ศ. 1872(1872-01-19)
ฮิไซ จังหวัดมิเอะ ประเทศญี่ปุ่น
เสียชีวิต21 พฤษภาคม ค.ศ. 1925(1925-05-21) (53 ปี)
มหาวิทยาลัยจักรวรรดิโตเกียว โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
สุสานสุสานอาโอยามะ เขตมินาโตะ ประเทศญี่ปุ่น
สัญชาติญ่ี่ปุ่น
อาชีพนักวิทยาศาสตร์เกษตร
มีชื่อเสียงจากผู้พิทักษ์ฮาจิโกะ สุนัขที่มีชื่อเสียง
คู่รักยาเอโกะ ซากาโนะ (1915–1925)
ภูมิหลังทางวิชาการ
การศึกษาวิศวกรรมเกษตร
โรงเรียนแม่มหาวิทยาลัยจักรวรรดิโตเกียว โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
ผลงานทางวิชาการ
สถาบันที่ทำงานมหาวิทยาลัยจักรวรรดิโตเกียว
ความสนใจหลักวิศวกรรมเกษตร

ศาสตราจารย์ ฮิเดซาบูโร อูเอโนะ (ญี่ปุ่น: 上野 英三郎โรมาจิUeno Hidesaburō; 19 มกราคม ค.ศ. 1872 – 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1925)[1] เป็นอาจารย์ประจำวิชาเกษตรศาสตร์ชาวญี่ปุ่น มีชื่อเสียงในญี่ปุ่นในฐานะเจ้าของสุนัขพันธุ์อากิตะตัวหนึ่งที่ชื่อว่าฮาจิโก สุนัขยอดกตัญญู

ประวัติ[แก้]

อูเอโนะใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับภรรยาและลูก ๆ ไม่ทราบชื่อ เวลาทำงานนั้นมักเดินทางไปสอนหนังสือที่มหาวิทยาลัยโตเกียวโดยไปทางรถไฟซึ่งอยู่ไม่ห่างจากบ้านของเขา และกลับมาในช่วงเวลา 15.00 น.

การพบกันระหว่างอูเอโนะกับฮาจิโกนั้นได้เริ่มขึ้นต้นในเดือนมกราคม ปีพ.ศ. 2467 ซึ่งฮาจิโกนั้นมีอายุ 2 เดือน อูเอโนะก็ดูแลเจ้าฮาจิโกเรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ. 2467 อูเอโนะทั้งรักและภาคภูมิใจในตัวฮาจิมากเพราะสุนัขพันธุ์อากิตะสมัยยุคเมจินั้นเป็นสายพันธุ์ที่หายากมากที่สุดในญี่ปุ่น[ต้องการอ้างอิง]

อูเอโนะก็ภูมิใจในตัวฮาจิมากขึ้นเมื่อฮาจิมักจะคอยไปส่งเขาทุกเช้า และกลับมารอรับในช่วงเวลา 15.00 น.มันทำแบบนั้นเป็นประจำทุก ๆ วัน

การเสียชีวิต[แก้]

อูเอโนะ ได้เสียชีวิตลงในวันที่ 21 เดือนพฤษภาคม ปี พ.ศ. 2468 ด้วยโรคหัวใจวายหรือความดันโลหิตสูงเส้นเลือดในสมองแตก ขณะกำลังสอนหนังสือที่มหาวิทยาลัยโตเกียว หลังจากการเสียชีวิต ครอบครัวของอูเอโนะได้ย้ายบ้านไปเหลือเพียงแต่ฮาจิโกก็ได้ไปรอที่สถานีรถไฟชิบูยะเป็นเวลา 10 ปีจนตายในที่สุด ศพของฮาจิโกก็ได้รับการฝังอยู่ข้างหลุมศพอูเอโนะ แต่เรื่องราวของความรักและจงรักภักดีของฮาจิโกที่มีต่ออูเอโนะนั้นได้กลายเป็นตำนานที่ติดตรึงใจต่อชาวญี่ปุ่นและคนทั่วโลกตราบเท่าจนถึงทุกวันนี้

อ่านเพิ่ม[แก้]

  • Skabelund, Aaron Herald (2011). Empire of Dogs: Canines, Japan, and the Making of the Modern Imperial World (A Study of the Weatherhead East Asian Institute. Columbia University. ISBN 978-0-8014-5025-9.
  • Itoh, Mayumi (2017). Hachiko: Solving Twenty Mysteries About the Most Famous Dog in Japan. ISBN 978-197-33-8013-9.
  • Skabelund, Aaron Herald (23 September 2011). "Canine Imperialism". Berfrois.com. สืบค้นเมื่อ 28 October 2011. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)

อ้างอิง[แก้]

  1. In Tokyo Teikokudaigaku Jinjiroku 『東京帝国大学人事録』, the employment records of University of Tokyo, his name was written as Hidesamurō 上野英三郎.