อิบาฎียะฮ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ขบวนการอิบาฎี หรือ อิบาฎียะฮ์ (อาหรับ: الإباضية, อักษรโรมัน: al-ʾIbāḍiyya, เสียงอ่านภาษาอาหรับ: [alʔibaːˈdˤijja]) เป็นนิกายในศาสนาอิสลาม[1] บางส่วนเรียกเป็นนิกายที่สามของศาสนาอิสลาม ร่วมกับนิกายซุนนีและชีอะฮ์

อิบาฎียะฮ์ปรากฏขึ้นประมาณ 60 ปีหลังศาสดามุฮัมมัดเสียชีวิตใน ค.ศ. 632[2] ในฐานะสำนักสายกลางของขบวนการเคาะวาริจญ์[3][4][5][ต้องการเลขหน้า] แม้ว่าผู้นับถือนิกายนี้ร่วมสมัยจะคัดค้านอย่างมากต่อการถูกจัดเป็นพวกเคาะวาริจญ์ก็ตาม[6] ผู้นับถืออิบาฎีมองตนเองว่าเป็นนิกายที่เก่าแก่และแท้จริงที่สุดของศาสนาอิสลาม

ปัจจุบันอิบาฎียะฮ์เป็นนิกายที่มีผู้นับถือมากเป็นอันดับ 2 ในประเทศโอมานที่มีผู้นับถือถึงมากกว่าหนึ่งในสามของประชากรทั้งหมด แต่มีผู้นับขนาดเล็กในแอลจีเรีย (มะซาบ) ตูนิเซีย (เกาะญิรบะฮ์) ลิเบีย (นะฟูซะฮ์) และแทนซาเนีย (แซนซิบาร์) ตลอดทั้งประวัติศาสตร์อิสลาม ผู้นับถืออิบาฎียะฮ์ยังคงเผชิญการกดขี่ทางศาสนาในโลกมุสลิม โดยเฉพาะในสมัยอุมัยยะฮ์กับอัลโมราวิด และยังคงดำเนินอยู่จนถึงปัจจุบัน[7][8][9][10]

ประวัติ[แก้]

ภูมิหลัง[แก้]

อิบาฎียะฮ์ก่อตัวขึ้นในฐานะสำนักสายกลางของเคาะวาริจญ์ นิกายที่มีต้นกำเนิดจากมุฮักกิมะฮ์ (محكمة) และอัลฮะรูรียะฮ์ (الحرورية) ทั้งคู่เคยเป็นผู้สนับสนุนอะลีในฟิตนะฮ์ครั้งที่หนึ่งที่ละทิ้งครอบครัวอะลีหลังปฏิเสธการอนุญาโตตุลาการระหว่างอะลีกับมุอาวิยะฮ์ที่ 1 ในยุทธการที่ศิฟฟีนเมื่อ ค.ศ. 657[11][12]

หลังยุทธการที่ศิฟฟีน ฝ่ายเคาะวาริจญ์มีส่วนเกี่ยวข้องในความขัดแย้งทั้งกับฝ่ายอะลีและอุมัยยะฮ์เกือบทุกครั้ง ฝ่ายเคาะวาริจญ์จัดตั้งขึ้นภายในชุมชนมุสลิมที่สำคัญ ๆ ซึ่งมักจะเกี่ยวข้องกับการกบฏท้องถิ่นต่อเจ้าหน้าที่อุมัยยะฮ์ หลังเกิดฟิตนะฮ์ครั้งที่สองขึ้นใน ค.ศ. 680 ฝ่ายเคาะวาริจญ์จึงแตกออกเป็น 4 กลุ่มหลัก (อุศูลุลเคาะวาริจญ์) ที่มีระดับความเป็นกลางและความหัวรุนแรงที่แตกต่างกัน สำนักอิบาฎีก่อตั้งขึ้นในฐานะกลุ่มสายกลางที่บัสรา[13] โดยอิงหลักคำสอนของอับดุลลอฮ์ อิบน์ อิบาฎแห่งบะนูตะมีม[14] ผู้ที่ได้รับการยอมรับ (อาจได้รับการยอมรับหลังเสียชีวิต) จากผู้ติดตามเป็นอิมาม[15]

อ้างอิง[แก้]

  1. Vallely, Paul (19 February 2014). "Schism between Sunni and Shia has been poisoning Islam for 1,400 years – and it's getting worse". The Independent.
  2. Library, International and Area Studies. "LibGuides: Ibadi Islam: History". guides.library.illinois.edu (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-08-03.
  3. John L. Esposito, บ.ก. (2014). "Ibadis". The Oxford Dictionary of Islam. Oxford: Oxford University Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 20, 2017. Ibadis [:] subsect of Khariji Islam founded in the eighth century. Has its strongest presence in Oman, but is also found in North Africa and various communities on the Swahili Coast.
  4. Lewicki, T. (1971). "al-Ibāḍiyya". ใน Lewis, B.; Ménage, V. L.; Pellat, Ch. & Schacht, J. (บ.ก.). The Encyclopaedia of Islam, Second Edition. Volume III: H–Iram. Leiden: E. J. Brill. pp. 648–660. OCLC 495469525.
  5. Hoffman 2012.
  6. Hoffman 2012, p. 3.
  7. Ghazal, Amal N. (8 April 2010). Islamic Reform and Arab Nationalism: Expanding the Crescent from the ... - Amal N. Ghazal - Google Books. Routledge. ISBN 9781136996559. สืบค้นเมื่อ 2022-10-01.
  8. Thompson, Andrew David (2019-10-31). Christianity in Oman: Ibadism, Religious Freedom, and the Church - Andrew David Thompson - Google Books. Springer. ISBN 9783030303983. สืบค้นเมื่อ 2022-10-01.
  9. Islam In Plain and Simple English: BookCaps Study Guide - BookCaps Study Guides Staff - Google Books. BookCaps Study Guides. 2012. ISBN 9781621071792. สืบค้นเมื่อ 2022-10-01.
  10. Walker, Bethany; Fenwick, Corisande; Insoll, Timothy (3 September 2020). The Oxford Handbook of Islamic Archaeology - Google Books. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-998787-0. สืบค้นเมื่อ 2022-10-01.
  11. Diana Darke, Oman: The Bradt Travel Guide, pg. 27. Guilford: Brandt Travel Guides, 2010. ISBN 9781841623320
  12. Donald Hawley, Oman, p. 200.
  13. Gaiser 2021.
  14. Hoffman 2012, p. 11.
  15. Uzi Rabi, The Emergence of States in a Tribal Society: Oman Under Saʻid Bin Taymur, 1932-1970, pg. 5. Eastbourne: Sussex Academic Press, 2006. ISBN 9781845190804

ข้อมูล[แก้]

อ่านเพิ่ม[แก้]

  • Pessah Shinar, Modern Islam in the Maghrib, Jerusalem: The Max Schloessinger Memorial Foundation, 2004. A collection of papers (some previously unpublished) dealing with Islam in the Maghreb, practices, and beliefs.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]