ทราย เจริญปุระ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อินทิรา เจริญปุระ)
ทราย เจริญปุระ
ทรายในการแถลงข่าวภาพยนตร์ชุดตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ปี 2552
ทรายในการแถลงข่าวภาพยนตร์ชุดตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ปี 2552
สารนิเทศภูมิหลัง
ชื่อเกิดอินทิรา เจริญปุระ
เกิด23 ธันวาคม พ.ศ. 2523 (43 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
อาชีพ
  • นักแสดง
  • นักร้อง
  • นักเขียน
ปีที่แสดงพ.ศ. 2537–ปัจจุบัน
ผลงานเด่นมธุกร - ล่า (2537)
นางนาก - นางนาก (2542)
แตน - แม่ค้า (2544)
เล่อขิ่น - ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (2550/2554)
น้ำผึ้ง - นาคปรก (2553)
บุ้ง - 4 KINGS 2 (2566)
สุพรรณหงส์นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม สาขา ภาพยนตร์ไทย
พ.ศ. 2553 - นาคปรก
ชมรมวิจารณ์บันเทิงนักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2553 - นาคปรก

ทราย เจริญปุระ (เกิด 23 ธันวาคม พ.ศ. 2523) มีชื่อจริงว่า อินทิรา เจริญปุระ ชื่อเล่น ทราย เป็นนักแสดง นักร้อง นักเขียนชาวไทย เป็นบุตรสาวของอดีตนักแสดงและผู้กำกับภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียง รุจน์ รณภพ ทรายมีชื่อเสียงโด่งดังจากภาพยนตร์เรื่อง "นางนาค 2542" รับบทเป็น แม่นาคพระโขนง จนทำให้ได้รับความนิยมสูงสุดในขณะนั้นจนปัจจุบัน และยังถูกพูดถึงว่าเป็นแม่นาคเวอร์ชันที่น่ากลัวที่สุดอีกด้วย

ประวัติ[แก้]

ทราย เจริญปุระ มีชื่อจริงว่า อินทิรา เจริญปุระ เกิดเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2523 เป็นบุตรของนายสุรินทร์ เจริญปุระ หรือ รุจน์ รณภพ ผู้กำกับภาพยนตร์ ที่เกิดกับนางสุภาภรณ์ เจริญปุระ โดยเป็นบุตรคนโต มีน้องชายและน้องสาวร่วมมารดา คือ ภวัต เจริญปุระ (ท็อฟฟี่) และภรณ์รวี เจริญปุระ (น้ำพราว)

นอกจากนี้ยังมีพี่สาวต่างมารดา 4 คน คือ เวณิก เจริญปุระ (แมว), พลอย เจริญปุระ (ปู), วิภาวี เจริญปุระ (กุ้ง) และใหม่ เจริญปุระ (ใหม่)[1]

สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนเขมะสิริอนุสสรณ์ ต่อมาในปี 2550 สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ [2]

วงการบันเทิง[แก้]

ทราย เข้าสู่วงการโดยการชักชวนของสุพล วิเชียรฉาย มีผลงานละครเรื่องแรกเมื่ออายุ 13 ปี คือเรื่อง “ล่า” ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 โดยแสดงร่วมกับสินจัย หงษ์ไทย และจักรกฤษณ์ อำมะรัตน์ จากนั้นจึงได้แสดงละครอีกหลายเรื่อง เช่น บ้านสอยดาว กองพันทหารเกณฑ์ เจ้าสัวน้อย ฯลฯ จุดเด่นอย่างหนึ่งของเธอก็คือการมีส่วนสูงที่สะดุดตา เนื่องจากเธอสูงถึง 173 เซนติเมตร

ทราย เจริญปุระ เคยมีผลงานเพลง ออกอัลบั้มเดี่ยวมาสักระยะหนึ่ง ในปี พ.ศ. 2538 ได้ออกอัลบั้มเพลงชุดแรกชื่อชุด “นาฬิกาทราย” ในสังกัดจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ มีเพลงดัง เช่น ครูกระดาษ...(ทราย), เอาคืนไป และเพลง แล้วไงต่อ ต่อมากับอัลบั้ม “SINE” ปี พ.ศ. 2541 สังกัด อิน แอนด์ ออน มิวสิก มีเพลงดัง เช่น พ่อมด, เพราะไม่รู้ และเพลง ภาพเก่าๆ โดยได้ จิระศักดิ์ ปานพุ่ม มาเป็นเอ็กเซ็กคิวทีฟโปรดิวเซอร์ และโปรดิวเซอร์ อีกด้วย ต่อด้วยอัลบั้มชุดสุดท้าย “D^SINE” ปี พ.ศ. 2542 สังกัดค่ายอัพจี ในเครือแกรมมี่ เพลงดัง เช่น เกินเสียใจ, ลองค้นใจ และเพลง สายลมที่หวังดี รวมอัลบั้มเดี่ยวแล้วทั้งหมด 3 ชุดด้วยกัน

ในปี พ.ศ. 2542 มีผลงานสร้างชื่อเสียงคือภาพยนตร์รื่อง นางนาก โดยรับบทเป็นนางนากคู่กับวินัย ไกรบุตร และออกอัลบั้มเพลงในชื่อชุด “ดี-ทราย” จากนั้นได้ทำหน้าที่พิธีกรในหลายรายการ เช่น 7 สีคอนเสิร์ต คู่กับ พนมกร ตังทัตสวัสดิ์ และมีผลงานภาพยนตร์เช่น เฮี้ยน, Six หกตายท้าตาย, ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และ บ้านผีสิง ฯลฯ รวมถึงละครพื้นบ้านแนวจักรๆ วงศ์ๆ เรื่อง ปลาบู่ทอง ทางช่อง 7 สี

ในปี พ.ศ. 2554 ได้ดำเนินรายการ "Book Guide" ทางสถานโทรทัศน์วอยซ์ทีวี

ทราย เจริญปุระ ยังเขียนบทความประจำ คอลัมน์ "รักคนอ่าน" โดยรีวิวหนังสือต่างๆลงในนิตยสารมติชน สุดสัปดาห์ด้วย

แม้จะประสบความสำเร็จในชื่อเสียงและการงาน แต่ ทราย เจริญปุระ กลับต้องเผชิญหน้ากับโรคซึมเศร้าที่เข้าเล่นงานเธอ แม้จะเป็นโรคที่หลายคนอาย แต่ทรายกลับไม่อายที่จะยอมรับและบอกกับทุกคนว่าเธอกำลังเผชิญหน้ากับโรคนี้อยู่[3]

การเคลื่อนไหวทางการเมือง[แก้]

ในระหว่างการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563 เธอประกาศจุดยืนสนับสนุนผู้ชุมนุมประท้วง แล้วมีการจัดเลี้ยงอาหาร, รถห้องน้ำ และเต็นท์ ให้แก่ผู้ชุมนุม[4] ทำให้เธอถูกแจ้งความฐานสนับสนุนการชมนุมโดยผิดกฎหมาย[5]

เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2563 เธอเข้าพบพนักงานสอบสวน ณ สน.บางเขน ตามหมายเรียกคดีอาญา มาตรา 112 มาตรา 116 และกฎหมายอื่น ๆ พร้อมด้วยผู้ชุมนุมอีก 8 ราย[6]

ทราย เจริญปุระ เป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565[7]

ผลงานแสดงละครโทรทัศน์[แก้]

พ.ศ. เรื่อง รับบท ออกอากาศ
2537 ล่า มธุกร (ผึ้ง) ช่อง 5
2538 ครอบครัวนี้...คงกระพัน - ช่อง 7
2539 บ้านสอยดาว อิงฟ้า ช่อง 7
เรื่องนี้สี่โชะ - ช่อง 3
2540 กองพันทหารเกณฑ์ ชลาลัย นิลัยงาม ช่อง 5
2542 ตาเบบูญ่า บุญรักษา ช่อง 5
อรุณสวัสดิ์ อรณี ช่อง 3
2543 เจ้าสัวน้อย พิมพ์ชนก (น้อย) ช่อง 7
2544 แม่ค้า นิรชา (แตน) ช่อง 7
แม่เลี้ยงคนใหม่ ทรายขวัญ (ขวัญ) ช่อง 3
อตีตา กาหลง / ลติกา (ตีน่า) ช่อง 7
รักของฟ้า (ละครเทิดพระเกียรติ) กลุ่มวัยรุ่น ช่อง 7
2545 ศึกรบศึกรัก ม.ร.ว. เขมิกา บวรนพดล ช่อง 3
สาวน้อย วนิดา (นิด / น้อย) ช่อง 7
รอยไถ บัวผัน ช่อง 7
2546 มหาเฮง เรียม ช่อง 7
นารีลุยไฟ นารี ช่อง 7
2547 ขายตรงส่งรัก น้ำริน ช่อง 7
หัวลำโพง ฮาเฮ สเตชัน (ละครซิตคอม) กิ๊ก ช่อง 7
2550 เพื่อนนิรมิต (ละครซิตคอม) แม่บุญมั่น / วิว ช่อง 7
หุบเขากินคน สุมิตรา ช่อง 3
แรงแห่งศรัทธา (ละครเทิดพระเกียรติ) พิมพ์ชนก ช่อง 5
2551 ทอง 9 แพรว ช่อง 7
2552 ปลาบู่ทอง ขนิษฐา ช่อง 7
2553 หมอหงวน...แสงดาวแห่งศรัทธา อร Thai PBS
2556 เสือสั่งฟ้า 2 พยัคฆ์ผยอง กระเต็น ช่อง 7
อาญารัก ช้อย ช่อง 7
หน้าต่างสีรุ้ง นุชนารถ Thai PBS
2557 เกรียนเฮ้าส์ เดอะซีรีส์ ตอนที่ 6 หมอแพรว (รับเชิญ) ช่อง 9
2558 สาวน้อยอ้อยควั่น มะขิ่น ช่อง 7
ขวัญผวา จันทร์ GMM25
2559 Love Songs Love Stories เพลง เรามีเรา พรรณิการ์ GMM25
แม่นาก แม่พวง ช่อง 8
2560 พริ้ง คนเริงเมือง คุณประเทียบ ช่อง 7
2561 I Sea U ฉันรักทะเล ที่มีเธอ แม่จริง True4U
ขวัญผวา 2 จันทร์ GMM25
พยัคฆา ศรีไพร (รับเชิญ) ช่อง 8
ระบำมาร โสภา ช่อง 7
สายโลหิต เยื้อน ช่อง 7
Bangkok ghost stories ตอน ห้องเลี้ยงผี เจ๊หน่อย GMM25
2562 เขามาเชงเม้งข้างๆ หลุมผมครับ ขวัญ GMM25
แพ้กลางคืน ศิตา ช่องวัน
มนตร์กาลบันดาลรัก มนัสวี (แบม) ช่อง 7
พรุ่งนี้จะไม่มีแม่แล้ว น้าหอม (รับเชิญ) Line TV
3 Will Be Free สามเราต้องรอด วานิกา ช่องวัน
เพลิงริษยา สายสร้อย อ่อนน้อม ช่อง 8
รัก ลวง หลอน ตอน โกงความตาย พลอย ช่อง 8
2563 เรือนสายสวาท สลับ ช่อง 8
The Gifted Graduation เกรซ (วัยผู้ใหญ่) GMM25
เกียร์สีขาวกับกาวน์สีฝุ่น ครูวลัยลักษณ์ GMM25
2564 เสียงหัวใจที่อยากได้ยิน แก้ว Line TV
เพราะรัก...ต้องออกแบบ ผึ้ง Line TV
2565 แอบหลงรักเดอะซีรีส์ Secret Crush On You แม่ของโต๊ะ ช่อง 3
คาธ ครูวารี GMM25
2566 องศาสูญ นัน IQIYI
2567 Lew-Less ทนายเดือด ชวนันท์ (รับเชิญ) True ID

คอนเสิร์ต[แก้]

ผลงานมิวสิควิดีโอ[แก้]

ผลงานแสดงภาพยนตร์[แก้]

ผลงานกำกับภาพยนตร์[แก้]

ผลงานพากย์[แก้]

ผลงานพิธีกร[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. อ่าน อ่าน และ อ่าน จึงเป็น (ทราย เจริญปุระ)
  2. ประวัติ อินทิรา เจริญปุระ (ทราย)
  3. ทราย เจริญปุระ เล่าชีวิตหลังหยุดยาซึมเศร้า ป่วยโรคนี้ไม่ใช่เรื่องน่าอาย
  4. "ทราย เจริญปุระ เปิดโรงครัวให้ผู้ชุมนุม 19 ก.ย. ที่สนามหลวง". ไทยรัฐ. 19 September 2020. สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
  5. ""สนธิญา"แจ้งความเอาผิด "ทราย เจริญปุระ" พร้อมผู้สนับสนุนม็อบ". โพสต์ทูเดย์.
  6. รู้แล้ว! "ทราย เจริญปุระ" โดนแจ้งจับ ม.112 เพราะโพสต์เฟซบุ๊กแบบนี้ 21 ธ.ค. 2563
  7. "คนดังเปิดตัว ผู้สนับสนุน แคนดิเดต 'ผู้ว่าฯ กรุงเทพ'". workpointTODAY.
  8. SpokeDark.tv เก็บถาวร 2013-01-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]