อินซฺวี

พิกัด: 36°07′36″N 114°18′50″E / 36.12667°N 114.31389°E / 36.12667; 114.31389
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อินซฺวี *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
ประเทศมณฑลเหอหนาน  จีน
ประเภทมรดกโลกทางวัฒนธรรม
เกณฑ์พิจารณา(ii) (iii) (iv) (vi)
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2549 (คณะกรรมการสมัยที่ 30)
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก
อินซฺวี
อินซฺวีตั้งอยู่ในมณฑลเหอหนาน
อินซฺวี
แสดงที่ตั้งภายในมณฑลเหอหนาน
อินซฺวีตั้งอยู่ในประเทศจีน
อินซฺวี
อินซฺวี (ประเทศจีน)
ที่ตั้งอำเภออินตู อานหยาง มณฑลเหอหนาน ประเทศจีน
พิกัด36°07′36″N 114°18′50″E / 36.12667°N 114.31389°E / 36.12667; 114.31389
ชื่อทางการอินซฺวี
เกณฑ์พิจารณาวัฒนธรรม: ii, iii, iv, vi
อ้างอิง1114
ขึ้นทะเบียน2006 (สมัยที่ 30)
พื้นที่414 ha
พื้นที่กันชน720 ha

อินซฺวี (จีน: 殷墟; พินอิน: Yīnxū) คือแหล่งมรดกโลกที่ตั้งอยู่ในเมืองอันหยาง มณฑลเหอหนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นเมืองหลวงแห่งสุดท้ายของราชวงศ์ซาง โดยเป็นเมืองหลวงอยู่ 225 ปี มีจักรพรรดิปกครองอยู่ 12 พระองค์

เมืองหลวงเก่าแห่งนี้เป็นหลักฐานชิ้นสำคัญของสิ่งที่เป็นไปในยุคทองของอารยธรรมจีนยุคสำริด สุสานหลวงและพระราชวังที่เป็นต้นแบบของสถาปัตยกรรมจีน และกระดูกคำทำนายที่จารึกด้วยตัวอักษรจีนโบราณ ที่บ่งบอกเกี่ยวกับวัฒนธรรม และสถานะทางสังคมของคนในยุคนั้นนับว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่ได้ขุดค้นพบในเมืองนี้ ถือเป็นหนึ่งในแหล่งโบราณคดีที่เก่าแก่และใหญ่ที่สุดของประเทศจีน และได้รับเลือกเป็นแหล่งมรดกโลกใน พ.ศ. 2549[1]

มรดกโลก[แก้]

อินซฺวีได้รับลงทะเบียนเป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 30 เมื่อปี พ.ศ. 2549 ที่กรุงวิลนีอัส ประเทศลิทัวเนีย ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังต่อไปนี้

  • (ii) - เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใด ๆ ของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม
  • (iii) - เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
  • (iv) - เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนาทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
  • (vi) - มีความคิดหรือความเชื่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ หรือมีความโดดเด่นยิ่งในประวัติศาสตร์

อ้างอิง[แก้]

  1. "Yin Xu". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 6 August 2007. The archaeological site of Yin Xu, close to Anyang City, some 500 km south of Beijing, is an ancient capital city of the late Shang dynasty (1300 to 1046 BC). It testifies to the golden age of early Chinese culture, crafts and sciences, a time of great prosperity of the Chinese Bronze Age. A number of royal tombs and palaces, prototypes of later Chinese architecture, have been unearthed on the site. The site includes the Palace and Royal Ancestral Shrines Area (1,000m x 650m), with more than 80 house foundations, and the only tomb of a member of the royal family of the Shang dynasty to have remained intact, the Tomb of Fu Hao. The large number and superb craftsmanship of the burial accessories found there bear testimony to the advanced level of Shang handicraft industry, and form now one of the national treasures of China. Numerous pits containing bovine shoulder blades and turtle plastrons have been found in Yin Xu. Inscriptions on these oracle bones bear invaluable testimony to the development of one of the world’s oldest writing systems, ancient beliefs and social systems.