อารามฮลาลุง

พิกัด: 32°08′46″N 78°14′06″E / 32.146°N 78.235°E / 32.146; 78.235
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อารามฮลาลุง
พระพุทธรูปและจิตรกรรมฝาหนังในอารามฮลาลุง
ศาสนา
ศาสนาศาสนาพุทธแบบทิเบต
ที่ตั้ง
ที่ตั้งสปีตี รัฐหิมาจัลประเทศ ประเทศอินเดีย
ประเทศอินเดีย
พิกัดภูมิศาสตร์32°08′46″N 78°14′06″E / 32.146°N 78.235°E / 32.146; 78.235
สถาปัตยกรรม
เริ่มก่อตั้งศตวรรษที่ 10

อารามฮลาลุง (อังกฤษ: Lhalung Monastery) เป็นอารามพุทธแบบทิเบตเก่าแก่ในสปีตี รัฐหิมาจัลประเทศ ประเทศอินเดีย สถาปนาขึ้นโดยรินเชน ซังโป กษัตริย์แห่งกูเกในปลายศตวรรษที่ 10 ตั้งอยู่ที่ความสูง 3,658 เมตรจากระดับน้ำทะเล[1]

คำว่า "ฮลาลุง" มาจากคำว่า เทวดา (lha) กับ สถานที่ (lung) จึงแปลว่า สถานที่แห่งเทวดา ว่ากันวาเทสดาแห่งฮลาลุงเป็นเจ้าแห่งเทวดาทั้งปวงในแถบนี้ และมาจากเขาทังมาร์ (Tangmar mountain) ด้านหลังของหมู่บ้าน เขาลูกนี้ว่ากันว่าจะเปลี่ยนสีไปตามอารมณ์ของเทวดา หากเขาเป็นสีแดงหมายถึงอารมณ์โกรธ สีเหลืองหมายถึงอารมณ์สุข เป็นต้น[2]

หมู่บ้านฮลาลุงประกอบด้วยบ้าน 45 หลัง และตั้งอยู่ห่างไป 14 กิโลเมตรจากถนนเส้นหลัก หมู่บ้านนี้ถือว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดในหุบเขาลิงที (Lingti valley) ในบางส่วนสามารถพบซากกำแพงโบราณที่ล้อมรอบอารามไว้อยู่ เป็นไปได้ว่าพื้นที่นี้สร้างขึ้นเป็นมโชชอร์ (choshor) หรือสถานที่สำหรับเรียนและถกประเด็น มากกว่าจะเป็นหมู่บ้านอารามหรือเพียงอารามสำหรับศาสนิกชนเพียงเท่านั้น ภายในอารามยังมีต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเชื่อว่าอายุเก่าแก่พอกับอารามหลังแรกสุด[3][4]

อ้างอิง[แก้]

  1. Kapadia (1999), p. 82.
  2. "TrekNature | Learning about nature through photography".
  3. "Indian Himalaya Safaris to Kinnaur, Spiti and Dharamsala - Private Journeys & Independent Travel in Indian Himalayas - Shimla, Kinnaur, Spiti, Manali, Dharamsala to Amritsar Tour". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 February 2010. สืบค้นเมื่อ 2010-01-17.
  4. "Ecosphere Spiti Eco-Livelihoods". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 พฤษภาคม 2009. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2009.

บรรณานุกรม[แก้]

  • Handa, O. C. (1987). Buddhist Monasteries in Himachal Pradesh. Indus Publishing Company, New Delhi. ISBN 81-85182-03-5.
  • Kapadia, Harish. (1999). Spiti: Adventures in the Trans-Himalaya. Second Edition. Indus Publishing Company, New Delhi. ISBN 81-7387-093-4.