อัลฟุรกอนุลฮัก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อัลฟุรกอนุลฮัก  
ผู้ประพันธ์Al Saffee, Al Mahdee
ผู้แปลAnis Shorrosh
ประเทศสหรัฐ
ภาษาอังกฤษ, อาหรับ
ประเภทศาสนา
สำนักพิมพ์Wine Press Publishing, Enumclaw, WA
วันที่พิมพ์มิถุนายน ค.ศ. 1999
ชนิดสื่อพิมพ์ (ปกแข็ง), Online edition
หน้า366
ISBN9781579211752
OCLC52725049

อัลฟุรกอนุลฮัก (อาหรับ: الفرقان الحق, อักษรโรมัน: al-Furqān al-ḥaqq; อังกฤษ: The True Furqan) เป็นหนังสือภาษาอาหรับที่พยายามเลียนแบบอัลกุรอาน แต่รวมเอาองค์ประกอบต่าง ๆ ตามหลักคำสอนของศาสนาคริสต์

คำตอบรับ[แก้]

แบปติสต์นิวส์รายงานว่า Al-Mahdy สมาชิกคณะกรรมการบริหารใน "Project Omega 2001" เผยแพร่ อัลฟุรกอนุลฮักในเดือนเมษายน ค.ศ. 1999 โดยกล่าวว่า มุสลิม "ยีงไม่ได้รับข้อความที่แท้จริงของพระวรสาร"[1] หนังสือนี้เชื่อว่าเป็นของนักเขียนที่มีนามแฝงว่า "Al Saffee" และ "Al Mahdee" และ Anis Shorrosh เป็นผู้แปลหนังสือนี้เป็นภาษาอังกฤษ โดยเรียกสิ่งนี้เป็น "เครื่องมือที่จะปลดปล่อยมุสลิม"[2] และคนที่เชื่อว่ามุฮัมมัดเป็น "ศัตรูของพระคริสต์"[3] แบ่งออกเป็น 77 บท รวมอารัมภบทและปัจฉิมบท[4] Shorrosh รายงานว่า อัลฟุรกอนุลฮัก เป็นความพยายามที่จะตอบสนองต่อความท้าทายในอัลกุรอานที่ว่าไม่มีผู้ใดสามารถสร้างผลงานเช่นนั้นได้[5] และใช้คำสอนตามศาสนาคริสต์มากกว่าอิสลาม[6] "หนังสือเล่มนี้เห็นได้ชัดว่าเขียนในแบบอัลกุรอานใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนมุสลิมชาวอาหรับขอบคุณคนที่อ่านออกเสียงในที่สาธารณะว่าอ่านอัลกุรอาน"[7]

Dr. Ray Register มิชชันนารีคริสต์ กำหนดให้หนังสือเล่มนี้เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสำหรับ "การประกาศข่าวดีแบบแรก" เพื่อช่วย "วิจารณ์อัลกุรอานและทัศนคติของชาวมุสลิมต่อพระเยซูและการดำเนินชีวิตอย่างมีจริยธรรมที่เป็นที่นิยม"[8]

หนังสือนี้ถูกกล่าวถึงเป็น "โฆษณาชวนเชื่อคริสเตียน" เนื่องจากข้อความที่สอง "เริ่มพูดถึงตรีเอกภาพ แนวคิดที่ไม่ใช่อิสลามโดยสิ้นเชิง"[9] และ The American Muslim เรียกหนังสือนี้เป็น "สิ่งหลอกลวง" โดยกล่าวเป็นตัวแทนของ "มาตรการที่สิ้นหวังในการหาทางเปลี่ยนศาสนามุสลิมนอกรีต เนื่องจากความพยายามร่วมกันไม่กี่ร้อยปีก่อให้เกิดความสำเร็จเพียงเล็กน้อย"[10] นักวิจารณ์คนอื่น ๆ เรียกหนังสือนี้ว่า "มีคุณภาพต่ำและมีเนื้อหาไร้สาระ" และ "ความพยายามที่จะบิดเบือนคำสอนอัลกุรอาน โดยสร้างสิ่งที่ดูเหมือนโองการอัลกุรอานอย่างน่าสมเพช"[11]

นักวิชาการอิสลามหลายคนในมหาวิทยาลัยเตหะรานโต้แย้งว่า อัลฟุรกอนุลฮัก ใช้ระเบียบวิธีที่มีข้อบกพร่องในการพยายามตอบคำถามข้อท้าทายการเลียนแบบไม่ได้ของอัลกุรอาน[12]

Michael R. Licona เปรียบเทียบระหว่าง อัลฟุรกอนุลฮัก กับพระวรสารนักบุญบารนาบัสในความพยายามที่จะเลียนแบบรูปแบบคัมภีร์ของศาสนาหนึ่ง เพื่อส่งเสริมการอ้างหลักคำสอนของอีกศาสนาหนึ่ง แม้ว่าจะสลับบทบาทของศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลามก็ตาม[13]: 99 

ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามบางคนรู้สึกว่า อัลฟุรกอนุลฮัก ผลิตโดยรัฐบาลอเมริกันหรืออิสราเอลในฐานะส่วนหนึ่งของการสมรู้ร่วมคิด Al-Usbūc หนังสือพิมพ์อียิปต์ อ้างไว้ในวันที่ 6 ธันวาคม ค.ศ. 2004 ว่า "The True Koran [sic] was drafted with direct Israeli participation and with direct instructions from U.S. President George Bush" (เดอะทรูโกราน [sic] ได้รับการร่างขึ้นจากการมีส่วนร่วมโดยตรงของอิสราเอล และได้รับคำแนะนำโดยตรงจากประธานาธิบดี จอร์จ บุช แห่งสหรัฐ)[14] กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐปฏิเสธข้อกล่าวหานี้อย่างมาก[14] และ Anis Shorrosh ผู้แปลหนังสือนี้ รายงานว่า "ทางอิสราเอลไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเตรียมการหนังสือนี้"[14]

การเซ็นเซอร์[แก้]

หนังสือนี้ถูกห้ามนำเข้าในประเทศอินเดีย[15][16]

อ้างอิง[แก้]

  1. "C.S. Arthur, "New book answers challenge issued by Islam's holy book", Baptist News, 28 May 1999". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-20. สืบค้นเมื่อ 2023-09-23.
  2. "Anis Shorrosh's home page". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-17. สืบค้นเมื่อ 2023-09-23.
  3. "Yohanna Katanacho, "Palestinian Protestant Theological Responses to a World Marked by Violence", p. 5 (also in Missiology 36, no. 3 (2008))" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-12-28. สืบค้นเมื่อ 2023-09-23.
  4. Table of Contents
  5. ซูเราะฮ์ 17:88 (ไม่มีใครสร้างผลงานอย่างอัลกุรอานได้), ซูเราะฮ์ 11:13 (ไม่มีใครสร้างสิบซูเราะฮ์เหมือนอัลกรุอานได้), ซูเราะฮ์ 2:23 (ไม่มีใครสร้างซูเราะฮ์หนึ่งเหมือนอัลกุรอานได้)
  6. Yohanna Katanacho, "Palestinian Protestant Theological Responses to a World Marked by Violence", p. 6 (also in Missiology 36, no. 3 (2008)) เก็บถาวร 2015-12-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  7. Qureshi, Nabeel (2014). Seeking Allah, Finding Jesus: A Devout Muslim Encounters Christianity. Grand Rapids, Michigan: Zondervan. p. 229. ISBN 9780310515029.
  8. Ray Register, "Discipling Middle Eastern Believers", St Francis Magazine Nr. 2 Vol. V (April 2009) เก็บถาวร 2011-07-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, p. 41
  9. Whitaker, Brian "The Nashville Qur'an" Guardian 8 February 2007
  10. Sheila Musaji, "The ‘True Furqan’ Qur'an Hoax", The American Muslim
  11. The Middle East, abstracts and index, Library Information and Research Services, vol. 4, 2005, p.456
  12. NajarZadegan, Fath Allah; Haftador, Hassan Rezaee; Shahmoradi, Muhammad Mahdi (January 2017). "The Methodology of Assessing the "The True Furqan's" Challenge of the Qur'an" (PDF). Man in India. 97 (14): 367–378.
  13. Licona, Michael (2009). "Using the Death of Jesus to Refute Islam" (PDF). Journal of the International Society of Christian Apologetics. 2 (1): 87–110.
  14. 14.0 14.1 14.2 State Department Press Release, "A New American Koran?", 21 April 2005 เก็บถาวร 14 กุมภาพันธ์ 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  15. Notification No. 78 /2005-Customs (N.T.) (Archived from the original on 24 April 2015.)
  16. Suroor, Hasan (2012-03-03). "You can't read this book". The Hindu. สืบค้นเมื่อ 2017-02-08.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]