อับดุลลอฮ์ อิบน์ อุมัร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อับดุลลอฮ์ อิบน์ อุมัร
عبد الله بن عمر
ส่วนบุคคล
เกิดป. ค.ศ. 610
มรณภาพป. ค.ศ. 693 (อายุ 82–83)
ศาสนาอิสลาม
คู่สมรสเศาะฟียะฮ์ บินต์ อะบูอุบัยด์
บุตร
  • ซาลิม
  • อะบูบักร์
  • อะบูอุบัยดะฮ์
  • วากิด
  • ฮัฟเศาะฮ์
  • เซาดะฮ์
บุพการี
ยุคระยะเวลาแรกของอิสลาม
นิกายซุนนี
ความสนใจหลักหะดีษ และ ฟิกฮ์
ญาติ
ตำแหน่งชั้นสูง
ได้รับอิทธิจาก

อับดุลลอฮ์ อิบน์ อุมัร อิบน์ อัลค็อฏฏอบ (อาหรับ: عبد الله بن عمر ابن الخطاب ป. 610 – 693) หรือที่รู้จักกันทั่วไปในนาม อิบน์ อุมัร เป็นเศาะฮาบะฮ์ของท่านนะบีมุฮัมมัด และเป็นบุตรชายคนที่ 2 ของท่านเคาะลีฟะฮ์อุมัร ท่านเป็นผู้มีรายงานที่โดดเด่นเกี่ยวกับ หะดีษ และ นิติศาสตร์ ท่านยังคงเป็นกลางในช่วงเหตุการณ์ฟิตนะฮ์ครั้งที่หนึ่ง (656–661)[1]

ยุคของนะบีมุฮัมมัด – 610 ถึง 632[แก้]

อับดุลลอฮ์ อิบน์ อุมัร (กุนยะฮ์คือ อะบูอับดุรเราะห์มาน[2]: 156 ) ประสูติในปี ค.ศ. 610 ในนครมักกะฮ์[3]: 207 สามปีหลังจากการเริ่มการเผยแพร่ของนะบีมุฮัมมัด[2]: 156  ท่านเป็นบุตรชายของท่านอุมัร อิบน์ อัลค็อฏฏอบ และซัยนับ บินต์ มัซอูน[3]: 203–204  พี่น้องที่แท้ของท่านคือ ฮัฟเศาะฮ์ และอับดุรเราะห์มาน พี่ชายของท่านซึ่งเกิดจากแม่เลี้ยงของเขาชื่อ อุมมุกัลษูม บินต์ ญัรวัล ได้แก่; ซัยด์ และอุบัยดิลลาฮ์ ท่านมีแม่เลี้ยงอีกคนคือ กุร็อยบะฮ์ บินต์ อะบีอุมัยยะฮ์ แต่นางไม่มีบุตรเป็นของตัวเอง[3]: 204 

ว่ากันว่าอับดุลลอฮ์ ในวัยหนุ่มมีความทรงจำที่ชัดเจนเกี่ยวกับการเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามของบิดาของท่าน เชื่อกันว่าท่านเข้ารับอิสลามร่วมกับบิดา แม้ว่าบางแหล่งจะไม่เห็นด้วยกับปีที่ท่านรับอิสลามก็ตาม[4]อับดุลลอฮ์ไเ้ยืนยันว่า “แม้ตอนนั้นข้าฯ จะยังเด็กมาก แต่ข้าฯ ก็เข้าใจทุกสิ่งที่ข้าฯ เห็น”[5]: 138  ซัยนับ มารดาของท่านกลายเป็นมุสลิมเช่นกัน แต่แม่เลี้ยงทั้งสองของท่านไม่ได้เปลี่ยนใจเลื่อมใส[5]: 510 [6]

ครอบครัวของท่านอพยพไปยังอัลมะดีนะฮ์ ในปี 622[5] : 218 แม้ว่าท่านอาจจะอพยพไปยังมะดีนะฮ์ก่อนบิดาของท่านก็ตาม[4]: 950  หลังจากยุทธการที่อุฮุด ในมีนาคม ฮ.ศ. 625 นะบีมุฮัมมัด เรียกอับดุลลอฮ์ อิบน์ อุมัร ผู้ที่มีอายุ 14 ปี มาหาท่าน แต่เมื่ออับดุลลอฮ์ได้มาหาท่าน นะบีมุฮัมมัดก็ไม่ยอมให้ท่านต่อสู้ในการรบ สองปีต่อมา ขณะที่ยุทธการสนามเพลาะใกล้เข้ามา นะบีมุฮัมมัดได้เรียกอับดุลลอฮ์อีกครั้ง และคราวนี้ท่านประกาศว่าเขามีอายุเพียงพอแล้วเพราะท่านเป็นผู้ใหญ่และเข้าสู่วัยแรกรุ่น ท่านยังเข้าร่วมในยุทธการที่อัลมุร็อยซี ในปี 628[7]

เขาได้ถูกเกณฑ์ในกองทัพสุดท้ายที่ท่านนะบีมุฮัมมัด เตรียมไว้สำหรับยุทธการของอุซามะฮ์ อิบน์ ซัยด์[8]: 229 

ผลประโยชน์ทางการเมือง[แก้]

ในช่วงที่มีการดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์อุมัร ท่านได้ก่อตั้งสภาและรับอับดุลลอฮ์ บุตรชายของท่านเป็นที่ปรึกษา แต่ไม่อนุญาตให้ท่านเสนอตัวเองในฐานะผู้สมัครเป็นเคาะลีฟะฮ์ตามบิดาของท่าน[8]: 229 

ณ. ที่อนุญาโตตุลาการของยุทธการที่ศิฟฟีน บางแหล่งรายงานว่าอะบูมูซา อัลอัชอะรี เสนอชื่อ อับดุลลอฮ์ อิบน์ อุมัรให้ดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ แต่ท่านอัมร์ อิบน์ อัลอาศ คัดค้าน[9]: 452 

อิบน์ อุมัร เข้าร่วมการยุทธการในอิรัก, เปอร์เซีย และ อียิปต์ แต่ท่านยังคงเป็นกลางตลอดช่วงฟิตนะฮ์ครั้งแรก[10]: 30  ในปี 656 ท่านได้ปกป้องพี่สาวของท่าน ฮัฟเศาะฮ์ ขณะตามท่านหญิงอาอิชะฮ์ไปทำยุทธการอูฐ[11]

ขณะที่อยู่ในอัลมะดีนะฮ์ ในช่วงฟิตนะฮ์ที่สองของปีที่ 680 อับดุลลอฮ์ อิบน์ อุมัรกับอับดุลลอฮ์ อิบน์ อัซซุบัยร์ และอับดุลลอฮ์ อิบน์ อับบาส แนะนำให้ฮุซัยน์ อิบน์ อะลี อยู่ที่มักกะฮ์ ฮุซัยน์ไม่ได้ทำตามคำแนะนำนี้ แต่เลือกที่จะไปกูฟะฮ์[12]

ความตาย[แก้]

อับดุลลอฮ์ อิบน์ อุมัร เสียชีวิตในมักกะฮ์ ในปี ค.ศ. 693 (ฮ.ศ. 74)[10]

สิ่งที่ทิ้งไว้[แก้]

อับดุลลอฮ์ อิบน์ อุมัร เป็นผู้รายงาน หะดีษ ที่มีผลงานมากเป็นอันดับสอง โดยมีการรายงานทั้งหมด 2,630 รายงาน[10]: 27  ว่ากันว่าท่านมีความระมัดระวังอย่างยิ่งกับสิ่งที่ท่านรายงาน และท่านจะรายงานให้ฟังทั้งน้ำตา[10]: 30–31  ท่านระมัดระวังชีวิตตนเองมาก และด้วยเหตุนี้ท่านจึงระมัดระวังการตัดสินของท่าน ท่านได้เอาชนะกองทัพอันทรงพลังของชนเผ่านอกรีตแห่งมักกะฮ์ในการรบต่างๆ เช่น ยุทธการที่บะดัร (ในปีคริสตศักราช 624) และ “สนามเพลาะ” หรืออัลค็อนดัก (ในปีคริสตศักราช 627)[4] : 951 

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Ibn Qutayba al-Dīnawarī, al-Imāma wa al-Sīyāsa, vol. 1, p. 73.
  2. 2.0 2.1 Ahmad b. Ali ibn Hajar. Al Isaba fi tamyiz al sahaba vol. 4. Edited by Adil Ahmad ʿAbd al-Mawjud & Ali Muhammad Muʿawwad. Beirut: Dār al-Kutub al-ʿIlmīyya.1415 AH
  3. 3.0 3.1 3.2 Muhammad ibn Saad. Kitab al-Tabaqat al-Kabir vol. 3. Translated by Bewley, A. (2013). The Companions of Badr. London: Ta-Ha Publishers.
  4. 4.0 4.1 4.2 Ibn 'Abd al-Barr, Yusuf b. Abd Allah.Al-Istiab fi ma'rifat al-ashab vol. 3. Edited by Ali Muhammad al-Bajawi. Beirut: Dar al-Adwa, 1411 AH
  5. 5.0 5.1 5.2 Muhammad ibn Ishaq. Sirat Rasul Allah. Translated by Guillaume, A. (1955). The Life of Muhammad. Oxford: Oxford University Press.
  6. Bukhari 3:50:891.
  7. Muslim 19:4292.
  8. 8.0 8.1 Tabari, Muhammad b. Jarir. Tarikh al-umam wa l-muluk. Edited by Muhammad Abu l-Fadl Ibrahim. vol. 4. Second edition. Beirut: Dar al-Turath, 1387 AH.
  9. Muzahim, Nasr. Waq'at Siffin. Qom: Ayatollah Mar'ashi Najafi Library, 1982.
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 Siddiqi, M. Z. (1961, 2006). Hadith Literature: Its Origin, Development, Special Features and Criticism. Kuala Lumpur: Islamic Book Trust.
  11. Muhammad ibn Jarir al-Tabari. Tarikh al-Rusul wa'l-Muluk. Translated by Brockett, A. (1997). Volume 16: The Community Divided, pp. 41-42. Albany: State University of New York Press.
  12. Balyuzi, H. M. (1976). Muhammad and the course of Islam, p. 193. Oxford: George Ronald.