ออร์ดนุงส์โพลีทไซ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตำรวจรักษาความสงบ
Ordnungspolizei
ธงประจำองค์กร
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง26 มิถุนายน ค.ศ. 1936
หน่วยงานสืบทอด
ประเภทตำรวจแห่งชาติ
เขตอำนาจเยอรมนี ไรช์เยอรมัน
และยุโรปที่ถูกเยอรมนียึดครอง
สำนักงานใหญ่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี
52°30′26″N 13°22′57″E / 52.50722°N 13.38250°E / 52.50722; 13.38250
บุคลากร401,300 (1944)[1]
รัฐมนตรี
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
ต้นสังกัดหน่วยงานกระทรวงมหาดไทยไรซ์

ตำรวจรักษาความสงบ (เยอรมัน: Ordnungspolizei) หรือเรียกอย่างย่อว่า ออร์โพ (Orpo) เป็นกองกำลังตำรวจในเครื่องแบบของนาซีเยอรมนี ตั้งแต่ ค.ศ. 1936 ถึง ค.ศ. 1945[2] องค์กรออร์โพถูกซึมซับเข้าสู่การผูกขาดอำนาจของนาซี ภายหลังจากที่เขตอำนาจของตำรวจส่วนภูมิภาคได้ถูกถอดถอนออกไปเพื่อสนับสนุนส่วนกลางของรัฐบาลนาซี ("Reich-ification", Verreichlichung, of the police). ออร์โพอยู่ภายใต้การควบคุมในนามโดยกระทรวงมหาดไทยไรช์ แต่หน้าที่ฝ่ายบริหารขึ้นอยู่กับการนำของหน่วยเอ็สเอ็สจนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่สองได้ยุติลง[3] เนื่องจากเครื่องแบบสีเขียวของพวกเขา ออร์โพจึงถูกเรียกว่า กรูเนอ โพลีทไซ (ตำรวจเขียว) กองกำลังนี้ได้ถูกก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในฐานะองค์กรรวมศูนย์ที่รวบรวมตำรวจในเครื่องแบบจากทั้งเทศบาล เมือง และภูธรเข้าด้วยกัน ที่ได้ถูกจัดตั้งขึ้นตามแบบรัฐต่อรัฐ[4]

ออร์ดนุงส์โพลีทไซประกอบไปด้วยองค์กรบังคับใช้กฏหมายและตอบสนองเหตุภาวะฉุกเฉินเกือบทั้งหมดของนาซีเยอรมนี รวมทั้งหน่วยดับเพลิง หน่วยยามชายฝั่ง และการปกป้องพลเรือน ในช่วงก่อนสงคราม ไฮน์ริช ฮิมเลอร์ หัวหน้าหน่วยเอ็สเอ็สและควร์ท ดาลือเกอ ผู้บังคับการตำรวจรักษาความสงบได้ร่วมมือกันในการเปลี่ยนกองกำลังตำรวจของสาธารณรัฐไวมาร์ให้เป็นรูปแบบทหารที่พร้อมจะตอบสนองเป้าหมายของรัฐบาลในการพิชิตและทำลายล้างทางเชื้อชาติ กองกำลังตำรวจได้ถูกจัดตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในรูปแบบกองกำลังขนาดเท่ากับกองพันสำหรับการบุกครองโปแลนด์ ซึ่งพวกเขาถูกส่งไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการรักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อย ยังได้มีส่วนร่วมในการประหารชีวิตและขับไล่เนรเทศมวลชนจำนวนมาก[5] ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง กองกำลังได้มีหน้าที่ในการตรวจตราประชากรพลเรือนในเขตยึดครองและประเทศอาณานิคม ได้เริ่มต้นขึ้นในฤดูใบไม้ผลิใน ค.ศ. 1940[6] กิจกรรมของออร์โพได้ลุกลามไปสู่การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ด้วยการบุกครองสหภาพโซเวียต ปฏิบัติการบาร์บาร็อสซา กองพันตำรวจรักษาความสงบทั้งยี่สิบสามกองพันที่ถูกจัดตั้งขึ้นเป็นกองกำลังอิสระหรือสังกัดในกองพลรักษาความปลอดภัยของแวร์มัคท์และหน่วยไอน์ซัทซ์กรุพเพิน ได้ก่อเหตุด้วยการกระทำสังหารหมู่ในฮอโลคอสต์ และมีส่วนที่ต้องรับผิดชอบต่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติและการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่มุ่งเป้าหมายไปที่ประชากรพลเรือนอย่างกว้างขวาง

อ้างอิง[แก้]

  1. Burkhardt Müller-Hillebrandt: Das Heer (1933-1945) , Vol. III Der Zweifrontenkrieg, Mittler, Frankfurt am Main 1969, p. 322
  2. Struan Robertson. "The 1936 "Verreichlichung" of the Police". Hamburg Police Battalions during the Second World War. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (Internet Archive)เมื่อ February 22, 2008. สืบค้นเมื่อ 2009-09-24.
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ hamburg2
  4. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ hamburg3
  5. Showalter 2005, p. xiii.
  6. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Browning