หม่อมเจ้าพันธุประวัติ เกษมสันต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หม่อมเจ้าพันธุประวัติ เกษมสันต์
ประสูติ14 เมษายน พ.ศ. 2430
สิ้นชีพตักษัย8 มิถุนายน พ.ศ. 2463 (33 ปี)
หม่อมหม่อมหลวงเชื้อ เกษมสันต์
พระบุตร7 คน
ราชสกุลเกษมสันต์
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์
พระมารดาหม่อมราชวงศ์ละม้าย เกษมสันต์
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ไทย สยาม
แผนก/สังกัดกองทัพบกสยาม
ประจำการพ.ศ. 2452 – พ.ศ. 2463
ชั้นยศพลโท
บังคับบัญชากองทัพน้อยทหารบกที่ 1
มณฑลทหารบกกรุงเทพ

นายพลโท หม่อมเจ้าพันธุประวัติ เกษมสันต์ (14 เมษายน พ.ศ. 2430 – 8 มิถุนายน พ.ศ. 2463) เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์ ประสูติแต่หม่อมราชวงศ์ละม้าย เกษมสันต์ (ราชสกุลเดิม สุริยกุล)

ทรงสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบก และเสด็จไปทรงศึกษาวิชาทหารที่ประเทศเยอรมันจนถึง พ.ศ. 2452 จึงเสด็จกลับมารับราชการทหารที่สยาม ทรงดำรงตำแหน่งแม่ทัพน้อยกองทัพที่ 1 ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกกรุงเทพฯ ผู้ช่วยจเรการช่างทหารบก

หม่อมเจ้าพันธุประวัติเสกสมรสกับหม่อมหลวงเชื้อ เกษมสันต์ (ราชสกุลเดิม ดารากร) มีโอรสธิดา 7 คน หม่อมเจ้าพันธุประวัติสิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2463 ด้วยพระโรคไข้หวัดใหญ่ สิริชันษา 34 ปี[1] ในการนี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานน้ำหลวงสรงศพ โดยโปรดเกล้าฯ ให้ นายพลโท พระยาประสิทธิ์ศุภการ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ) สมุหราชองครักษ์ เป็นผู้แทนพระองค์อัญเชิญน้ำหลวงสรงพระศพไปพระราชทาน[2] พระโกศราชวงศ์ ชั้นแว่นฟ้ารอง 2 ชั้น ตั้งฉัตรเครื่อง 4 คัน กับทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานไตร 10 ไตร ผ้าขาวพับ 20 สดับปกรณ์ และให้มีพระสงฆ์สวดพระอภิธรรม รับพระราชทานฉันเช้า 4 รูป เพล 4 รูป กับเครื่องประโคมประจำศพ กลองชนะ 10 จ่าปี่ 1 จ่ากลอง 1 แตรงอน 2 แตรฝรั่ง 2 สังข์ 1 มีกำหนด 3 วัน

พระเกียรติคุณ[แก้]

นายพลโท หม่อมเจ้าพันธุประวัติ เกษมสันต์ ทรงรับราชการในตำแหน่งผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ 2 และทรงดำรงตำแหน่งแม่ทัพกองทัพน้อยที่ 1 เป็นผู้มีความรู้หลักแหลม สามารถอำนวยการฝึกหัดสั่งสอนพลทหาร และฝึกฝนนายทหารให้มีความสามารถรุ่งเรืองในแบบแผนวิชาทหาร นับว่าเป็นหลักสำคัญในราชการทหารบกผู้หนึ่ง อนึ่งในการประกาศสงครามกับประเทศเยอรมนี ประเทศออสเตรีย และประเทศฮังการี ทรงเป็นผู้อำนวยการในเรื่องทหารบก ช่วยเจ้าหน้าที่พระนครบาลรักษาความสงบเรียบร้อยในพระนคร เป็นผู้รับผิดชอบในการควบคุมคนในชาติศัตรูตลอดตั้งแต่เวลาเริ่มต้นจนถึงเวลาเนรเทศออกนอกพระราชอาณาจักร ทรงเป็นที่ปรึกษาสำหรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี จึงทำให้หม่อมเจ้าพันธุประวัติได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ 2 มหาโยธิน (ม.ร.) เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2461

ตำแหน่ง[แก้]

  • 30 มีนาคม พ.ศ. 2454: ราชองครักษ์เวร[3]
  • – รักษาราชการแทนในตำแหน่งผู้บัญชาการกองพลที่ 2 มณฑลนครชัยศรี
  • มิถุนายน พ.ศ. 2457: ผู้บัญชาการกองพลที่ 2 มณฑลนครชัยศรี[4]
  • 25 กันยายน พ.ศ. 2460: ราชองครักษ์พิเศษ[5]

พระยศทางทหาร[แก้]

  • 21 กันยายน พ.ศ. 2450: นายร้อยตรี[6]
  • 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2452: นายร้อยโท[7]
  • – นายพันโท
  • 26 เมษายน พ.ศ. 2457: นายพันเอก[8]
  • 1 สิงหาคม พ.ศ. 2457: เข้ารับพระราชทานสัญญาบัตรยศ[9]
  • พ.ศ. 2459: นายพลตรี[10]
  • 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2459: เข้ารับพระราชทานสัญญาบัตรยศทหาร[11]
  • 21 เมษายน พ.ศ. 2462: นายพลโท[12]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ข่าวสิ้นชีพิตักษัย
  2. ข่าวในพระราชสำนัก
  3. แจ้งความกระทรวงกลาโหม
  4. แจ้งความกระทรวงกลาโหม เรื่อง เลื่อนตำแหน่งนายทหารรับราชการ
  5. แจ้งความกรมราชองครักษ์ เรื่อง ตั้งราชองครักษ์พิเศษและเวร
  6. พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก
  7. ส่งสัญญาบัตรทหารบกไปพระราชทาน (หน้า 731 มณฑลพิษณุโลก
  8. ตั้งตำแหน่งยศนายทหารบก
  9. รายวันพระราชทานสัญญาบัตรยศนายทหาร
  10. พระราชทานยศทหารบก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2462/D/158_1.PDF
  11. รายวันพระราชทานสัญญาบัตรยศทหาร
  12. พระราชทานยศทหารบก
  13. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๓๑๐, ๒๕ มกราคม ๒๔๖๒
  14. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๖๓, ๒๐ มกราคม ๒๔๖๐
  15. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานตราจุลจอมเกล้า, เล่ม ๓๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๗๓, ๒๗ มกราคม ๒๔๖๐
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศพระราชทานฐานันดรแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี, เล่ม ๓๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๑๘๕, ๒ ธันวาคม ๒๔๖๑
  17. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเข็มราชการแผ่นดิน, เล่ม ๓๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๖๘, ๒๐ มกราคม ๒๔๖๐
  18. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๙๓, ๒๘ มกราคม ๑๓๐
  19. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลปัจจุบัน, เล่ม ๓๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๘๖๘, ๑๕ พฤศจิกายน ๒๔๕๗