ข้ามไปเนื้อหา

หนง จื้อเกา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หนง จื้อเกา
จักรพรรดิเหรินฮุ่ย (仁惠皇帝)
หัวหน้าเผ่าหนง (儂)
ครองราชย์ค.ศ. 1041[1]
ก่อนหน้าหนง เฉฺวียนฝู (儂全福)
จักรพรรดิแห่งรัฐต้าหลี่ (大理國)
ครองราชย์ค.ศ. 1042[2]
จักรพรรดิแห่งรัฐหนานเทียน (南天国)
ครองราชย์ค.ศ. 1048[2]
จักรพรรดิแห่งรัฐต้าหนาน (大南国)
ครองราชย์ค.ศ. 1052–1055[2]
เกิดค.ศ. 1025
กวั่ง-ยฺเหวียน (廣源)
ตายไม่ทราบ
บุตรหนง จื้อเฟิง (儂繼封)
หนง จื้อหมิง (儂繼明)
บิดาหนง เฉฺวียนฝู
มารดาอาหนง (阿儂)
ศาสนาลัทธิหมอผี, วิญญาณนิยม

หนง จื้อเกา (จีน: 儂智高; พินอิน: Nóng Zhìgāo; เวียดนาม: Nùng Trí Cao;[3] ค.ศ. 1025–1055?) เป็นบุคคลซึ่งชาวหนง (儂) ในเวียดนาม และชาวจฺวั้ง (壯) ในจีน ยกย่องเป็นวีรบุรุษ แต่ทั้งราชสำนักจีนและเวียดนามถือว่า เขาเป็นกบฏ

ประวัติ[แก้]

เอกสาร ซ่งฉื่อ (宋史) ของจีน ระบุว่า หนง จื้อเกา เป็นบุตรชายของหนง เฉฺวียนฝู (儂全福) หัวหน้าเผ่าชาวจฺวั้งกลุ่มที่อยู่ในเวียดนาม กับอาหนง (阿儂) ธิดาของหัวหน้าเผ่าเผ่าหนึ่ง เมื่อเขาเติบใหญ่ขึ้น ได้สืบตำแหน่งหัวหน้าเผ่าชาวจฺวั้งต่อจากบิดา

ครั้น ค.ศ. 1042 เขาอายุได้ 17 ปี เขาก่อตั้งราชอาณาจักรของตน เรียกว่า รัฐต้าหลี่ (大理國)[4] ราชสำนักเวียดนามจึงออกติดตามจับกุมเขา เขาถูกคุมตัวไว้ที่ ทังล็อง(Thăng Long) หลายปี[4]

เขาได้รับการปล่อยตัวใน ค.ศ. 1048 จากนั้น ประกาศจัดตั้งอาณาจักรแห่งใหม่ เรียกว่า รัฐหนานเทียน (南天国)[4] ราชสำนักเวียดนามจึงออกปราบปรามเขาอีกครั้ง ทำให้เขาและพรรคพวกต้องหลบหนีเข้าสู่แผ่นดินจีนภายใต้การปกครองของราชวงศ์ซ่ง (宋朝)[4]

ใน ค.ศ. 1052 เขาประกาศจัดตั้งอาณาจักรแห่งใหม่อีกครั้ง เรียกว่า รัฐต้าหนาน (大南国) ตั้งตนเป็นจักรพรรดิ เรียกว่า จักรพรรดิเหรินฮุ่ย (仁惠皇帝)[2] เขายึดหนานหนิง (南宁) ได้ จึงนำทัพมุ่งลงใต้ผ่านกวั่งตง (广东) ลงไปล้อมกวั่งโจว (广州) ได้ 57 วัน[5] เมื่อเลิกล้อมกวั่งโจวแล้ว เขาขึ้นเหนือไปรบกับกองทัพราชวงศ์ซ่ง และมีชัยชนะอย่างต่อเนื่อง เพราะกำลังพลของเขาเคลื่อนไหวได้ง่ายกว่าทัพซ่ง[6] จากนั้น เขามุ่งยึดดินแดนทางใต้และตะวันตก ยึดหนานหนิงได้อีกครั้งในเดือน 10 ค.ศ. 1052[6]

จักรพรรดิซ่งเหรินจง (宋仁宗) ส่งขุนพลตี๋ ชิง (狄青) มาปราบปรามเขา ซึ่งตี๋ ชิง ทำสำเร็จ[6] เขาพามารดาและผู้คนหนีไปถึงดินแดนซึ่งปัจจุบัน คือ ยฺหวินหนาน (云南), ไทย, และลาว แล้วพยายามจะเรียกระดมพลที่นั่น แต่ถูกจับกุมพร้อมมารดาเสียก่อน มารดาของเขาถูกประหารชีวิตใน ค.ศ. 1055 เชื่อว่า เขาน่าจะถูกประหารด้วย[7]

อ้างอิง[แก้]

  1. Anderson 2012, p. 88.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Anderson 2012, pp. 7–8.
  3. K. W. Taylor (9 May 2013). A History of the Vietnamese. Cambridge University Press. pp. 70–. ISBN 978-0-521-87586-8.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 Anderson 2012, p. 7.
  5. Baker & Phongpaichit 2017, p. 26.
  6. 6.0 6.1 6.2 Barlow 2005a.
  7. Chappell, Hilary (2001). Sinitic grammar: Synchronic and Diachronic. Oxford University Press. p. 397. ISBN 0-19-829977-X.

บรรณานุกรม[แก้]